กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งบุหลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมอนามัยใส่ใจการบริโภคอาหารประชาชนตำบลทุ่งบุหลัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งบุหลัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลทุ่งบุหลัง

1. นายชัยยา ฤทธิ์เดช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง

ตำบลทุ่งบุหลังอำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ดังนั้นจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการได้แก่ ด้านสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาหารสะอาดปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีด้วย ปัจจัยพื้นฐานด้านอาหารนับว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก การจัดการอาหารที่ดี นอกจากจะคำนึงถึงรสชาติแล้วยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงรสชาติและความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ
ในยุคสมัยที่คนเราเร่งรีบ รักความสะดวกสบาย หลายคนคงเคยชินกับการรับประทานอาหารกล่อง อาหารสำเร็จรูป เพราะสะดวก รวดเร็ว ประหยัด หาซื้อได้ง่าย โดยลืมคำนึงถึงสุขภาพ และด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ขายต้องปรับตัวหาวิถีทางที่จะลดต้นทุน เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่ เน้น “อิ่ม-ถูก-เร็ว” ส่งผลให้อาหารประเภทข้าวกล่องแกงถุง กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆที่ผู้คนให้ความสนใจในชีวิตประจำวัน โดยละเลยอันตรายต่อสุขภาพที่แฝงมากับอาหารและวัสดุที่ใช้บรรจุอาหาร ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพขึ้นได้ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง เป็นต้น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการใส่ใจในการบริโภคอาหาร จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมอนามัยใส่ใจการบริโภคอาหาร ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องโภชนาการอาหารปลอดภัยอย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

ประชาชน ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร การทำความสะอาด การประกอบอาหารอย่างปลอดภัย ถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ

ประชาชน ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร การทำความสะอาด การประกอบอาหารอย่างปลอดภัย ถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหาร

ประชาชนร้อยละ ๘๐ มีการดูแลสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหาร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/04/2021

กำหนดเสร็จ 07/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 2. ให้ความรู้เรื่องอันตรายของภาชนะบรรจุอาการ (โฟม, ถุงพลาสติก) และอันตรายของน้ำมันทอดซ้ำ3. ให้ความรู้เรื่องโรคที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาการ/การป้องกัน/การรักษา
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2564 ถึง 7 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11132.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,132.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
2. ประชาชนได้เลือกซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ
3. เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภคในเรื่องสุขภาพในเรื่องอาหารการกินของประชาชน


>