กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 2 ต.เจ๊ะบิลัง ประจำปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 2 ต.เจ๊ะบิลัง ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง

1.นางมรีหยำ หลังจิ
2.นางกฤตยา หลงหัน
3.นางสาวโสพินทร์ แก้วมณี
4.นายชัยวัฒน์ ทองฤทธิ์
5.นายยุทธนะ ละอองธรรม

ม. 2 ต.เจ๊ะบิลัง อ.เมือง จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

 

100.00
2 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

 

100.00
3 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง สามารถลดระดับความดันโลหิต และลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

 

100.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

100.00 1.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

100.00 1.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง สามารถลดระดับความดันโลหิต และลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
  • ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถลดความดันโลหิตได้มากกว่า 4 mmHg.
  • ร้อยละ 60 ชองกลุ่มเสี่ยงโรคป่วยเบาหวาน สามารถลดค่าน้ำตาลในเลือดได้
100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง และประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และทีมสหวิชาชีพ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับบริการที่คลินิก เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
    1. กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
    2. กิจกรรมที่ 3 กลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง วัดความดันโลหิตที่บ้าน รายวัน เช้า-เย็น 7 วันติดต่อกัน
    3. กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานหรือบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง - ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถลดความดันโลหิตได้มากกว่า 4 mmHg.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง และประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และทีมสหวิชาชีพ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับบริการที่คลินิก เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  2. กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคเบาหวาน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. กิจกรรมที่ 3 กลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน ได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาล ทุก 2 เดือน
  4. กิจกรรมที่ 4สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานหรือบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง1
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
  2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
  3. ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
  4. ร้อยละ 60 ชองกลุ่มเสี่ยงโรคป่วยเบาหวาน สามารถลดค่าน้ำตาลในเลือดได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ในปี 2563 ที่มีการติดเชื้อในประเทศ จำนวน 35,95 ราย และเสียชีวิต จำนวน 59 ราย (ที่มา HDC ณ.วันที่ 3 พ.ย. 63) ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ เป็นต้นประกอบช่วงระบาดของโรค COVID-19 ทางรัฐบาลใช้มาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ประชาชนมีพฤติกรรมอยู่ที่บ้าน ทำให้มีการออกกำลังกายน้อยลง รับประทานอาหารมากขึ้น จึงเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม และที่สำคัญหากปล่อยให้กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ เป็นโรคดังกล่าวข้างต้น เมื่อได้รับเชื้อ COVID-19 จะมีโอกาสเสียชีวิตสูง
สถานการณ์ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ปีงบประมาณ 2562 และ 2563 พบผู้ป่วย จำนวน 63 คน และ 120 คน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 23 คน และ 49 คน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น จากผลการดำเนินงานคัดกรองค้นหาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และการคัดกรองเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ 2563(ที่มา HDC สตูล 30 กันยายน63 ) พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง (ค่าควานดันโลหิต sbp >= 130 ถึง < 140 mmHg หรือ dbp มีค่า >= 85 ถึง < 90 mmHg) จำนวน 47 คน และกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง (ค่าควานดันโลหิต sbp มีค่า >= 140 ถึง < 180 mmHg หรือ dbp มีค่า >= 90 ถึง < 110 mmHg) จำนวน 13 คน และพบกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน จำนวน 60 คน รวมทั้งสิ้น 120 คนซึ่งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยหากได้รับการให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานต่อไป
จากสภาพปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง ได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรค


>