กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขอเสนอโครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ ประจำปีงบประมาณ2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปากช่อง

สำนักงานเทศบาลเมืองปากช่อง

สาธารณสุข

สำนักงานเทศบาลเมืองปากช่อง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือของผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร

 

0.00
2 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความมั่นใจการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

 

0.00
3 เพื่อตรวจสอบปรับปรุงพัฒนาสถานประกอบการอาหารให้ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามมาตรฐาน

 

0.00
4 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร

 

0.00
5 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขอเสนอโครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ ประจำปีงบประมาณ2564

ชื่อกิจกรรม
ขอเสนอโครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ ประจำปีงบประมาณ2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มนุษย์จำเป็นที่จะต้องมีการบริโภคอาหารเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขดังนั้นอาหารที่บริโภคจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคเนื่องจากมีสิ่งที่ทำให้เกิดโรคหลายชนิดเข้าสู่ร่างกายได้ทางปากพร้อมน้ำและอาหารโดยเฉพาะเชื้อโรคต่างๆไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียไวรัสพยาธิตลอดจนพิษของเชื้อโรคสารเคมีซึ่งเมื่อปนเปื้อนลงสู่อาหารแล้วจะทำให้ผู้บริโภคเกิดการเจ็บป่วยได้ผู้ซึ่งปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับอาหารหรือผู้สัมผัสอาหารจึงมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยการควบคุมความปลอดภัยในทุกขั้นตอนที่ผลิตอาหารและเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่ผลิตปรุงประกอบจะไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเกิดอันตรายหรือปัญหาสุขภาพหรือปัญหาด้านอื่นต่อผู้บริโภคการควบคุมความปลอดภัยของอาหารเป็นการป้องกันอาหารจากสิ่งต่างๆที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคเพราะการเตรียมปรุงอาหารนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจในอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วจะต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นจะต้องปราศจากอันตรายที่อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยการบาดเจ็บหรือปัญหาอื่น ๆ ได้ข้อมูลสถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษจากสำนักระบาดวิทยาและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมาในปี 2561 พบว่าอัตราป่วยของโรคอาหารเป็นพิษของประเทศไทยมากกว่าหนึ่งแสนรายและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบอัตราป่วยสูงสุดคือ 241.63 ต่อแสนประชากรในส่วนของจังหวัดนครราชสีมามีอัตราป่วย 176.38 ต่อประชากรแสนคนและอำเภอปากช่องมีอัตราป่วย 212.68 ต่อประชากรแสนคนไม่พบผู้เสียชีวิตและข้อมูลสถานการณ์การปนเปื้อนสารเคมีในอาหารของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขยังพบว่าอาหารมีการปนเปื้อนสารเคมี ได้แก่ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสารกันราบอแรกซ์ฟอร์มาลีนสารเร่งเนื้อแดงสารฟอกขาวและสารโพลาร์เป็นต้นโดยสารปนเปื้อนต่างๆใส่ลงไปในอาหารเพื่อให้สะดวกในการจัดจำหน่ายและบริโภคซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมจนก่อให้เกิดความเจ็บป่วยแก่ประชาชนอาจทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติดังนั้นการจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาและการเฝ้าระวังควบคุมคุณภาพอาหารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการรับมือสถานการณ์โรคที่เกิดจากอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีในฐานะที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองปากช่องจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุงประกอบอาหารได้ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขรวมถึงเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารและเป็นการพัฒนาตลอดจนสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจหลักการสุขาภิบาลอาหารอย่างถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2 สถานประกอบการด้านอาหารตลาดและแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลเมืองปากช่องได้รับการพัฒนาให้ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามมาตรฐาน
3 คุณภาพของวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงและอาหารพร้อมบริโภคที่วางจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองปากช่องได้รับการตรวจเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีอันตรายสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน
4 ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
292880.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 292,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจหลักการสุขาภิบาลอาหารอย่างถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2 สถานประกอบการด้านอาหารตลาดและแผงลอยจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลเมืองปากช่องได้รับการพัฒนาให้ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามมาตรฐาน
3 คุณภาพของวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงและอาหารพร้อมบริโภคที่วางจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองปากช่องได้รับการตรวจเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารเคมีอันตรายสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน
4 ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย


>