กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดกรองเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง

เขตรัลผิดชอบ รพ.ส.บ้านกูมุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่มีผลมาจากการพัฒนาและกระแส การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปและกลุ่มประชากรวัยทำงานก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเช่น โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคประการหนึ่ง คือ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายขาดความรู้และขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคขาดการตรวจสุขภาพ จากสถิติผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ปี 2563 จากการคัดกรองพบผู้มีความเสี่ยงเป็นความดันร้อยละ 9.84 ความเสี่ยงเป็นเบาหวานร้อยละ 1.90
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตลอดทั้งการดูแลรักษาเมื่อป่วยด้วยโรคดังกล่าวของประชาชน กลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจสุขภาพประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นการคัดกรองหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเพื่อประเมินค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ โรคเบาหวาน และคัดกรองหาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในระยะเริ่มแรกเพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง ตลอดจนผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยได้รับความรู้ในการปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถดำรงชีวิตประจำวัน อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรอง

อัตราร้อยละการตรวจคัดกรอง > 95%

95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,146
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 25/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพเชิงรุกในพื้นที่ แก่กลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสุขภาพเชิงรุกในพื้นที่ แก่กลุ่มเป้าหมาย และประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 3 เครื่องๆละ 2,500.-บาท เป็นเงิน 7,500.-บาท -แผ่นตรวจน้ำตาล 10 กล่องๆละ 300.-บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท -ค่าตอบแทน จำนวน 15 คน คนละ  5 วันๆละ 150.-บาท = 11,250.-บาท -1 ป้าย  เป็นเงิน 1,250.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ 2.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และพบแพทย์เพื่อยืนยันที่ถูกต้อง 3.ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน 4.กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ
2.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และพบแพทย์เพื่อยืนยันที่ถูกต้อง
3.ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน
4.กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกัน


>