กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์เด็ก 0-5 ปี ตำบลประกอบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ

นางสาวนูรีดา แส้เด็น

ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กที่มารับวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุมกันโรค ต่อเดือน

 

18.18

เมื่อกล่าวถึง “วัคซีน” หลายคนจะนึกถึงการให้วัคซีนในเด็กเป็นอันดับแรก ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคส่วนใหญ่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยเรียน เนื่องจากวัยเด็กเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังพัฒนา รวมถึงอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันด้วย จึงมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย และความรุนแรงของโรคอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและชีวิต เด็กจึงควรได้รับวัคซีนโรคต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงปลอดจากโรคที่อาจทำให้ป่วยและเป็นอันตรายได้การฉีดวัคซีนในเด็กทำเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคสูงขึ้นเพียงพอที่จะป้องกันโรคได้ในระยะเวลานาน ป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง ขัดขวางการแพร่ระบาด และลดผลกระทบร้ายแรงของโรคในเด็ก โดยเฉพาะ โรคหัด คอตีบ ไอกรน และโปลิโอ ที่ล้วนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของเด็ก ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกเคยประเมินว่า การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนสามารถลดอัตราการตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก จาก 13 ล้านคนใน พ.ศ.2533 เหลือ 9 ล้านคนใน พ.ศ.2551 ดังนั้นการให้วัคซีนในวัยเด็กเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ที่ผ่านมานั้นสถานการณ์ของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในประเทศไทยโดยเฉพาะโรคที่สำคัญ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี วัณโรค และโรคคอตีบนั้น จากการรณรงค์โรคไวรัสตับอักเสบบี 2556 พบผู้มารับบริการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีโดยกรมควบคุมโรคร่วมกับโรงพยาบาลให้ผลบวกจากการตรวจคัดกรองฯ เท่ากับ 1,273ราย ตั้งแต่ พ.ศ.2554 - 2556 พบผู้ป่วยโดยประมาณ 6,000 รายต่อปี ในขณะที่พบผู้ป่วยวัณโรคใหม่เสมหะพบเชื้อ โดยเฉลี่ยประมาณ 30,000 ราย นอกจากนี้ยังพบว่า สถานการณ์โรคคอตีบในปี 2554 - 2556 ยังพบผู้ป่วย 28, 63 และ 29 รายต่อปี ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคเหล่านี้เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ แม้ว่าทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีการสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวในเด็กแล้วก็ตาม
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0 - 5 ปี ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ พบว่า ในปี ๒๕63 มีเด็ก ๐ – ๕ ปี มารับบริการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค เฉลี่ย 66 คน ต่อเดือน และมีเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัด เฉลี่ย 12 คน ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 18.18ซึ่งการที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ตรงตามกำหนด เช่น ได้รับวัคซีนก่อนหรือหลังเกณฑ์กำหนด, หรือ ระยะห่างในการรับวัคซีนแต่ละชนิดไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนบางชนิดลดลง หรือ ทำให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ทั้งนี้ปัญหาที่พบส่วนหนึ่งเกิดจาก ผู้ปกครองเด็กที่ไม่พาเด็กมารับวัคซีนตามนัด เนื่องจากเหตุผลต่างๆ เช่น ไม่มาตามวันนัด, ติดธุระ/ภารกิจสำคัญในวันที่มีการฉีดวัคซีน, วัคซีนไม่มีฮาลาล หรือพาเด็กย้ายออกนอกพื้นที่อื่น เป็นต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับกลุ่มเด็ก ๐ - ๕ ปี จึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์เด็ก 0 – 5 ปี ตำบลประกอบ ปีงบประมาณ ๒๕64 ขึ้น เพื่อเร่งรัดและรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการติดตามให้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ

ร้อยละของเด็กในตำบลประกอบได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีน

ร้อยละของผู้ปกครองมีความรู้และความตระหนักของวัคซีน

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 177
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ส่งเสริมความรู้ และติดตามกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ชื่อกิจกรรม
1. ส่งเสริมความรู้ และติดตามกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดอบรม ให้ความรู้เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของการรับวัคซีนแก่ผู้ปกครองเด็กที่รับวัคซีนไม่ครบ
    • ติดตามกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ให้มารับวัคซีนตามกำหนด
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

177 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27995.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,995.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องวัคซีน
2 กลุ่มเป้าหมาย (๐–๕ ปี) ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ร้อยละ ๙๐


>