กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ติดตามชะลอโรคไต แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2564 ปีที่ 4 ตำบลลิปะสะโง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

โรงพยาบาลส่งเสริมมสุขภาพตำบลลิปะสะโง

นางสาวยุวดี หลีเจริญ

ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังลดลง

 

30.00

จากข้อมูลปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคแทรกซ้อนถึงเสียชีวิต มีผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 ราย ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษายุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละประมาณ 2 แสนบาทต่อคน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีเพียงปีละ 400 รายเท่านั้นนอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดคือขาดแคลนผู้บริจาคไต ผู้ป่วยจึงต้องรักษาเพื่อยืดอายุโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างของเสียออกทางหน้าท้องโดยในแต่ละปี ได้ใช้งบประมาณในการบำบัดทดแทนไตในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าในปี 2560 อาจจะต้องใช้งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาทมีผู้เสียชีวิตจากไตวาย 13,536 คน ประมาณ 1 ใน 3 ตายก่อนวัยอันควร อายุน้อยกว่า 60 ปี จากการรายงานของสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ พบผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจำนวน 8 ล้านคน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน
สถิติผู้ป่วยโรคไต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 50 คนและมีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 6 คน พบว่าผู้ป่วยทราบและไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตมาก่อน ก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ
เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต อันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง จากการแลกเปลี่ยนรู้เมื่อปี2563 ผู้ป่วยได้รับการแลกเปลี่ยน และติดตามเจาะเลือดประจำปี จากผู้ป่วยที่เป็นโรคไตระยะที่3 เป็นระยะที่2 จำนวน 2 คนจากผู้ป่วย50 คนและเพื่อมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการ ป้องกันชะลอ โรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังปี ๒๕64ปีที่4 ตำบลลิปะสะโง ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกัน ชะลอโรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต.ลิปะสะโง มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องไตวายเรื้อรังมากขึ้น

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต.ลิปะสะโง มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องไตวายเรื้อรังมากขึ้น

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต.ลิปะสะโง ควบคุมความดันให้อยู่ที่ 130/80 mmhg ระดับน้ำตาลในเลือด 110 mg/dl HbA1C น้อยกว่า 6.5 %

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต.ลิปะสะโง ควบคุมความดันให้อยู่ที่ 130/80 mmhgระดับน้ำตาลในเลือด 110 mg/dlHbA1C น้อยกว่า 6.5 %

0.00
3 3. เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ลดอุบัติการณ์การเกิดโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

0.00
4 ร้อยละการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังลดลง

ร้อยละการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังลดลง

30.00 20.00

จากข้อมูลปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคแทรกซ้อนถึงเสียชีวิต มีผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 ราย ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษายุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละประมาณ 2 แสนบาทต่อคน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีเพียงปีละ 400 รายเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดคือขาดแคลนผู้บริจาคไต ผู้ป่วยจึงต้องรักษาเพื่อยืดอายุโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างของเสียออกทางหน้าท้อง โดยในแต่ละปี ได้ใช้งบประมาณในการบำบัดทดแทนไตในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าในปี 2560 อาจจะต้องใช้งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาท มีผู้เสียชีวิตจากไตวาย 13,536 คน ประมาณ 1 ใน 3 ตายก่อนวัยอันควร อายุน้อยกว่า 60 ปี จากการรายงานของสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ พบผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจำนวน 8 ล้านคน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน สถิติผู้ป่วยโรคไต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 50 คนและมีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 6 คน พบว่าผู้ป่วยทราบและไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตมาก่อน ก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต อันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโงมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการ ป้องกัน ชะลอ โรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2564 ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกัน ชะลอโรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินภาวะสุขภาพและทำแบบทดสอบก่อนดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพและทำแบบทดสอบก่อนดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก เจ้าหน้าที่และอสม. -ประเมินภาวะสุขภาพ โดยเจาะเลือดประจำปี แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ -ให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานทำแบบทดสอบก่อนทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เป็นการประเมินภาวะสุขภาพ ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องไตวายเรื้อรัง เพื่อวางแผนลดอุบัติการณ์การเกิดโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคความดัน โรคเบาหวาน ปี2564

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคความดัน โรคเบาหวาน ปี2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม : 1. แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องโรคไต ระหว่างเจ้าหน้าที่ กับผู้ป่วย 2. แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง 3. แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ในเรื่องโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/และภาวะแทรกซ้อนของโรค 4. ประเมินความรู้หลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยแบบทดสอบหลังการดำเนินกิจกรรม งบประมาณ
-ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2500 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2500 บาท -ค่าวัสดุและอุปกรณ์สื่อความรู้ในการจัดกิจกรรมโครงการเป็นเงิน 4,600 บาท -ค่าป้ายชื่อโครงการขนาด 1.20 X 6.00 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1000 บาทรวมเป็นเงิน 10,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ต.ลิปะสะโง มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หลังได้รับการ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องโรคไต

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หลังได้รับการ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องโรคไต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเตรียมความพร้อมทีมติดตามเยี่ยม -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1500 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 0 คน เป็นเงิน 1500 บาท 2.ค่าตอบแทนอสม.ติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน มาเจาะเลือดซ้ำ ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 6 เดือน เพื่อเปรียบเทียบผลเลือดให้ผู้ป่วยได้ทราบ) จำนวน 30 คน x 90 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 5400 บาท 2. สรุป/ ประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อเปรียบเทียบผลเลือดให้ผู้ป่วยได้ทราบและได้เฝ้าระวังการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง ในตำบลลิปะสะโง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ต.ลิปะสะโง มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ร้อยละ 50
2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต.ลิปะสะโง ควบคุมความดันให้อยู่ที่ 130/80 mmhg ระดับน้ำตาลในเลือด 110 mg/dl HbA1c น้อยกว่า 6.5 % ดีขึ้น
3. ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง ในตำบลลิปะสะโง
4. ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคไตในผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน ตำบลลิปะสะโง


>