กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนพ่อแม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านสวน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวน

1.นางสุภาพรณ์เรืองเพชร หัวหน้าศูนย์
2.นางสุวรรณทิพย์ตันนิมิตรกุล
3.นางสาวพรรณี สุขชุม
4.นางสาวศุภลักษณ์ อินทรสมบัติ
5.นางภารดีเหลือเทพ ครู 0801109607

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยหรือเด็กวัยตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 5 ปี เป็นช่วงอายุที่มีอัตราของการพัฒนาการสูง ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดีและถูกต้องตามหลักจิตวิทยาและหลักวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเด็กก็จะพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งงานวิจัยต่าง ๆ และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ได้ระบุว่าช่วงเวลาที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมองคือในช่วง 5 ปี แรกของชีวิตเด็กที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูและพัฒนาอย่างถูกต้องในช่วงเวลานี้เมื่อพ้นวัยนี้แล้วโอกาสทองเช่นนี้จะไม่หวนกลับมาอีก ดังนั้น ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงวัย 0 – 5 ปี ต้องสามารถเลี้ยงดูจัดประสบการณ์พัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้เต็มศักยภาพ
การพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ช่วงปฐมวัยและต่อเนื่องตลอดชีวิตหลักวิชาและการวิจัยได้แสดงว่าปัจจัยแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสม สามารถเปลี่ยนโครงสร้างและประสิทธิภาพการทำงานของสมองมนุษย์ได้เวลาที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมองคือในช่วง 5 ปี แรกของชีวิตการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน และป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว จำเป็นต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปฐมวัยโดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักและชุมชนเป็นฐานที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านสวน ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านสวนได้กำหนดจัดให้มีโครงการโรงเรียนพ่อแม่เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านสวน ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและการพัฒนาเด็กปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง

23.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 84
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/05/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานจำนวน 10 คน (ครู)

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2564 ถึง 18 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูทราบบทบาทหน้าที่ในโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ชี้แจงโครงการแก่ครูและผู้ดูแลเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงโครงการแก่ครูและผู้ดูแลเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชี้แจงโครงการและให้ครูแต่ละห้องสำรวจรายชื่อเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า (ไม่สมวัย)และรวบรวมรายชื่อเพื่อนำเข้าโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2564 ถึง 22 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รายชื่อเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 แจ้งรายชื่อเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าแก่ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
แจ้งรายชื่อเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าแก่ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำหนังสือแจ้งผู้ปกครอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มิถุนายน 2564 ถึง 25 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามพัฒนา ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การให้ความรู้เรื่องด้านสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัย ค่าใช้จ่าย 1.ค่าวิทยากร จำนวน 1 ท่าน (3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท)เป็นเงิน 1,800 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน (สำหรับวิทยากร ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)จำนวน 95 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,750 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับวิทยากร ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่)จำนวน 95 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,375 บาท 4.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2*2.8 เมตร ราคา500 บาท (การประชุมในสถานการณ์โควิด19 ให้เป็นไปตามประกาศจังหวัดพัทลุง)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2564 ถึง 16 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลพัฒนาการเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9425.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงานและประเมินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและประเมินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานจำนวน 10 คน ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท 2.ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานและถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 325 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2564 ถึง 28 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รายละเอียดโครงการและได้รูปเล่มรายงานเสนอ สปสช 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั๋วเฉลี่ยกันได้ การประชุมในสถานการณ์โควิด19 ให้เป็นไปตามประกาศจังหวัดพัทลุง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองเห็นความสำคัญมีความรู้ ความเข้าใจ และนำทักษะกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ศักยภาพของเด็กปฐมวัย
2. ระดับพัฒนาการของสมองและศักยภาพของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถด้านการ เรียนรู้ และการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน
3.เด็กปฐมวัยได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมให้มีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมได้อย่าง ปลอดภัยจากภาวะเสี่ยงต่าง ๆ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยมีความพร้อมที่จะดำรงชีวิต
ในสังคมได้อย่างมีความสุข


>