กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พร่อน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พร่อน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายระบบ ทั้ง ฟันและเหงือก ตา ไต สมอง และหลอดเลือด รวมทั้งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข (ข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ)ณ. วันที่ 23 กันยายน 2563 จำนวนและอัตราตายด้วยโรคเบาหวาน (E10-E14) ต่อประชากรแสนคน 100,000 คน ปี 2559-2562 จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสุขภาพและภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร)จังหวัดนราธิวาส ปี 2559-2562จำนวน/อัตราตายด้วยโรคเบาหวาน200/25.43 , 183/23.11 , 200/25.06 , 216/26.87ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
จากการดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ (งาน NCD) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน ที่ผ่านมา ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกิจกรรมการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานปีละ 1 ครั้ง ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน การทำกิจกรรมกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผ่านมา ( ข้อมูลจาก HDC) ณ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564พบว่าปี 2561-2563 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 295 คน , 309 คน , 300 คน และจากสถิติ (ข้อมูลทะเบียนคนตาย รพ.สต.พร่อน) ณ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่าปี 2561-2563 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตายด้วยภาวะแทรกซ้อน 5 คน , 9 คน , 7 คน และเสียชีวิตในวัยอันควร เกิดเป็นปัญหาต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ดังนั้นจากปัญหาโรคเบาหวานที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อนจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คงที สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ และลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คงที่

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คงที่

0.00
2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ

0.00
3 ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมและตรวจคัดกรองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมและตรวจคัดกรองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  30 คน × 25บาท × 8 ครั้ง เป็นเงิน  6,000 บาท
  • ค่าวัสดุสำนักงาน                                                  เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ   ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย   เป็นเงิน  570 บาท -ป้ายไวนิลให้ความรู้ ขนาด 1.5 x 3.0 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน  900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม และลดภาวะแทรกซ้อนได้ เพื่อส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12470.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,470.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>