กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสิงหนคร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสูงวัยไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสิงหนคร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเขา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเขา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเขา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุมีภาวะความเสี่ยงสมองเสื่อม (คน)

 

19.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

55.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้าน (คน)

 

115.00
4 เครือข่ายการติดตามดูแลผู้สูงอายุร่วมกับทีมสหวิชาชีพ(คน)

 

50.00

การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแนวคิดไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย หรือ 4 AMRTได้แก่ 1. Smart Walk ออกกำลังกายสมำ่เสมอเพื่อร่างกายที่แข็งแรง ไม่หกล้ม โดยผู้สูงอายุออกกำลังอายอย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที2.) Smart Brain&Emotional ดูแลฝึกทักษะสมอง ส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมในชมชรมผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ รณรงค์ส่งเสริมพฤติการไม่สูบบุหรี่ 3.) Smart Sleep คือ นอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง และ 4.) Smart Eat กินอาหารตามหลักโภชนาการ ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผัก ผลไม้ เลือกอาหารที่โปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลาทะเล ซึ่งมีโอเมก้า 3 สูง ช่วยบำรุงประสาท สายตา และสมอง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อความสามารถในการบดเคี้ยวอาหาร มีฟันใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ 4 คู่สบ ตลอดจนการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ความรอบรู้สำหรับประชาชน
ในตำบลหัวเขาอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีผู้สูงอายุในปี 2564 ทั้งหมด 2,081 คน แยกประเภทตามสภาวะพึ่งพิงทางสุขภาพได้ ดังนี้ ผู้สูงอายุติดสังคม 1,882คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 115คน ผู้สูงอายุติดเตียง 55 คน ผู้สูงอายุมีภาวะความเสี่ยงสมองเสื่อม 19 คน จะเห็นได้ว่าในกลุ่มติดบ้านและติดเตียง เป็นกลุ่มที่มีขนาดจำนวนมากระดับหนึ่ง และชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวเขา ร่วมกับภาคีเครือข่ายจึงเล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุไม่ล้ม ไม่ลืมไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อยเพื่อ้ปงกันโรคในผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพดีให้มีสุขภาพแข็งแรง ยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือการเข้าสู่ภาวะทุพลภาพออกไปเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของยตนเองที่ถูกต้อง ตลอดถึงสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมได้ด้วยซึ่งจะส่งผลฝห้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตในบั้นปลายชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ มีความสุขตลอดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเครือข่ายการติดตามดูแลผู้สูงอายุร่วมกับทีมสหวิชาชีพ

เกิดเครือข่ายแกนนำผู้สูงอายุเพื่อติดตามดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงร่วมกับทีมสหวิชาชีพ และเรียนรู้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายที่ถูกต้องได้

50.00 80.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

55.00 45.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้าน

ผู้สูงอายุที่ติดบ้านมีจำนวนลดลง

115.00 80.00
4 เพื่อลดผู้สูงอายุมีภาวะความเสี่ยงสมองเสื่อม (คน)

ผู้สูงอายุมีภาวะความเสี่ยงสมองเสื่อม (คน)ลดลง

19.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/03/2021

กำหนดเสร็จ 24/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสิงหนคร

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสิงหนคร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาโครงการเพื่อขอรับงบสนับสนุนจากกองทุนฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2564 ถึง 30 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดโครงการจากการพัฒนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 แต่งตั้งคณะทำงาน /ติดต่อประมาณสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
แต่งตั้งคณะทำงาน /ติดต่อประมาณสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่่งตั้งคณะทำงาน และติดต่อประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดคณะทำงานในการดำเนินงานโครงการ
  2. ได้กลุ่มเป้าหมายแกนนำผู้สูงอายุในการเข้าร่วมโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลสุขภาพและจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลสุขภาพและจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่สำรวจเพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่และจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อดำเนินการโครงการต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ 2.ได้จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่เพื่อเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำผู้สูงอายุ ตามคู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อม ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย 4 SMART จำนวน 2 รุ่น ๆละ 40 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำผู้สูงอายุ ตามคู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อม ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย 4 SMART จำนวน 2 รุ่น ๆละ 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่แกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน  แบ่งจำนวน 2 รุ่น ๆ ละ  40 คน -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 80 คน  จำนวน  1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท  เป็นเงิน  4,000 บาท -ค่าอารหว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 80 คน  จำนวน  2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน  4,000 บาท -ค่าจัดทำเอกสารคู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 80 เล่ม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 120 ซม.x 240 ซม.  เป็นเงิน 750 บาท -ภาพโฟมบอร์ด สื่อการสอนสมองเสื่อม ขนาด A4 จำนวน 6 แผ่น ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 900 บาท -แผ่นไวนิลตาราง 9 ช่องขนาด 1 เมตร x 1 เมตร แผ่นละ 200 บาท  จำนวน 4 แผ่น เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงิน  12,850 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดแกนนำผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจต่อการคัดกรองสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12850.00

กิจกรรมที่ 5 จัดตั้งเครือข่ายติดตามเยี่ยมบ้านฟื้นฟุสมรรถภาพที่บ้านในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงร่วมกับทีมสหวิชาชีพ

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งเครือข่ายติดตามเยี่ยมบ้านฟื้นฟุสมรรถภาพที่บ้านในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เครือข่ายลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านให้กับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจากการเข้าร่วมโครงการ ให้มีสุขภาพดีขึ้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดทีมเครือข่ายติตามเยี่ยมบ้านเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับกลุ่มผู้อายุที่มีความเสี่ยงร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อกลุ่มเสี่ยงให้มีสุขภาพดี ไม้ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 ตุลาคม 2564 ถึง 29 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดโครงการฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพ ค้นหาภาวะเสี่ยงและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

2. ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และป้องกันภาวะสมองเสื่อม ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึกเศร้า กินข้าวอร่อย


>