กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สระโพนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สระโพนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มกบ

หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มกบจำนวน 6 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มกบ ข้อมูลปีงบประมาณ 2558 – 2562 จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 673 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม จำนวน 425 คน มีผลงานสะสมรวม 5 ปี ร้อยละ63.15 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดคือร้อยละ 80 ซึ่งปัญหาเกิดจากกลุ่มเป้าหมายมีความอายและคิดว่าตนเองไม่มีความผิดปกติจึงไม่ยอมมาตรวจ ในปีงบประมาณ 2563 - 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มกบ ได้สำรวจและกำหนดกลุ่มเป้าหมายสะสม 5 ปีรายใหม่ มีกลุ่มเป้าหมาย 550 คน ได้กำหนดเป้าหมายการคัดกรอง ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากกว่าร้อยละ 20 ของทุกปี ซึ่งผลการดำเนินงานในปี2563 ที่ผ่านมามีผลงานสะสมร้อยละ 42.91 ดังนั้นในปีงบประมาณ 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มกบ ได้กำหนดเป้าหมายการคัดกรองสะสมจากปี 2563-2564 ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากกว่าร้อยละ 60 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
3. เพื่อให้ผู้ที่มีผลตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อและวินิจฉัยโดยแพทย์ และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องทันท่วงที
4. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคเป็นการสร้างกระแสและให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
สตรีอายุ 30-60 ปีที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองในปี 200

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายและจัดบริการตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายและจัดบริการตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจจัดทำทะเบียนสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี
2.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและสื่ออื่นๆ 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจ 4.จัดให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกในคลินิกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้มกบ 5. ส่งต่อผู้ที่มีความผิดปกติเพื่อรับการวินิจฉัยโดยแพทย์และรับการรักษาตามมาตรฐาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มากกว่าร้อยละ 60 มีผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายสะสมในปี 2563-2564
  2. ร้อยละ 100 ของสตรีที่ได้รับการตรวจคัดกรองที่มีผลผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษา
  3. สตรีอายุ 30-60 ปีมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7260.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีอายุ 30-60 ปีรายใหม่ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก
2. สตรีอายุ 30-60 ปีมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก


>