กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลปุโรง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง

1. นายอาแดสะแต
2. นายอับดุลสอมะลูมุ
3. นายมาหามะมะเซ็ง
4. นายเจ๊ะอูมาดือราแม
5. นายอับดุลเลาะห์หะยีสามะ

ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยได้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ อันเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น การที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัวต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ความพิการหรือทุพพลภาพ นอกจากนี้ สภาพครอบครัวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากที่มีคนหลายรุ่น อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพัง ขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทย จึงน่าวิตก การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่น ๆ ของรัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน และแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดภูมิปัญญา หรือการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการยกระดับการจัดสวัสดิการสาหรับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าและความสาคัญของตนเอง และชุมชนประจักษ์ในศักยภาพและพลังของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข
แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ - 2๕๖๔) ซึ่งเป็นแผน ๕ ปีแรกของ
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และพัฒนาระบบการดูแลและสร้างสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัย และกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชน มีอำนาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะ โดยเฉพาะด้านสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ทั้งการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล รวมทั้งการพัฒนาสังคมด้านต่างๆจึงสามารถทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการในทุกๆด้านให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างทั่วถึง
จากฐานข้อมูลของตำบลปุโรง มีประชากรทั้งหมด ๕,๕๒๔ คน มีผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน377 คน คิดเป็นร้อยละ ๖.75 จากปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ โดยดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดตียง และติดสังคม การดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม โดยทุกภาคส่วน “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง” และมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน การจัดการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความสุข เกิดทักษะในการดูแลตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุตำบลปุโรงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตใจที่ดี ไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัวชุมชน และสังคมต่อไป จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลปุโรง ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันได้

 

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

 

0.00
4 ๔. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีทักษะในการจัดการตัวเองได้

 

0.00
5 ๕. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด เมื่อยล้า ให้ได้รับความสนุกสนาน เข้าสังคมมีเพื่อน มีกัลยาณมิตร

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/03/2021

กำหนดเสร็จ 22/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลปุโรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. รับสมัคร ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2. รับสมัคร ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. จัดอบรมตามหลักสูตร

ชื่อกิจกรรม
3. จัดอบรมตามหลักสูตร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ 1.1 กิจกรรมย่อย
    • บรรยาย หัวข้อประโยชน์ของการออกกำลังกาย
    • หลักปฏิบัติในการออกกำลังกายและการบริหารร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ
    • การออกกำลังกายโดนใช้ผ้าลือปัส 1.2 กิจกรรมย่อย
    • บรรยาย หัวข้ออาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
    • อาหารหลัก ๕ หมู่
    • ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ 1.3 กิจกรรมย่อย
    • บรรยาย หัวข้อโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
    • โรคความดันโลหิตสูง
    • โรคเบาหวาน
    • โรคเข่าเสื่อม
    • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
    • โรคมะเร็ง 1.4 กิจกรรมย่อย
    • บรรยาย หัวข้อภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
    • นวดแผนไทยเพื่อคลายเครียด
    • สมุนไพรใกล้ตัว 1.5 กิจกรรมย่อย
    • บรรยาย หัวข้อสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ/การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด
    • สุขภาพจิตกับการเจ็บป่วยเรื้อรัง
    • ภาวะเครียดในผู้สูงอายุ 1.6 กิจกรรมย่อย
    • บรรยาย หัวข้อการใช้ยาในผู้สูงอายุ
    • หลักการใช้ยาเบื้องต้น
    • ยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ
    • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
    • ปัญหาที่พบและข้อควรระวังจากการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ 1.7 กิจกรรมย่อย
    • บรรยาย หัวข้อการดูแลสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุ
    • การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน การใช้แปรงซอกฟัน การใช้ไม้จิ้มฟัน
    • การทำความสะอาดฟันปลอม
    • การตรวจช่องปากด้วยตนเอง
    • การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และไม่ทำอันตรายต่อเหงือกและฟัน
  2. กิจกรรม ฝึกอ่านอัลกุรอ่าน โดยใช้ระบบกีรออาตี (แบ่งกลุ่มเรียน) กิจกรรม บรรยาย การเตรียมตัว เตรียมใจ เข้าสู่ผู้สูงอายุในหลักศาสนาอิสลาม
  3. กิจกรรม ปัจฉิมนิเทศและมอบเกียรติบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2564 ถึง 22 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67775.00

กิจกรรมที่ 4 4. ประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
4. ประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,775.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ พฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันได้
3. สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ ในภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สามารถประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
4. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ มีทักษะในการจัดการตัวเองได้
5. ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด เมื่อยล้า ให้ได้รับความสนุกสนาน เข้าสังคมมีเพื่อน มีกัลยาณมิตร


>