กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19ระดับพื้นที่ (LQ)อบต.ละงู ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลละงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด -19ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด 19 จำนวนมากกว่าวันละ 1000 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์ แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด
ทางจังหวัดได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine :LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านขึ้น
สถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกใน 38 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2564พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 133,681,724 ราย เสียชีวิต 2,900,921 ราย ส่วน
ประเทศจีนพบผู้ป่วย 90,365 ราย เสียชีวิต 4,636 รายสำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 18,148ราย กลับบ้านแล้ว 29,848 ราย รวมสะสม 48,113 ราย เสียชีวิต117 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 22เมษายน 2564) ซึ่งในส่วนของจังหวัดสตูล พบผู้ติดเชื้อ ปัจจุบัน จำนวน 4 ราย (รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสตูล) ดังนั้นเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบริเวณอื่น ที่ไม่สามารถควบคุมได้ องค์การบริหารส่วนตำบลละงูจึงจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19ระดับพื้นที่ LQ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ

ร้อยละของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ   รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน -จัดสถานที่สำหรับกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงเชื้อโควิด 19
-จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) -สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ งบประมาณ 1.ค่าวัสดุสำหรับปรับปรุงสถานที่กักตัวให้เหมาะสม ราคา  20000 บาท
2.ค่าป้ายไวนิลขนาด  1.50 X 2.4 จำนวน 4 ป้ายๆละ 540 บาท เป็นเงิน 2160 บาท (ป้ายประจำศูนย์กักกัน 2 ป้าย,ป้ายมาตราการการปฏิบัติตัวขณะอยู่ LQ จำนวน 2 ป้าย ) 3.ค่าชุด ppe จำนวน 50 ชุดๆละ 275 บาทเป็นเงิน 13750 บาท 4.หน้ากากากอนามัยจำนวน 5000 ชิ้นๆละ 2.5 บาทเป็นเงิน 12500 บาท 5.เจลล้างมือแอลกอฮอล์แบบหัวปั๊ม ขนาด 500 มิลลิลิตร จำนวน 30 ขวดๆละ 390 บาท เป็นเงิน 11700 บาท 6.ถุงมือยางตรวจโรคแบบใช้แล้วทิ้ง ผิวไม่เรียบ มีแป้ง ไซด์ เอส 5 กล่อง ๆละ 255 บาทเป็นเงิน 1275 บาท 7.ถุงมือยางตรวจโรคแบบใช้แล้วทิ้ง ผิวไม่เรียบ มีแป้ง ไซด์ เอ็ม 5 กล่องๆละ 255 บาท เป็นเงิน 1275 บาท 8.แอลกอฮอล์ 70 % ขนาด 1 ลิตร จำนวน 50 ขวดๆละ 200 บาท เป็นเงินน 10000 บาท 9.ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ขนาด 1 ลิตร จำนวน 50 ขวดๆละ 320 บาท เป็นเงิน 16000 บาท 10.เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย แบบยิงหน้าผาก จำนวน 5 เครื่องๆละ 800 บาทเป็นเงิน 4000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
2.ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
92660.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับประชาชนในพื่นที่ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้กับประชาชนในพื่นที่ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019
-ติดตั้งตามหมู่บ้าน สถานที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลละงู งบประมาน
1.สื่อประชาสัมพันธ์มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ขนาด 1.20 X 2.40 เมตร จำนวน 20 แผ่น เป็นเงิน 6,912 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้และป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6912.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,572.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
2.ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %
3.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคได้


>