กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่)-1

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่)-1

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.อุใดเจริญ

ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน ตามประกาศขององค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลกด้วยปัจจุบันพบการระบาดของโรคระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก 3 ได้ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายเขตพื้นที่หลายจังหวัด ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาและมีการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ โดยเฉพาะกรณีเป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ประกอบกับมีการเดินทางของบุคคลจากพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดและกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนติดเชื้อยังไม่ปรากฏอาการของโรคเป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่ออกไปในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อนมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างทั่วประเทศไทยและแพร่ระบาดไปเกือบทุกจังหวัด ด้วยจังหวัดสตูลซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านติดกับประเทศมาเลเซียด่านท่าเรือตำมะลัง อ.เมืองสตูลและด่านวังประจัน อำเภอควนโดน
ในช่วงเดือนเมษายน 2564ได้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID) ระลอกที่ 3ในกรุงเทพมหานคร ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ ได้แพร่เชื้อกระจายไปทั่วโดยไม่รู้ตัว ทำให้มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากและมีการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยในพื้นที่จังหวัดสตูลได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้วจำนวน 4 ราย และองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 67 อนุมาตรา 3 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับพระราชบัญญัติแผนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 อนุมาตรา 19 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้(๑๙)การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญได้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค จัดเตรียมที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก ณ สถานที่กักตัวเพื่อสังเกตอาการ (Local Quarantine) 14 วัน ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ขององค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 เพื่อเสริมมาตรการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ตามโครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 จากการประชุมของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ แต่เนื่องด้วยได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ระลอกใหม่ โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในปัจจุบัน มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งเป็นการติดเชื้อภายในประเทศเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อจากสถานบันเทิง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว พนักงาน นักดนตรีและการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายไปหลายพื้นที่ค่อนข้างเร็ว จากคำสั่งจังหวัดสตูล ที่ ๗๒๖/๒๕๖๔ เรื่องมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙(COVID – ๑๙) จังหวัดสตูล ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๔ลงนามโดยนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลได้ระบุว่าจากการติดตามและสอบสวนโรคของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข พบว่าการที่ผู้ติดเชื้อมิได้แสดงอาการของโรคทำให้เชื้อโรคแพร่ออกไปยังผู้สัมผัสใกล้ชิด และมีข้อมูลว่าเป็นเชื้อโรคสายพันธุ์ที่สามารถระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ปกติ จึงมีความจำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นเพื่อป้องกันและระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคมิให้แพร่ระบาดในพื้นที่จังหวัดสตูล


ทั้งนี้ มาตรการการเฝ้าระวังจึงมีความเข้มงวดมากขึ้น ประกอบกับกลุ่มเสี่ยงสัมผัสผู้ติดเชื้อในพื้นที่ตำบล อุใดเจริญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญซึ่งมีพื้นที่กักตัวเพื่อสังเกตอาการLocal Quarantine และได้ขอรับงบประมาณเพื่อใช้สำหรับผู้กักกันตัวจากกองทุนหลักประกันสุขภาพไปแล้วภายใต้ชื่อโครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ งบประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ บาท ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรม รณรงค์สร้างกระแส และค่าอาหาร ค่าซักผ้า ค่าอื่นๆที่ใช้สำหรับผู้กักกันตัว Local Quarantine(LQ) แต่เนื่องด้วยมาตรการที่เข้มข้นในการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงของประชาชนพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ และการเดินทางกลับของประชาชนที่มาจากพื้นที่เสี่ยงในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้งบประมาณที่จัดเตรียมรองรับสำหรับผู้กักกันตัว Local Quarantine(LQ) มีไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องจัดหางบประมาณมาสนับสนุนเพิ่มเติม ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ จึงขอเสนอโครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2564 (ระลอกใหม่) - 1 เพื่อสนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในสถานที่กลางในตำบลเพื่อกักกันตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด ณ จุดกักกันตัว สวนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านไร่สาธิต หมู่ที่ ๙ ตำบลอุใดเจริญ และให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรการจังหวัด เกิดความต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในสถานที่กลางในตำบลเพื่อกักกันตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด ณ จุดกักกันตัว Local Quarantine(LQ) สวนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านไร่สาธิต หมู่ที่ ๙ ตำบลอุใดเจริญ

พื้นที่กักกันตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด Local Quarantine (LQ) มีความพร้อมในการรองรับตาม มาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารเรื่อง“โควิด-19” และขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารเรื่อง“โควิด-19” และขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมาย
  - พื้นที่หมู่ที่ ๑ – ๙
  - ตลาดนัด ในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญ ๑.๑ ประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เรื่องมาตรการการป้องกันโควิด-๑๙ มาตรการ D – M – H – T – T
Distancing (อยู่ห่างไว้)
Mask wearing (ใส่มาส์กกัน)
Hand washing (หมั่นล้างมือ)
Testing (ตรวจให้ไว)
ThaiChana (ใช้ไทยชนะ และหมอชนะ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในสถานที่กลางในตำบลเพื่อกักกันตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด ณ จุดกักกันตัว Local Quarantine(LQ) สวนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านไร่สาธิต หมู่ที่ ๙ ตำบล อุใดเจริญ

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในสถานที่กลางในตำบลเพื่อกักกันตัวกลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด ณ จุดกักกันตัว Local Quarantine(LQ) สวนเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านไร่สาธิต หมู่ที่ ๙ ตำบล อุใดเจริญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารสำหรับผู้กักกันตัว จำนวน ๔๕ คนๆละ ๕๐ บาท จำนวน ๓ มื้อ/ต่อวัน x ๑๔ วัน   เป็นเงิน ๙๔,๕๐๐ บาท
  • ค่าซักผ้า จำนวน ๔๕ ชุดๆละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๔,๕๐๐ บาท
  • ค่าอื่นๆ อาทิ เชือกฟาง ขวดสเปรย์ ถุงพลาสติก ฯลฯ เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. พื้นที่กักกันตัว กลุ่มเสี่ยงและผู้สัมผัสใกล้ชิด Local Quarantine (LQ) ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯบ้านไร่สาธิตหมู่ที่ ๙ ตำบลอุใดเจริญ มีความพร้อมในการรองรับตาม มาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙


>