กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ค่าตอบแทน ค่าประชุมอบรม/สัมนนา การรับรองและพิธีการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลวังยาง ประจำปี 2564

นายแสนผิวลออ

เทศบาลตำบลวังยาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

17.00
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

9.00
3 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)

 

4.00

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายมุ่งเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มืความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยมีการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่ และได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อมและความเหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
คณะกรรมการบริหารกองทุนฯและอนุกรรมการกองทุนฯ รวมทั้งบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่ายทางด้านสุขภาพ จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยาง ให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน การจัดการเรียนรู้จะทำให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรต่างๆ อย่างน้อย 3 ประการ คือ บรรลุเป้าหมายของงาน เป้าหมายของการพัฒนาคน และเป้าหมายของระบบการพัฒนาองค์กร อดีตที่ผ่านมาการดำเนินงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขจะเป็นหน่วยงานหลักที่ดำเนินการแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพ องค์กรภาคประชาชน ชมรม กลุ่มองค์กรและชุมชนมีการดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยางน้อยมาก ซึ่งทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ และแก้ไขปัญหาสุขภาพไม่ตรงกับความต้องการของชุมชน จากปัญหาดังกล่าว เลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยาง จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง ประจำปี 2564 เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยาง มีระบบการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล มีคุณภาพและมีความยั่งยืน พร้อมทั้งให้คณะกรรมการกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารและดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ทั้งในด้านการบริหารงานกองทุนฯ กฎเกณฑ์ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำแผนสุขภาพ การพิจารณากลั่นกรองและติดตามประเมินผลโครงการรวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยางต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

9.00 12.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 17

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการการ และที่ปรึกษากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยาง กิจกรรมที่ 2 จัดทำแผนสุขภาพชุมชน กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยาง ประจำปี ๒๔๖๔

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการการ และที่ปรึกษากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยาง กิจกรรมที่ 2 จัดทำแผนสุขภาพชุมชน กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยาง ประจำปี ๒๔๖๔
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการหรือที่ปรึกษา รวม 20 คน จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 400 บาท เป็นเงิน32,000 บาท
  2. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการกองทุนฯ รวม 9 คน จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 300 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
  3. ค่าตอบแทนการประชุมอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงรวม 10 คน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 300 บาท เป็นเงิน6,000 บาท
  4. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับการประชุมคณะกรรมการฯ ที่ปรึกษา อนุกรรมการกองทุน สปสช. จำนวน 29 คน และผู้เกี่ยวข้องประมาณ 5 คนๆ รวมทั้งสิ้นจำนวน 34 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน4 ครั้งๆ ละ 850 บาทเป็นเงิน3,400 บาท
  5. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับการประชุมอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 10 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท 6. กิจกรรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยาง เป็นเงิน 14,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยางได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยางมีการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยางได้รับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลวังยางมีการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ


>