กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มอาชีพ โรงพยาบาลกาบัง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

ลานเอนกประสงค์โรงพยาบาลกาบัง หมู่ที่ 5ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของกลุ่มอาชีพในพื้นที่มีความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพมีแนวทางการดูแลตนเองได้ถูกต้อง

 

80.00

ปัจจุบันความปลอดภัยทางอาชีวอนามัย เป็นมาตรการดูแลความปลอดภัยสากลบนหลักพื้นฐานของความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของทั้งกายภาพ และชีวภาพ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน จากการเก็บข้อมูลพบว่า กลุ่มอาชีพยังขาดความรู้ในการดูแลตนเองในการประกอบอาชีพ หากมีแนวทางการดำเนินงานที่ดีซึ่งส่งผลดีต่อการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ และต่อสวัสดิภาพของประชาชนและชุมชน หลักการทั่วไปเพื่อลดหรือจำกัดโอกาสที่คนและสิ่งแวดล้อมจะได้รับที่มีอันตรายในระดับต่างๆ กัน และโรงพยาบาลกาบังได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของสถานปฏิบัติงานและชุมชนโดยรอบ จึงได้วางแนวทางพัฒนาระบบความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อทำหน้าที่วางนโยบาย ประกาศ หลักเกณฑ์ มาตรการ และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาความรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพ
ดังนั้น โรงพยาบาลกาบังจึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มอาชีพ โรงพยาบาลกาบัง ปี 2564เพื่อให้เกิดความเสี่ยงจากการปฏิบัติอาชีพน้อยที่สุด และปลอดภัยที่สุด และมีแนวทางการรักษาในกรณีที่เกิดความเสี่ยงขึ้นทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสรุปข้อมูลความเสี่ยงและแลกเปลี่ยนของอาชีพในหมู่ที่ 4 5 7

หน่วยงานในพื้นที่มีข้อมูลจำนวนผู้ประกอบอาชีพในหมู่  4 5 7

70.00 80.00
2 2.กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพในพื้นที่ 4 5 7 ได้รับการอบรมฟื้นฟูด้านอาชีวอนามัย

กลุ่มประกอบอาชีพในหมู่ 4  5 7  ได้รับการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมหน่วยบริการ

70.00 80.00
3 3.เพื่อสนับสนุนให้เครือข่ายกลุ่มอาชีพได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีการเฝ้าระวังลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

กลุ่มประกอบอาชีพในหมู่ 4 5 7 ได้รับการสนับสนุนให้มีการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการทำงานของทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่ม

80.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค่าประชุมวางแผนข้อมูลความเสี่ยงสุขภาพจากการประกอบอาชีพของแกนนำอาชีวอนามัยจำนวน1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ค่าประชุมวางแผนข้อมูลความเสี่ยงสุขภาพจากการประกอบอาชีพของแกนนำอาชีวอนามัยจำนวน1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน จำนวน 10 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ            เป็นเงิน   500 บาท    - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 10 คน ๆละ50 บาท จำนวน 1 มื้อ                                เป็นเงิน   500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อสรุปข้อมูลความเสี่ยงและแลกเปลี่ยนของอาชีพเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและป้องกันโรคจากการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติได้และมีเครือข่ายกลุ่มอาชีพในชุมชน ผลลัพธ์ : หน่วยงานในพื้นที่มีข้อมูลจำนวนผู้ประกอบอาชีพได้รับการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมหน่วยบริการและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการทำงานของทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมฟื้นฟูความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคจากการทำงานและจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกและเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคจากการทำงานและจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกและเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในกลุ่มแรงงานนอกระบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าประชุมอบรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างเสริมสุขภาพจากการประกอบอาชีพ จำนวน 1 ครั้ง    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน จำนวน 60 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ            เป็นเงิน 3,000 บาท    - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 60 คน ๆละ50 บาท จำนวน 1 มื้อ                                  เป็นเงิน 3,000 บาท    - ค่าวิทยากรจำนวน 6 ช.ม.ๆละ 300 บาท                                                          เป็นเงิน 1,800 บาท     - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน  1 ใบขนาด 1.5 เมตรx 3 เมตร                  เป็นเงิน 1,350  บาท ค่าประชุมจัดเวทีแลกเปลี่ยนการสาธิตและสาธิตย้อนกลับเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างเสริมสุขภาพจากการประกอบอาชีพเชิงปฏิบัติการ  จำนวน 2 ครั้ง      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน จำนวน 60 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ          เป็นเงิน 6,000  บาท      - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 60 คนๆละ50 บาท จำนวน 2 มื้อ                                 เป็นเงิน 6,000  บาท      - ค่าวิทยากรจำนวน 6 ชม.ๆละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้ง                                      เป็นเงิน 3,600 บาท
     - ค่าโฟมบอร์ดขนาด 30เซนติเมตรx  50 เซนติเมตร จำนวน 12 แผ่นๆละ300 บาท    เป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าอุปกรณ์ในการสาธิตและสาธิตย้อนกลับเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม                            เป็นเงิน 2,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อสรุปข้อมูลความเสี่ยงและแลกเปลี่ยนของอาชีพเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและป้องกันโรคจากการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติได้และมีเครือข่ายกลุ่มอาชีพในชุมชน ผลลัพธ์ : หน่วยงานในพื้นที่มีข้อมูลจำนวนผู้ประกอบอาชีพได้รับการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมหน่วยบริการและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการทำงานของทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30850.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงานและติดตาม ตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงานการรับบริการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานและติดตาม ตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงานการรับบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนการติดตามพฤติกรรมสุขภาพหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างเสริมสุขภาพจากการประกอบอาชีพ
โดยแกนนำอาชีวอนามัย จำนวน 10 คน จำนวน 2 ครั้ง   ครั้งละ 100 บาท                     เป็นเงิน  2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อสรุปข้อมูลความเสี่ยงและแลกเปลี่ยนของอาชีพเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและป้องกันโรคจากการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติได้และมีเครือข่ายกลุ่มอาชีพในชุมชน ผลลัพธ์ : หน่วยงานในพื้นที่มีข้อมูลจำนวนผู้ประกอบอาชีพได้รับการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมหน่วยบริการและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการทำงานของทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หน่วยงานในพื้นที่มีข้อมูลจำนวนผู้ประกอบอาชีพในหมู่4 5 7
2.กลุ่มประกอบอาชีพในหมู่ 4 5 7 ได้รับการเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมหน่วยบริการ
3.กลุ่มประกอบอาชีพในหมู่ 4 5 7 ได้รับการสนับสนุนให้มีการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการทำงานของทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มอาชีพ


>