กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการพัฒนาเครือข่าย คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในกระแสเลือด ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการพัฒนาเครือข่าย คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในกระแสเลือด ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินัง

1.นางสาวมารีแย สะอะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
2.นางสารีหพ๊ะ หะยีมอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.นางสาวฮาสนะห์ เลาะยะผา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ม.7 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวนผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาเพื่อกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน( against advise)จากภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired ที่ลง ICD 10 รหัส R 65.1 และ R57.2ใน Principle Diagnosis และ Comorbidity ไม่นับรวมที่ ลงใน Post Admission Comorbidity (complication) และไม่นับรวมผู้ป่วย palliative (รหัส Z 51.5)โดยมีสถานภาพการจำหน่าย (Discharge status) = 2 ปฏิเสธการรักษา, และวิธีการจำหน่าย (ischarge type) = 3 ไม่ดีขึ้น
1. ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะsevere sepsis หรือ septic shock
1.1 ผู้ป่วย severe sepsis หมายถึง ผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่ามีการติดเชื้อในร่างกาย ร่วมกับมี SIRS ตั้งแต่ 2 ข้อ ขึ้นไป (ตารางที่ 1) ที่เกิดภาวะ tissue hypoperfusion หรือ organ dysfunction (ตารางที่ 2) โดยที่อาจจะมีหรือไม่มีภาวะ hypotension ก็ได้
1.2 ผู้ป่วย septic shock หมายถึง ผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่ามีการติดเชื้อในร่างกาย ร่วมกับมี SIRS ตั้งแต่ 2 ข้อ ขึ้นไป (ตารางที่ 1) ที่มี hypotension ต้องใช้ vasopressors ในการ maintain MAP ≥65 mm Hg และ มีค่า serum lactate level >2 mmol/L (18 mg/dL) แม้ว่าจะได้สารน้ำเพียงพอแล้วก็ตาม
2. Community-acquired sepsis หมายถึง การติดเชื้อมาจากที่บ้านหรือที่ชุมชน โดยต้องไม่อยู่ในกลุ่ม hospital-acquired sepsis
อัตราตายจากติดเชื้อในกระแสเลือด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1. อัตราตายจาก community-acquired sepsis
2. อัตราตายจาก hospital-acquired sepsis
3. กลุ่มเป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2561 และ 2562 จะมุ่งเน้นที่กลุ่ม community – acquired sepsisเพื่อพัฒนาให้ มีระบบข้อมูลพื้นฐานให้เหมือนกัน ทั้งประเทศ แล้วจึงขยายไปยัง hospital-acquired sepsis ในปีถัดไป
4. การคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง หมายถึง การคัดกรองผู้ป่วยทั่วไปที่อาจจะเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงเพี่อนำไปสู่การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงต่อไป ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ (sepsis screening tools) qSOFAตั้งแต่2 ข้อ ขึ้นไป (ตารางที่ 3) modified early warning score SOS score (search out severity) ตั้งแต่ 4 ข้อ ขึ้นไป (ตารางที่ 4) ซึ่งเกณฑ์การคัดกรองไม่สามารถใช้แทนเกณฑ์ในการวินิจฉัยได้
5. ฐานข้อมูลของโรงพยาบาล หมายถึง ข้อมูลจาก ICD 10 และ/หรือฐานข้อมูลอื่นๆ ของแต่ละโรงพยาบาล
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงเป็นภาวะวิกฤตที่มีความสำคัญพบว่าอัตราอุบัติการณ์มีแนวโน้มสูงขึ้นและอัตราเสียชีวิตสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่รับยากดภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังพบว่าแนวโน้มของเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดส่งผลให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้แก่ ภาวะช็อก,ไตวาย การทำงานอวัยวะต่างๆล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลกรงปินังจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในกระแสเลือด ตำบลกรงปินังอำเภอกรงปินังจังหวัดยะลา ปี 2564เพื่อให้ประชาชนและแกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เพื่อการรักษาได้ทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ (health literacy) เกี่ยวกับการป้องกัน ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด 2.เพื่อให้ผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกันและเฝ้าระวังอาการติดเชื้อ ระบบต่าง ๆ 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการคัดกรองภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดรวดเร็ว
  1. ประชาชนที่มีอาการติดเชื้อเข้าถึงบริการได้เร็ว ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือ ก่อนมีภาวะวิกฤตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
  2. กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการดูแล ป้องกันการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ
  3. ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเร็วก่อนมีอาการรุนแรง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้สำหรับประชาชน แกนนำสุขภาพอสม.ม.7 ต.กรงปินังเรื่องการป้องกัน ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดทักษะในการดูแล ป้องกันและเฝ้าระวังอาการติดเชื้อ ระบบต่าง ๆและการประเมิน SOS Scoreเพื่อการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้สำหรับประชาชน แกนนำสุขภาพอสม.ม.7 ต.กรงปินังเรื่องการป้องกัน ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดทักษะในการดูแล ป้องกันและเฝ้าระวังอาการติดเชื้อ ระบบต่าง ๆและการประเมิน SOS Scoreเพื่อการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50คน x 75 บาท x 2 วันเป็นเงิน7,500 บาท - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน 50 คน X 20 บาท X 4 มื้อเป็นเงิน4,000 บาท - ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนX 300 บาท X 6 ชม.x 2 วันเป็นเงิน3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำสุขภาพ อสม.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การประเมิน SOS Score
  2. ผู้ป่วยกลุ่มที่มี ADL ≤ 4คะแนน และกลุ่มที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัวได้รับการประเมินSOS Score
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15100.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมตรวจคัดกรองการประเมิน SOS Scoreเพื่อการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยฝึกทักษะการคัดกรองและให้ความรู้แก่ผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงและแกนนำสุขภาพคัดกรองกลุ่มประชากรในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมตรวจคัดกรองการประเมิน SOS Scoreเพื่อการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยฝึกทักษะการคัดกรองและให้ความรู้แก่ผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงและแกนนำสุขภาพคัดกรองกลุ่มประชากรในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x75 บาท x 1 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 3,750 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 20 บาท x 2 มื้อ x 1วันเป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพอสม.ม.7 ต.กรงปินังมีทักษะเรื่องการประเมินSOS Score  ในกลุ่มที่มี ADL ≤ 4คะแนน และกลุ่มที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนที่มีอาการติดเชื้อเข้าถึงบริการได้เร็ว ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือ ก่อนมีภาวะวิกฤตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
2. กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการดูแล ป้องกันการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ
3. ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเร็วก่อนมีอาการรุนแรง


>