กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการป้องกันพลัดตกหกล้มและโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคอหงส์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1. ผศ.ดร.ขนิษฐา นาคะ
2. ผศ.ดร.เนตรนภา คู่พันธวี
3. ผศ.ดร.จันทรา พรหมน้อย
4. อาจารย์ภัทรพร กิจเรณู
5. อาจารย์ศิริมาศ ภูมิไชยา

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การ “พลัดตกหกล้ม”เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ (Unintentional) รองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ ในแต่ละปีมีผู้สูงอายุมากกว่า 1ใน 3 เกิดภาวะหกล้ม โดยครึ่งหนึ่งของผู้ที่หกล้ม จะเกิดภาวะหกล้มซ้ำซ้อน แต่อุบัติการณ์ของภาวะหกล้มมักต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นเรื่องปกติของวัยสูงอายุ และ พบว่า ผู้สูงอายุที่หกล้มแล้วมีกระดูกสะโพกหัก ต้องเข้ารับการรักษาใน รพ. ประมาณ 1 ใน 4 จะเสียชีวิต ในเวลา 1 ปีต่อมา (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2563) ปัจจุบันประเทศไทย ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในระยะ 10 ปี จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง 2,500,000 คน และคาดการณ์ว่าจะสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากร ในปี พ.ศ. 2568 (กระทรวงสาธารณสุข, 2559) การที่ผู้สูงอายุมีอายุยืนขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคหรือกลุ่มอาการสูงอายุจากความเสื่อม ซึ่งจะเห็นว่าผู้ป่วยสูงอายุจะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยา นอกจากการหกล้มแล้ว ภาวะสมองเสื่อมเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และต้องอาศัยความช่วยเหลือจากญาติและผู้ดูแล ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทย มีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ในปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทย มีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มีจำนวน 617,000 คน โดยพบในประชากรอายุ 60-69 ปีร้อยละ 8 ในประชากรอายุ 70-79 ปี และร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งของประชากรที่อายุ 85 ปีขึ้นไปซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ.2580 จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,350,000 คน ประกอบกับการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม 1 คน อย่างมีคุณภาพ ต้องใช้ผู้ดูแลอย่างน้อย 2 คน หากญาติในครอบครัวเป็นผู้ดูแลกันเองจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแล ประมาณ 4,000-6,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายทางอ้อมของผู้ดูแล เช่น ต้องลาออกจากงานมาดูแล รวมทั้งค่าเสียโอกาสต่างๆ ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายทางอ้อมของผู้ดูแล เช่น ต้องลาออกจากงานมาดูแล รวมทั้งค่าเสียโอกาสต่างๆ ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญในการที่จะป้องกันความพิการ ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเอง และลดภาระของญาติและคนในครอบครัวได้
ดังนั้นผู้จัดโครงการเล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัด “โครงการการป้องกันพลัดตกหกล้มและโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองคอหงส์” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการดำเนินกิจกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเทศบาลเมืองคอหงส์ ข้อมูลที่ได้จากการจัดกิจกรรมนี้สามารถเติมเต็มช่องว่างของการพัฒนาความรู้ ทักษะในการดูแลตนเอง และการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุและความต่อเนื่องของกิจกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังทำให้ทราบถึงสถานการณ์การป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่/ชุมชน ณ ปัจจุบัน รวมถึงผู้รับผิดชอบและผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันการพลัดตกหกล้มและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุสามารถใช้ข้อมูลเรื่องปัญหา/อุปสรรคและบทเรียนภายหลังการจัดโครงการในการวางแผนการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 มีความรู้และทักษะในการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม และสามารถนำไปใช้ได้

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะในการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมตามเกณฑ์

0.00
2 ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม

0.00
3 ได้รับการทดสอบ Time up and go (TUG)

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการทดสอบ Time up and go (TUG)

0.00
4 ได้รับการประเมินองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) โดยเครื่อง body scan

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการประเมินองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) โดยเครื่อง body scan

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินโครงการ
1.2 ประเมินองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) โดยเครื่อง body scan ประกอบด้วย น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย อัตราการเผาผลาญพลังงานขณะอยู่เฉย (BMR-Kcal) อายุร่างกาย (body age)
เปอร์เซ็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (muscle-%) ระดับไขมันในช่องท้อง (visceral fat) เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (fat-%)
1.3 ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบสอบถาม

  • ค่าตรวจ body composition โดยเครื่อง bodyscan 30 บาท x 30 คน = 900 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 33 คน = 825 บาท
  • ค่าวัสดุ (แบบสอบถาม ปากกา และค่าถ่ายเอกสารผลการประเมิน) 50 บาท x 30 คน = 1,500 บาท
  • ค่าวิเคราะห์ผล body composition 3 ชม. X 300 บาท X 3 คน = 2,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5925.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 แจ้งผลการประเมินรายบุคคล และร่วมวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม
2.2 สันทนาการ
2.3 ให้ความรู้วิธีการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
2.4 ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนออกแบบวิธีการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมที่เฉพาะกับตนเอง
2.5 สันทนาการ

  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 2 ชั่วโมง x 2 คน = 2,400 บาท
  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 4 ชั่วโมง x 2 คน = 4,800 บาท
  • ค่าวัสดุ 50 บาท x 30 คน = 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8700.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ทบทวนเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว
3.2 ฝึกปฏิบัติวิธีการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมตามคู่มือการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
3.3 ประเมินทักษะในการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม และฝึกซ้ำจนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 100 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
3.4 ชี้แจงการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมที่บ้าน และการบันทึกในคู่มือ

  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 2 คน = 7,200 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 2 มื้อ x 37 คน = 1,850 บาท
  • ค่าวัสดุ (จัดทำคู่มือ) 150 บาท x 30 คน = 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13550.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 รายงานผลการฝึกปฏิบัติวิธีการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมที่บ้าน เป็นเวลา 1 เดือน
4.2 ร่วมวิเคราะห์ปัญหา และหาแนวทางแก้ไข กรณีไม่สามารถฝึกปฏิบัติได้ตามแผนที่วางไว้
4.3 ฟังการพูดสร้างแรงบรรดารใจโดยผู้สูงอายุที่มีการปฏิบัติเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมอย่างต่อเนื่อง

  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 3 ชั่วโมง x 2 คน = 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 2 มื้อ x 37 คน = 1,850 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5450.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 รายงานผลการฝึกปฏิบัติวิธีการป้องกันการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมที่บ้าน เป็นเวลา 3 เดือน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
5.2 ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ภายหลังเข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบสอบถามชุดเดิม
5.3 สะท้อนคิดถึงผลสำเร็จที่เกิดขึ้น และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
5.4 ประเมินความสำเร็จของโครงการ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

  • ค่าวิทยากร 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 2 คน = 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 2 มื้อ x 37 คน = 1,850 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5450.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 5 คน = 125 บาท
  • ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ = 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดพลัดตกหกล้มและสมองเสื่อม
2. ไม่เกิดอุบัติการณ์พลัดตกหกล้ม
3. ชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม
4. เผยแพร่ความรู้แก่บุคคลอื่น


>