กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งบุหลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งบุหลัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง

นายพงศกรมาลาสัย

ตำบลทุ่งบุหลังอำเภอทุ่งหว้าจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาของราษฎรในบทบาทของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพภาคประชาชน และสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาครัฐ ทำการฝึกอบรมราษฎรให้มีความรู้สามารถปฏิบัติ และให้คำแนะนำแก่ชุมชนในระดับชีวิตประจำวันได้ เป็นผู้นำชุมชนด้านสุขภาพ ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะได้พัฒนาผู้นำชุมชนด้านสุขภาพนี้ และร่วมขับเคลื่อนโครงการกับผู้นำชุมชนด้านอื่นๆปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทยได้แก่ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด มีอัตราตาย ๘๕.๐๔, ๓.๖๔, ๕๕.๒๙ ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๐)และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ ๑ ล้านบาทซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือ ขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ราษฎรจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง และจากผลการสำรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง กลุ่มประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จากจำนวน ๑,๓๑๘ คนได้รับการคัดกรอง ร้อยละ ๙๖.๕๖ พบความเสี่ยง จำนวน ๓๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๙๘
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเบาหวาน โรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด ในพื้นที่ โดยใช้หลักเกณฑ์หมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการใช้หลักการ ๓ อ. ๒ ส. ๑.)อ. อาหาร๒.) อ.ออกกำลังกาย ๓.) อ. อารมณ์๑.) ส.สุรา และ ๒.) สูบบุหรี่ซึ่งจะสามารถทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ถึงร้อยละ ๒๐-๓๐ทั้งยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

ประชาชนร้อยละ ๙๐ ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง  โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด

0.00
2 ใช้หลักเกณฑ์หมู่บ้านต้นแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลักการ ๓ อ. ๒ ส.

ทุกหมู่บ้านผ่านเกณฑ์หมู่บ้านต้นแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลักการ ๓ อ. ๒ ส.

0.00
3 ให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยใช้หลักการ ๓ อ. ๒ ส.

ภาคีเครือข่ายทุกแห่งมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

0.00
4 ให้ประชาชน มีความรู้และนำหลักการ ๓ อ. ๒ ส. ไปปฏิบัติให้ถูกต้อง

สามารถลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  โรคมะเร็ง  โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/07/2021

กำหนดเสร็จ 16/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมชี้แจงโครงการ ติดตามโครงการ สรุปผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมชี้แจงโครงการ ติดตามโครงการ สรุปผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการ ติดตามโครงการ สรุปผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

กิจกรรมที่ 2 2. คัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
2. คัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตตำบลทุ่งบุหลัง ต่อโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง  โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด  โดย อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
91000.00

กิจกรรมที่ 3 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  โดยใช้หลักการ  ๓ อ. ๒ ส.
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2564 ถึง 16 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23632.00

กิจกรรมที่ 4 4. รณรงค์สร้างกระแส

ชื่อกิจกรรม
4. รณรงค์สร้างกระแส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์สร้างกระแส และ การรับรู้ให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตลอดจนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 117,482.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็ง โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มขึ้น
2. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด
3. ประชาชนในหมู่บ้านลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือด
4. ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน


>