กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ 0-5 ปี โภชนาการดี นำสู่พัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบางเขา

1.นายประเสริฐเพ็งภัตรา
2.นายแวดาโอะแวเยะ
3.นางนาปีซะตาสะเมาะ
4.นางสุนิสาอับดุลตาเละ
5.นางสาวแวอาซีซ๊ะแวมิง

ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

 

20.23

เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา จึงควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆด้าน เป็นวัยที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่และเป็นกำลังของชาติ หากเด็กและเยาวชนได้รับการส่งเสริมทั้งด้านร่างกายและสติปัญญาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็จะทำให้เด็กมีการเจรฺญเติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งเด็ก 0 - 5 ปี เป็นวัยที่ต้องการพัฒนาการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะพัฒนาการด้านร่างกาย ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต และจากการประเมินพบว่า เด็ก 0 - 5 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา มีจำนวน 514 คน พบว่ามีภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 20.23 มีน้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 172 คนคิดเป็นร้อยละ 33.46 ทั้งนี้จากการสำรวจ พบว่า ผู้ปกครองเด็กวัยนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของอาหารที่เหมาะสมกับวัย การเลือกซื้ออาหาร รวมไปถึงวิธีการล้างผักและการจัดการกับอาหารอื่นๆให้ปลอดสารผิด ส่งผลให้เด็กวัยนี้ขาดสารอาหาร ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบางเขาจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับวัยโดยเน้นให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้และตระหนัก ในการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาซึ่งส่งผลให้เด็ก 0 - 5 ปี มีภาวะโภชนาการที่ดีและมีพัฒนาการทางด้านร่างกายตามวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด เด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม  ลดลง

20.23 0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0 - 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก 0 - 5 ปี

 

0.00
4 4.เพื่อให้เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง/อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอสม.เรื่อง การติดตามเฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 7 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง/อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอสม.เรื่อง การติดตามเฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 7 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากร  เป็นเงิน 900.- บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน อัตราคนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน 4,000.- บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000.-บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อสม เป็นเงิน 1,200.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการช่างน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในชุมชนโดย อสม. อุปกรณ์ในการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการช่างน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในชุมชนโดย อสม. อุปกรณ์ในการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล จำนวน 7 เครื่อง เครื่องละ 1,000 บาท เป็นเงิน 7,000.-บาท -ค่าที่วัดส่วนสูง จำนวน 7 เครื่อง เครื่องละ 300 บาท เป็นเงิน 2,100.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก่ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ อัตรามื้อละ 50 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน 3,500.-บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ อัตรามื้อละ 25 บาท จำนวน 70 คน เป็นเงิน  3,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามชั่งน้ำหนักเด็ก ที่มีภาวะโภชนาการต่ำ โดย อสม.

ชื่อกิจกรรม
ติดตามชั่งน้ำหนักเด็ก ที่มีภาวะโภชนาการต่ำ โดย อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทน อสม.ในการติดตามเด็ก จำนวน 70 คน อัตราครั้งละ 20 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 4,200.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละของเด็ก 0 - 5 ปี ที่มีภาวะผอม ลดลง
2.เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนัก/เฝ้าระวังและตรวจประเมินภาวะโภชนาการ
3.เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำได้รับการติดตาม
4.ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการ ในเด็ก 0 - 5 ปี ได้อย่างถูกต้อง


>