กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สำนักงาน ป.ป.ส กระทรวงยุติธรรม ร่วมมือกับ กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการสร้างคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กปฐมวัย โดยใช้ 'นิทาน' เป็นสื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองในการบริหารจัดการชีวิต สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือ สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การดำเนินงานด้านการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด ในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาโดยเริ่มต้นจากกลุ่มเด็กปฐมวัย หรือ เด็กอายุระหว่าง 3 ถึง 6 ปี ด้วยการเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการชีวิต หรือ เอ็กเซ็กคูทีฟ ฟังก์ชัน หรือ อีเอฟ (Executive Functions : EFs) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในป้องกันปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2562 ของรัฐบาล สำนักงาน ป.ป.ส. ในกลุ่มเด็กปฐมวัย หรือ เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 วิธีการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองในการบริหารจัดการชีวิต หรือ "อีเอฟ"ในวัยเด็กเล็ก จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดที่เข้มแข็ง เนื่องจากสมองจะเปิดรับการเรียนรู้ในการจัดการตนเอง และจดจำไปตลอดชีวิตซึ่งเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 6 ปี มีพัฒนาการที่สามารถเรียนรู้วิธีการนี้ได้ดีที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกในทิศทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ ตระหนักถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้กับคนไทยตั้งแต่ระดับปฐมวัย (แรกเกิด – 6 ปี) เพื่อสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ให้เข้มแข็งและห่างไกลจากยาเสพติด จากสถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดตั้งแต่ปี 2553 – 2558 พบว่า ผู้เสพหน้าใหม่เข้ารับการบำบัดรักษา มีสัดส่วนของเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปี เพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้ สำนักงาน ป.ป.ส. เห็นถึงความสำคัญจึงต้องเพิ่มน้ำหนักการทำงานด้านการป้องกันเชิงรุก โดยการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเด็กปฐมวัย องค์ความรู้สำคัญที่จะนำมาใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันในกลุ่มเด็กปฐมวัย คือ องค์ความรู้ด้านประสาทวิทยา ในเรื่อง อีเอฟ (EFs หรือ Executive Functions) ซึ่งหมายถึง ความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต เป็นทักษะในการคิดและรู้สึก เช่น ยับยั้งชั่งใจ คิดก่อนทำ รู้จักควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมให้เหมาะสม ความมุ่งมั่นพากเพียร และรู้จักปรับตัวกับสถานการณ์ ล้มแล้วลุกได้ โดยที่ EFs มีช่วงระยะที่จะพัฒนาได้อย่างดี คือ ในช่วงอายุ 2 – 6 ปี ดังนั้น หากต้องการพลเมืองที่มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งต่อยาเสพติดและปัญหาอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างถูกวิธีในช่วงอายุนี้” ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกสำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลไพรวัน ในการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ตำบลไพรวัน ได้ดำเนินการจัดทำ โครงการเล่านิทานสำหรับผู้ปกครองในการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดใน “เด็กปฐมวัย” เพื่อให้ผู้ปกครองได้สอดแทรกการป้องกัน ยาเสพติดในนิทานที่เล่าให้แก่เด็กได้รับฟัง โดยเด็กได้ซึมซับเกิดการเรียนรู้ว่ายาเสพติดเป็นอันตรายต่อชีวิต เมื่อเขาเติบโตขึ้น จะได้ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดตลอดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับผู้ปกครองในการป้องกันยาเสพติด

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย ได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

 

0.00
3 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเด็ก ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขด้วยวิถีพุทธ

 

0.00
4 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

 

0.00
5 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในครอบครัวและสังคม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง โดยวิทยากร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง โดยวิทยากร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 2-5 ปี 1.2 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.ขั้นดำเนินการ
2.1 ให้ความรู้แนวทางในการเล่านิทานการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดอย่างถูกต้องสำหรับผู้ปกครอง
2.2 ฝึกผู้ปกครองปฏิบัติจริง
2.3 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

งบประมาณ กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง โดยวิทยากร -ค่าป้ายไวนิล (ขนาด1.2 x2.4 เมตร) เป็นเงินจำนวน400 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1คนเป็นเงินจำนวน600 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 คน x 30 บาท)เป็นเงินจำนวน1,500 บาท -ค่าหนังสือนิทานชุด EF หนังสือพัฒนาทักษะสมอง 60 เล่มเป็นเงินจำนวน2,850 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์(กระดาษสี ดินสอ กระดาษปกขาว ฟิวเจอร์บอร์ด เทปกาวผ้า ) เป็นเงินจำนวน650บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองมีจิตสำนึกในการป้องกันยาเสพติด
2. เด็กปฐมวัย ได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
3. เด็กมีคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเด็ก ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุขด้วยวิถีพุทธ
4.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในครอบครัวและสังคม
5.ครอบครัวมีภูมิคุ้มกันยาเสพติดโดยใช้นิทานเป็นสื่อในการสร้างภูมิคุ้มกัน


>