กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข

1.นางวัทนา ธุระพระ
2.นางพรฉวีก้อนกลมเปรี้ยว
3.นางหนูแดงแก้วมหาชัย
4.น.ส.หนูพิศชิยางคพบุตร
5.นางเถาวัลย์ซุยเสนา

ตลาดสดในพื้นที่ตำบลนาพู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) ครบ 3 มื้อ

 

76.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

10.00

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศ ได้มีการพัฒนาจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมดังนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากที่จะให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและผู้จำหน่ายจะได้จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพด้วย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่หันไปพึ่งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลและมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตามแต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร “โฟม” ที่นิยมใช้กัน เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่ายก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ เช่น โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานอาหารแปลกปลอม อาหารสุกๆดิบๆ การบริโภคอาหารที่ใส่กล่องโฟมดังนั้น ผู้ประกอบกิจการอาหารและผู้สัมผัสอาหาร นับว่าเป็นบุคคลสำคัญในการจัดหาวัตถุดิบ ปรุง ประกอบอาหารให้บริการอาหารที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจหลักการสุขาภิบาลอาหาร และสุขวิทยาส่วนบุคคลรวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและสามารถให้บริการอาหารที่สะอาดปลอดภัยสู่ผู้บริโภครวมถึงมีการบริหารจัดการที่ดีในสถานที่จำหน่ายอาหาร
ชมรม อสม. ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.นาพู่ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค อาหารปลอดภัย โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นในบริบทพื้นที่ชุมชน ครอบคลุม ตลาดสด ครัวโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนสุขภาพที่ดี และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และธรรมนูญสุขภาพตำบลนาพู่ พ.ศ.2557 (ฉบับที่ 1 ) เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจาการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย ส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

10.00 5.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) ครบ 3 มื้อ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ ครบ3 มื้อ เพิ่มขึ้น

76.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ประกอบกิจการอาหาร ร้านของชำ แม่ค้าในตลาดสด ในเขตตำบลนาพู่

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ประกอบกิจการอาหาร ร้านของชำ แม่ค้าในตลาดสด ในเขตตำบลนาพู่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยาการ                                               เป็นเงิน 2000    บาท ค่าอาหารกลางวัน  50 บาท x 75 คน               เป็นเงิน  3,750   บาท ค่าอาหารว่าง       25 บาท x 75 คน x 2 มื้อ     เป็นเงิน  3,750   บาท ค่าป้ายโครงการ                                         เป็นเงิน  500  บาท                                                        รวมเป็นเงิน  10,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบกิจการอาหาร ร้านของชำ แม่ค้าในตลาดสด ในเขตตำบลนาพู่ มีความู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
รายละเอียดค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
2.ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภค
3.ร้านขายของชำในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ตรวจสอบตามกฎหมาย


>