กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจาะโบ ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจาะโบ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจาะโบ

นางสาวรุสมีนี ลาแม็ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจาะโบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

20.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.00

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจาะโบ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจุบัน รพ.สต.บ้านเจาะโบ มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 56 ราย และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 93 รายและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกาย (3อ2ส) ทางรพ.สต.บ้านเจาะโบ จากการคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ จำนวน 792 ราย พบผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งสิ้น 164 ราย คิดเป็น ร้อยละ 20.7 จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพครั้งนี้ขึ้น โดยเน้นที่กลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก่อน โดยการจัดโครงการครั้งนี้เน้นกิจกรรมที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ยังเป็นแกนนำในการรณรงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

20.00 80.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

22.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 164

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องสาเหตุการเกิดโรคเบาหวน ความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง (3อ2ส) โดยแบ่งจัดกิจกรรมเป็น 3 รุ่น ดังนี้ - รุ่นที่ 1 จำนวน 64 คน - รุ่นที่ 2 จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องสาเหตุการเกิดโรคเบาหวน ความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง (3อ2ส) โดยแบ่งจัดกิจกรรมเป็น 3 รุ่น ดังนี้ - รุ่นที่ 1 จำนวน 64 คน - รุ่นที่ 2 จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 164 คน เป็นเงิน 8200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 164 คน เป็นเงิน 8200 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คนๆ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม ค่าสมุดประจำตัวของกลุ่มเป้าหมาย คนละ 1 เล่ม
    จำนวน 164 เล่มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 4,920 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ร้อยละ 50 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มปกติ หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปแล้ว 3 เดือน 3.ลดอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25020.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,020.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงเปลี่ยนไปเป็นกลุ่มปกติ


>