กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ลดซีด ลดเสี่ยง เลี่ยงPreterm

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

70.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

70.00
3 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

70.00
4 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสีี่ยง 5โรค และ 3 โรค PNC

 

80.00

การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆ อาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำเนิด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถ ดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้านดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมจึงได้จัดทำโครงการลดซีด ลดเสี่ยง เลี่ยงPreterm เพื่อป้องกันและลดปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค( เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ธัยรอยด์ ตกเลือดหลังคลอด) ๓ กลุ่มโรค PNC ตามแนวทางและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค( เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  หัวใจ ธัยรอยด์
    ตกเลือดหลังคลอด)  ๓ กลุ่มโรค PNC (PPH  PIH  Sepsis ตามแนวทางและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ไม่
    เกิดภาวะแทรกซ้อนซ้อนจากโรคในระหว่างการตังครรภ์  ระหว่างคลอดและหลังคลอด

80.00 95.00
2 เพื่อให้ทารกแรกเกิดมีนำ้หนักน้อยกว่า2500 กรัมไม่เกินร้อยละ 7

อัตราการเสียชีวิตของมารดาไม่เกิน 17 ต่อการเกิดมีชีพแสนคนและทารกแรกเกิดมีนำ้หนักน้อยกว่า 2500  กรัม  ไม่เกินร้อยละ 7

8.00 7.00

เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค( เบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจ ธัยรอยด์
ตกเลือดหลังคลอด)๓ กลุ่มโรค PNC (PPHPIHSepsis ตามแนวทางและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ลด
ภาวะแทรกซ้อนจากโรค

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม/เยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรม/เยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1.จัดอบรมสำหรับผู้เกี่ยวข้องเรื่อง 5กลุ่มโรคเสี่ยงและ๓ กลุ่มโรค PNC/ประเมินทักษะการคัดกรองความเสี่ยง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒0 คน X ๒๕ บาท X ๒ มื้อ เป็นเงิน ๑,๐๐๐บาท - ค่าอาหารกลางวันจำนวน ๒๐ คน X ๕๐ บาท X ๑ มื้อเป็นเงิน๑,๐๐๐บาท - ค่าวิทยากรจำนวน ๖ ชั่วโมง X ๓๐๐ บาท X ๑ วันเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๘๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้ัรับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กสามารถคัดกรองและให้การดูแลที่ได้มาตรฐาน/ผู้รับผิดชอบสามารถและคัดกรองได้ถูกต้องตามมาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม/เยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรม/เยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๒  จัดประชุม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คน X ๒๕ บาท X ๒ มื้อ             เป็นเงิน    ๒,๕๐๐    บาท           - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕0 คน X ๕๐ บาท X ๑ มื้อ                 เป็นเงิน    ๒,๕๐๐    บาท     - ค่าวิทยากร จำนวน ๖ ชั่วโมง X ๓๐๐ บาท X ๑ วัน                              เป็นเงิน    ๑,๘๐๐     บาท                                                  เป็นเงิน    ๖,๘๐๐    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๒. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ  สามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด/หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ  สามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 3 อบรม/เยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรม/เยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๓ จัดอบรมมารดาหลังคลอด/สามี/ญาติ
           -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คน X ๒๕ บาท X ๒ มื้อ             เป็นเงิน    ๒,๕๐๐    บาท            -  ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕0 คน X ๕๐ บาท X ๑ มื้อ                 เป็นเงิน   ๒,๕๐๐    บาท     -  ค่าวิทยากร จำนวน ๖ ชั่วโมง X ๓๐๐ บาท X ๑ วัน                             เป็นเงิน   ๑,๘๐๐     บาท                                                          เป็นเงิน    ๖,๘๐๐    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๓ เพื่อให้มารดาหลังคลอด/สามี/ญาติ มีความรู้  สามารถปฏิบัติตัวหลังคลอด  เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้/มารดาหลังคลอดและบุตรไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน  สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง ๕ กลุ่มโรค( เบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจ ธัยรอยด์ตกเลือดหลังคลอด)๓ กลุ่มโรค PNC (PPHPIHSepsis ตามแนวทางและได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนซ้อนจากโรคในระหว่างการตังครรภ์ระหว่างคลอดและหลังคลอด2
2. หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพสามารถปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด
๓.. หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ๗๕
๔.. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์๕ ครั้งตามเกณฑ์ไม่ต่ำร้อยละ๗๕
๕. ภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ๑๖
๖. ทารกแรกคลอดน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม


>