กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว(อสค.)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย

ตำบลทุ่งนุ้ย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขมีระบบการสร้างความรู้ในชุมชน เพื่อให้คนมีความรู้เรื่องสุขภาพสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในระดับชุมชนได้เป็นอย่างดี ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่วนในระดับครอบครัว ซึ่งเป็นแกนกลางของสังคมที่เป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตหากมีการสร้างเครือข่ายความรู้ด้านสุขภาพต่อยอดจากชุมชนเข้าสู่ครัวเรือน จะทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการ วิเคราะห์และจัดการปัจจัยเสี่ยงภัยสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพคนในครอบครัวตนเองได้ ครอบครัวเป็นกลุ่มบุคคล ที่มีความผูกพันและใช้ชีวิตร่วมกันมีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง ซึ่งแต่ละคนจะมีพฤติกรรมสุขภาพที่แตกต่างกัน มีปัญหาด้าน สุขภาพที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันแล้วแต่สุขภาวะของแต่ละบุคคล การที่จะทำให้ครอบครัวนั้นๆมีสุขภาพดีมีชีวิตยืนยาว และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขนั้น จะต้องได้รับการดูแล แนะนำ ส่งเสริม ป้องกัน จัดการความเสี่ยงและภัยสุขภาพ ไม่ให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพขึ้น หากมีผู้ป่วยหรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในครอบครัว ต้องได้รับการดูแล ซึ่งบุคคลที่ดีและ เหมาะสมที่สุดก็คือ สมาชิกในครอบครัวนั้นๆสำหรับในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ยได้จัดโครงการดังกล่าวต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ ปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๑๑๗, ๑๒๐, และ ๑๒๘ ตามลำดับ และปัจจุบันมีอาสาสมัครแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ( อสค. ) แล้วทั้งสิ้นจำนวน ๓๖๕ หลังคาเรือน จากจำนวน ๑,๙๙๓ หลังคาเรือนคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๓๑ ( ข้อมูลจำนวนหลังคาเรือน ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ จากทะเบียนราษฎร์ที่ว่าการอำเภอควนกาหลง)
โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย จึงได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ด้วยการนำลูก หลาน ญาติ พี่น้องหรือสมาชิกในครอบครัว รวมถึงเพื่อนบ้านหรือบุคคลที่ครอบครัว ไว้วางใจ ให้มาเป็นผู้ดูแลสุขภาพของครอบครัว นำมายกระดับ ปรับทัศนคติ และเพิ่มเติมความรู้ร่วมกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น เพื่อนำบุคลากรเหล่านั้นมาเป็นพลังและ เป็นเครือข่ายเข้าสู่ครัวเรือน ให้มีคนรู้ วิธีในการดูแลสุขภาพคนในครอบครัวได้ โดยการเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จิตอาสา และการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว(อสค.)

ชื่อกิจกรรม
โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว(อสค.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย  โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว(อสค.)ด้วยการนำลูก หลาน ญาติ พี่น้องหรือสมาชิกในครอบครัวรวมถึงบ้านเพือนหรือบุคคลที่ครอบครัวไว้วางใจ ให้มาเป็นผู้ดูแลสุขภาพของครอบครัว นำมายกระดับ ปรับทัศนคติ และเพิ่มเติมความรู้ร่วมกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น เพื่อนำบุคลากรเหล่านั้นมาเป็นพลังและเป็นเครือข่ายเข้าสู่ครัวเรือน ให้มีคนรู้ วิธีการดูแลสุขภาพคนในครอบครัวได้โดยการเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จิตอาสา และการเรียนด้วยตนเอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ เจตคติ ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติตนด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ เจตคติ ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติตนด้านสุขภาพอนามัยที่
ถูกต้อง สามารถให้การดูแลสุขภาพแก่สมาชิกในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิผล
๒.ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในทำงานเป็นอาสาสมัครประจําครอบครัว (อสค.) อย่างมีคุณภาพ และ
เชื่อมโยง ส่งต่อ เป็นเครือข่ายสานต่อการดูแลสุขภาพกับอสม. อย่างเป็นรางแหเดียวกัน
๓.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสามารถและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิกในครอบครัว ให้ดํารงชีวิตได้อย่าง
มีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า สร้างสรรค์ความเจริญต่อชุมชน ตลอดจนชุมชนมีความมั่นคงในการดูแลช่วยเหลือ
เกื้อกูลกัน


>