กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนสุขภาพจิตดีห่างไกลโรคซึมเศร้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

อาคารเอนกประสงค์โรงเรียนกาบังพิทยาคม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต

 

80.00

ปัจจุบันจำนวนผู้พิการทางจิตมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจ ของประชาชนมีความยุ่งยากและซ้ำซ้อนมากขึ้น ทำให้ผลต่อการปรับตัวของประชาชนและที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้พิการทางจิต ซึ่งมีปัญหาการปรับตัวอยู่แล้วขาดปัจจัยการช่วยเหลือให้สามารถรักษาภาวะสุขภาพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพแม้ในกระบวนการบำบัดรักษา ผู้ป่วยทางจิตในโรงพยาบาลมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้มากขึ้น โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาทั้งด้านการให้ยาและการบำบัดด้านจิตสังคม แต่ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้พิการทางจิต หากได้รับการดูแลต่อเนื่อง และได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นคนทั่วไปจากสมาชิกในชุมชนภายหลังการบำบัดรักษาหรือผู้ป่วยกลับไปสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรคเนื่องจากภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถมีชีวิตในสังคมทั่วไป
โรงพยาบาลกาบัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้ช่วยกันดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดจนสมาชิกในชุมชนให้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยแบบยอมรับซึ่งกันและกันได้ซึ่งจะนำมาซึ่งความสงบในชุมชนต่อไป
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนในชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความขับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลงมีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้น และหากคนในชุมชนไม่ได้รับการดูแลใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งส่งเสริมให้คนในชุมชนมีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังแยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
โรงพยาบาลกาบัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้ช่วยกันดูแลผู้ป่วยและญาติตลอดจนสมาชิกในชุมชนให้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยแบบยอมรับซึ่งกันและกันได้ซึ่งจะนำมาซึ่งความสงบในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในชุมชน

40.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถประเมินเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าด้วยตนเองได้

กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ในชุมชนได้

40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 92
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า การประเมินตนเองและผู้อื่นเมื่อพบว่ามีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า การประเมินตนเองและผู้อื่นเมื่อพบว่ามีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลกาบัง จำนวน ๑๑,๐๐๐ บาทรายละเอียดดังนี้ -ค่าอาหารกลางจำนวน ๑ มื้อๆละ ๕๐ บาท x ๙๒ คน เป็นเงิน ๔,๖๐๐ บาท -ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท x ๙๒ คนเป็นเงิน ๔,๖๐๐ บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชั่วโมงๆละ ๓๐๐ บาทเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น๑๑,๐๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ให้ความรู้ความเข้าใจแนวทางการดูแลตนเอง และสอนวิธีการประเมินตนเองเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถคัดกรองตนเองและผู้อื่นเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 2 ลงประเมินโรคซึมเศร้าในพื้นที่ รายที่ผู้เข้าร่วมอบรมส่งต่อข้อมูลที่พบความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ลงประเมินโรคซึมเศร้าในพื้นที่ รายที่ผู้เข้าร่วมอบรมส่งต่อข้อมูลที่พบความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามการประเมินโรคซึมเศร้า ที่ผุ้เข้าร่วมอบรมคัดกรองตนเองและบุคคลในครัวเรือนเพื่อค้นหาคนที่มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้า 2.นัดบุคคลที่มีความเสี่ยงที่ประเมินซึมเศร้าแล้วพบว่าคะแนนมากกว่า7 คะแนน เพื่อประเมินซ้ำ และให้คำปรึกษา 3.ดูแล ส่งต่อ แพทย์เพื่อดูแลต่อเนื่อง หากพบว่ามีความเสี่ยงโรคซึมเศร้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามผลการประเมินตนเองและบุคคลในครัวเรือนของผู้เข้าอบรมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินคัดกรองตนเองและผู้อื่น เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในชุมชน
๒.กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดกรองและติดตามผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ในชุมชนได้
๓.กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เพื่อระบบการส่งต่อ และการรักษาที่ถูกต้อง


>