กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

หมู่ที่ 1 ชุมชนตลาดควนโดน ชุมชนสะพานโยง ชุมชนควนดินแดง ชุมชนควนโดนใน หมู่ที่ ๕ชุมชนดูสนตะวันตกและชุมชนดูสนตะวันออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

60.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัว และชุมชนครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อ ค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น
จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ปี 2563กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองจำนวน2,673 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 47.50และพบกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน ร้อยละ 14.80ซึ่งกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนเขตเทศบาลตำบลควนโดน แยกประเภท ดังนี้ 1 กลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 120 คน2. กลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน จำนวน 85 คน 3. ได้รับการส่งต่อ จำนวน 15 คน 4. ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ โรคความดันโลหิตสูง 5 คน และ ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ โรคเบาหวาน 3 คน และติดตามแบบเข้มเข้น 15 คน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3 อ 2 สอย่างถูกต้องและเหมาะสม และจัดระบบการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับยุควิถีชีวิตใหม่ (NEWNORMAL) โดยการจัดกลุ่มย่อย แบ่งโซนในชุมชน เพื่อดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังโรคไวรัสโคนา 2019 (โควิด-19)และมุ่งหวังให้กลุ่มเป้าหมายมีสถานะสุขภาพดีขึ้นและไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว สร้างความรัก ความเอื้ออาทรร่วมกัน ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

60.00 80.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 400
กลุ่มผู้สูงอายุ 140
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/11/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดเวทีประชุมแกนนำ อสม.เพื่อจัดทำทะเบียนรายชื่อจัดทำแผนการดำเนินงาน
    2.ฟื้นฟู ทักษะการตรวจ การคัดกรองโรค กลุ่มแกนนำอสม.จำนวน 30 คนจำนวน 3 วัน
  2. ตรวจสอบรายชื่อ แบ่งโซนในความรับผิดชอบ และออกแบบกิจกรรมให้เหมาะกับยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
  3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์์ และบัตรนัดเข้ารับการตรวจสำหรับกลุ่มเป้าหมาย
  4. จัดกิจกรรมการตรวจในชุมชน โดยแบ่งฐานการตรวจ เพื่อลดความแออัด และเน้นมาตราการ DMHTTA
    5.1 ลงทะเบียน
    5.2 ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
    5.3 วัดรอบเอว
    5.4 เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว
    5.5 วัดความดันโลหิต
    5.6 รับประทานอาหารว่าง
    5.7แปลผล เพื่อแยกสถานะสุขภาพ เพื่อรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และรับบัตรนัดเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกรณี มีความเสี่ยง
  5. สรุปผลการดำเนินงาน และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานในปีต่อไป

ค่าใช้จ่าย 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ x 30 คน เป็นเงิน 4,500 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม มื้อละ 60 บาท x 3 มื้อ x 30 คน เป็นเงิน 5,400 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาท x 15 ชั่วโมง ( วันละ 5 ชั่วโมง x 3 วัน) เป็นเงิน 4,500 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มคัดกรอง) มื้อละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 540 คน เป็นเงิน 13,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2564 ถึง 15 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มี แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญด้านการคัดกรองโรคไม่ติดต่อจำนวน 30 คน
  2. มีแผนการดำเนินงานจำนวน 1 ชุด
  3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เข้ารับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 4.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีสถานะความเสี่ยง เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27900.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในกลุ่มแกนนำ อสม. จำนวน 30 คน (ตัวแทนจากแต่ละชุมชน)
    2.นำรายชื่อกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จัดขึ้นทะเบียน และทำบัตรนัดเข้าร่วมกิจกรรม
  2. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานในชุมชน
  3. ประสาน อสม.ในพื้นที่ จัดสถานที่โดยออกแบให้เหมาะกับมาตรการเฝ้าระวังโควิด-19 รับบัตรนัด เพื่อเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมตามโซน
  4. จัดเตรียมอุปกรณ์ ประสานวิทยากร
  5. จัดกิจกรรมในพื้นที่ จำนวน 6รุ่น แบ่งซอยเป็นฐานการเรียนรู้ ฐานละ ไม่เกิน 10 คน
  6. สรุปผลการดำเนินงาน และติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อไป

ค่าใช้จ่าย 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ(2 วัน) x 180 คนเป็นเงิน 18,000บาท 2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม มื้อละ 60 บาท จำนวน 2 มื้อ(2 วัน) x 180 คน เป็นเงิน 21,600 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาทจำนวน 16 ชั่วโมง เป็นเงิน 4,800 บาท 4. ค่าอาหารว่าง (กลุ่มแกนนำ) มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ x 30 คน เป็นเงิน 3,300 บาท 5. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม (กลุ่มแกนนำ) มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ x 30 คน เป็นเงิน 3,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2564 ถึง 26 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ ในกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
  2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีสถานะสุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 80 (วัดจากปิงปอง 7 สี)
  3. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ครบ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47700.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
การติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามการวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน จำนวน 7 ครั้ง
  2. ติดตามการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว จำนวน 2 ครั้ง
  3. ติดตามผลการส่งต่อ จากโรงพยาบาลควนโดน
  4. คืนข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินการต่อไป

ค่าใช้จ่าย ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กรกฎาคม 2564 ถึง 4 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 7 ครั้ง ครบทุกคน
  2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการเจาะเลืดที่ปลายนิ้ว จำนวน 2 ครั้ง ครบทุกคน
  3. กรณีส่งต่อได้รับการติดตาม ครบทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,600.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายแทนกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง
2. ประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง
3.ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่


>