กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารเคมีกลุ่มเปราะบาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ขี้พร้าไฟ

1. นายกมล เนตินานนท์
2. นางเพ็ญศรีไชยเพชร
3. นายมิตร รักจุ้ย
4. นางสมศรี ดำช่วย
5. นางอนงค์ชูปู

ตำบลพนมวังก์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทุกชุมชนต่างมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตสืบทอดโดยคน รุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่างๆ และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหาร การดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค ซึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกัน โรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานพืชผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพรเป็นต้น
ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องของการบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางอาหารของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยัง ช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ชื่อองค์กรคณะกรรมการกลุ่มผลิตภัณฑ์ขี้พร้าไฟหมู่ที่ 7บ้านไสยวน ตำบลพนมวังก์อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง
ตำบลพนมวังก์อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงตามแผนงานกลุ่มเด็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการที่มีความเสี่ยง เบาหวาน ความดัน ปวดเหมื่อย น รวมถึงการพึ่งพาภูมิปัญญาของวิถีชุมชนที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกผักพื้นบ้านที่ส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ตำบลละ 1 แห่ง

มีศูนย์เรียนรู้ด้านการ ส่งเสริมสุขภาพทางเลือกตำบลละ 1 แห่ง

0.00 1.00
2 ส่งเสริมการใช้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ลดการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ก่อให้เกิดโรค ต่าง ๆ ป้องกันโรค รักษาโรค โดยภูมิรู้จากชุมชน ลดการใช้สารเคมีทุกประเภทให้ได้ เกิดเป็นทุนของงบประมาณแผ่นดิน ไปพัฒนาด้านอื่นได้มากขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพทางเลือก ลดการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ป้องกันโรค รักษาโรค โดยภูมิรู้จากชุมชน ลดการใช้สารเคมีทุกประเภทให้ได้ เกิดเป็นทุนของงบประมาณแผ่นดิน ไปพัฒนาด้านอื่นได้มากขึ้น

0.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้ ในเรื่องสารตกค้าง สารปนเปื้อนในผัก ในอาหาร และการผสมปุ๋ยจาก มูลสัตว์เว้นจากการใช้เคมี

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้ ในเรื่องสารตกค้าง สารปนเปื้อนในผัก ในอาหาร และการผสมปุ๋ยจาก มูลสัตว์เว้นจากการใช้เคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (30 คน * 25 บาท) เป็นเงิน750 บาท
  • ค่าวิทยากร (3 ชม. * 600 บาท) เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 * 2.4 เมตร เป็นเงิน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ในเรื่องสารตกค้าง สารปนเปื้อนในผัก ในอาหาร และการผสมปุ๋ยจาก  มูลสัตว์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2950.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมีโดยการทำแปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมีโดยการทำแปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพันธ์ุผักต่างๆ คะน้า,กว้างตุ้ง,ผักชี,ผักขม อย่างละ 40 ซอง(160 ซอง* 25 บาท) เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ขี้วัว (80 กระสอบ * 40 บาท ) เป็นเงิน 3,200 บาท
  • ค่ารำละเอียด(40 กก. * 10 บาท) เป็นเงิน400 บาท
  • ค่ากากน้ำตาล(100 กก.* 10 บาท) เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าขุยมะพร้าว (80 กระสอบ * 40 บาท) เป็นเงิน3,200 บาท
  • ค่าแกลบดำ (40 กระสอบ* 50 บาท) เป็นเงิน2,000 บาท
  • ค่ามูลแพะ (60 กระสอบ * 40 บาท) เป็นเงิน2,400 บาท
  • ค่าปุ๋ยยูเรีย (1 กระสอบ*900 บาท) เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีผักปลอดสารพิษรับประทาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีศูนย์เรียนรู้ด้านการส่งเสริมการปลูกผักพื้นบ้านไร้สารเคมี ตำบลละ 1 แห่ง
2.เป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยศาสตร์การใช้ธรรมชาติ


>