กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง

1 นางมีนา อุศมา
2 นางสาวจิรัฐติกาล เจ๊ะสา
3 นางสาวบุญศรี มาลีนี
4 นางรสนา หนูวงศ์
5 นางจุรีพร มานะกล้า

เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม

จากข้อมูลในปี 2563 เขตพื้นที่ตำบลกำแพง รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 636 ราย และพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนในโรคอื่นร่วมด้วย จำนวน 444 ราย คิดเป็นร้อยละ69.81 และผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง จำนวน 1,549 ราย และมีโรคอื่นร่วมด้วย จำนวน 74 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.77 จำนวนที่กล่าวขั้นต้น เป็นจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังทั้งหมดในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาลละงูและศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง ซึ่งปัจจุบัน ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพงได้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด 181 ราย ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้32 คน 17.67 คิดเป็นร้อยละเป็นโรคความดันโลหิตสูง 325 ราย และควบคุมระดับความดันได้ 298 คน คิดเป็นร้อยละ 91.69 และในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังในคลินิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพงจึงเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นเป็นโรค ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยจึงได้จัดทำ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในคลินิกขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ร่วมรับรู้แก้ไขปัญหาร่วมกัน ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้องและมีความต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้และความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันและลดการเกิภาวะแทรกซ้อนได้ ร้อยละ 90

  2. อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง

  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการตามนัด หรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านร้อยละ  90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 48
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ อสม. 24

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดขั้นต้น และวัดความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี แก่ตัวแทนผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ( เพื่อนช่วยเพื่อน)

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับขั้นตอนการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดขั้นต้น และวัดความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี แก่ตัวแทนผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง ( เพื่อนช่วยเพื่อน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.1.1 ทำแบบประเมินความรู้ก่อน และ หลังการอบรม เรื่องการตรวจวัดความดัน การเจาะเลือดคัดกรองเบาหวาน( เจาะเลือดปลายนิ้ว ) ดัชนีมวลกาย และ การแปรผล

1.1.2 บรรยาย / สาธิต ให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างถูกวิธี

1.1.3 ให้ปฏิบัติการใช้เครื่องมือ และสาธิตการปฏิบัติจริง

1.1.4 ให้ความรู้เรื่อง 3 อ. 2 ส. เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการแนะนำผู้อื่นได้

เป้าหมาย

  • ตัวแทนผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 4 คนจำนวน 48 คน

  • อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 12 หมู่บ้านๆละ 2 คน จำนวน 24 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 75 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
  • ค่าอาการกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมและผู้สังเกตการณ์ อบรม จำนวน 75 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 4,875 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.5 * 2 เมตรเป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยาการจำนวน 4 ชั่วโมง ๆ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดอบรม จำนวน 72 คน ๆละ 35 บาทเป็นเงิน2,520 บาท
  • ค่าแบบประเมินความรู้ ก่อนและหลังการอบรม จำนวน 72 คน ๆ ละ 1 ชุด ๆละ 2 บาท เป็นเงิน 144 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 72 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท

รวมเป็นเงิน 20,139 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20139.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อน การดูแลตนเองและความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในผู้ป่วยเบาหวานความดันในคลินิก

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคแทรกซ้อน การดูแลตนเองและความตระหนักเกี่ยวกับโรคตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในผู้ป่วยเบาหวานความดันในคลินิก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1.1 ทำแบบประเมินความรู้ก่อน และ หลังการอบรม

2.1.2 ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

2.1.3 จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ

2.1.4 จัดทำสื่อเผยแพรประชาสัมพันธ์ความรู้และการป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชนและสถานบริการศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง


เป้าหมาย

ผู้ป่วยที่มารับบริการในศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง จำนวน 200 คน จัดอบรมแบ่งเป็น 3 รุ่น

รุ่นที่ 1จำนวน 70คน

รุ่นที่ 2 จำนวน70คน

รุ่นที่ 3 จำนวน60 คน


งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 200 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ค่าอาการกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 65 บาท จำนวน 200 คน เป็นเงิน 13,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.5 * 2 เมตร เป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการจัดอบรม จำนวน 200 คน ๆละ 35 บาทเป็นเงิน7,000บาท
  • ค่าแบบประเมินความรู้ ก่อนและหลังการอบรม จำนวน 200 คน ๆ ละ 1 ชุด ๆละ 2 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าจัดทำสื่อป้ายไวนิลพร้อมขาตั้ง ประชาสัมพันธ์ในสถานบริการ ขนาด 80*180 เซนติเมตร จำนวน 3 ป้ายๆละ 700 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 200 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท

รวมเป็นเงิน 52,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52950.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม เยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ผิดนัดมารับบริการและมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง (เพื่อนช่วยเพื่อน)

3.1.1 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่ผิดนัด และให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องการการเกิดโรคแทรกซ้อนเป็นรายบุคคล

3.1.2 ตรวจสุขภาพวัดความดัน/เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมินสุขภาพ

3.1.3 บันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยลงในสมุดบันทึก


เป้าหมาย

  • ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังผิดนัดการรับบริการในคลินิก หรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูง

งบประมาณ

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดโครงการ

4.1.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

4.1.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,089.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
2. อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการตามนัด หรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความดันสูงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน


>