กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลประกอบ ประจำปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลประกอบ ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ

นางสาวคอรีเย๊าะ เลาะปนสา

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลประกอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง สามารถปรับเปลี่ยนพฆติกรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ

 

43.30

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ภาวะเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ขึ้นไปในตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2563 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2563 ) จำนวน 2,270 ราย พบว่า มีผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน 983 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.3 และเป็นกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.4 และคัดกรองความดันโลหิต จำนวน 1,939 ราย พบว่า เสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง 359 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.5 และเป็นกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 107 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.5 (ข้อมูลจาก HDC สสจ.สงขลา,2563)และซึ่งจากการคัดกรองฯ เห็นได้ว่า แนวโน้มการเกิดผู้ป่วยรายใหม่เบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และนอกจากนี้ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาแล้ว ยังมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อย 69 ของผู้ป่วยทั้งหมด และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไม่สามารถระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 187 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5 ของผู้ป่วยทั้งหมด(ข้อมูลจาก HDC สสจ.สงขลา,2563) ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอเลือดสมองได้สูง จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและโรคหลอเลือดสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การสูญเสีย ทั้งตัวบุคคล ครอบครัวและชุมชน หากประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสม
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชน และกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองได้รับความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของตนเองในกลุ่มดังกล่าวและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรัง บรรเทาความรุนแรงของโรค ลดปัญหาความพิการหรือทุพพลภาพจากการเกิดโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประกอบ จึงตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
  • ร้อยละของผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย  การบริโภคอาหาร  และสุขภาพจิตที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น หลังเสร็จสิ้นโครงการ ( มากกว่าหรือเท่ากับ 9 คะแนน จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน)
70.00 70.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถลดระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างน้อย ร้อยละ 60
  • ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น และมีระดับค่าความดันโลหิต และระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ ปกติ หลังการอบรม  3  เดือน
60.00 60.00
3 เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชน และชุมชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงการป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของโรค

เกิดชุมชนต้นแบบที่มีมาตรการทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม อย่างน้อย 1 หมู่บ้าน

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมประชาสัมพันธ์/ชี้แจงโครงการและอบรมแนวทางการดำเนินโครงการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชนประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ละ 3 คน รวม 21 คน และ อสม. ม.1-7 รวม 103 คน รวมทั้งหมด 130 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

130

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อบรมเสริมทักษะ พัฒนาการเรียนรู้ด้านการดูแลสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ทั้งด้าน อาหาร, ออกกำลังกาย, อารมณ์, การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา (3อ.2ส.)
-กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 120 คน
(แบ่งจัดกิจกรรม เป็น 2 วัน ๆ ละ 60 คน) -กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 160 คน
(แบ่งจัดกิจกรรม เป็น 2 วัน ๆ ละ 80 คน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 3 3. รณรงค์สร้างกระแสสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
3. รณรงค์สร้างกระแสสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสการดูแลสุขภาพ โดยการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในรูปแบบต่างๆเช่น ไวนิล เอกสาร แผ่นพับ เสียงตามสาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21900.00

กิจกรรมที่ 4 4. ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
4. ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กิจกรรมการติดตามและประเมินผล การปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย และติดตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพ โดยมีการประเมินภาวะด้านสุขภาพหลังการอบรมใน 1 เดือน และ 3 เดือน โดยมีการตรวจวัดความดัน เจาะประเมินน้ำตาลในเลือด ตรวจประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD risk)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 70
2 กลุ่มสงสัยป่วยและกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดได้ในระดับปกติ และมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3 อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด ลดลง


>