กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่ 2564 ในศดม.อะห์มาดีย๊ะปันจอร์

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ระลอกใหม่ 2564 ในศดม.อะห์มาดีย๊ะปันจอร์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์

1.นางสาวเยาวรี โต๊ะแดง
2.นางอาฉ๊ะ เกปัน
3.นางสาวมารียา โสะประจิน
4. นางสาวรูปา นายหนู
5. นางสาวรุสณี แซะอามา

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ปกครองและเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโควิด 19 และสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ได้ เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน

จำนวนผู้ปกครอง 51 คนจำนวนเด็ก 51คนจำนวนเด็กใหม่ประจำปีการศึกษา 2564ที่ไม่ผ่านการอบรมให้ความรู้ในการระบาดในรอบแรก จำนวน 38 คน

คิดเป็๋นร้อยละ 75

74.50
2 ร้อยละของวัสดุและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคโควิด 19 เพียงพอต่อความต้องการ และเป็นไปตามมาตรการที่กระทรวงกำหนด

จำนวนวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกันโรคโควิด 19 มีไม่เพียงพอสำหรับใช้ตลอดปีการศึกษา 2564 นี้

10.00

- ด้วยกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสำหรับจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุม ในวันที่ 14 มิถุนายน 2564และให้เตรียมความพร้อมในการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพร้อมดำเนินงานตามมาตรการในการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีการศึกษา 2564 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา่ 2019 (COVID-19) ที่กำหนดให้อย่างเคร่งครัดตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0816.4/ว 2993 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 และปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นแนวทางปฏิบัติที่เน้นความสอดคล้องกับบริบทของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กปฐมวัย ครู/ผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย องค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคโควิด 19 แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ครู/ผู้ดูแลเด็ก เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ผู้สัมผัสอาหาร และผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาด การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมบริเวณต่าง ๆ ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และสื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินงานคัดกรองและส่งต่อ การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์ในช่วงเปิดสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (แหล่งที่มา : http:sqrgo.page.link/rnEpj)

- เพื่อเป็นการปฏิบัติตามแนวทาง มาตรการ และคู่มือข้างต้น ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์ จึงจัดทำโครงการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับ ศดม.อะห์มาดีย๊ะปันจอร์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคโควิด 19 และสามารถปฏิบัติตัวตามมาตรการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำหนดได้

ผู้ปกครองจำนวน 51 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคโควิด 19 และสามารถปฏิบัติตนตามมาตรการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำหนดได้
ร้อยละ 90

74.50 90.00
2 เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโควิด 19 ที่เหมาะสมตามวัย และสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ขณะอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ (เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างในการเรียน/เล่น ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน)

เด็ก ร้อยละ 80มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโควิด 19 ที่เหมาะสมตามวัย และสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ขณะอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ (เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างในการเรียน/เล่น ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน)

75.00 80.00
3 เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอในการดำเนินงานป้องกันโรคโควิด 19 ตามมาตรการที่กำหนด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอในการดำเนินงานป้องกันโรคโควิด 19 ตามมาตรการที่กำหนด ร้อยละ 90

10.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 52
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ปกครองเด็กวัยเรียน 51

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1. จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ มาตรการและคู่มือในการป้องกันโรคโควิด 19 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  • ป้ายไวนิลฯจำนวน 1ป้าย ขนาด 1*2 เมตร ตรม.ละ150เมตร เป็นเงิน 300 บาท

1.2. จัดทำสื่อเอกสาร คู่มือ แผ่นพับ ให้ผู้ปกครอง เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้

  • ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบและแบบประเมินมาตรการที่ใช้ฯ จำนวน 51 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,550 บาท
  • ค่าปากกา จำนวน 51 ด้าม ๆ ละ 5บาท เป็นเงิน 255 บาท
  • ค่าจัดทำรายงานสรุปการดำเนินโครงการ จำนวน 1 เล่มๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองจำนวน 51 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และปฏิบัติตนตามมาตรการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3605.00

กิจกรรมที่ 2 2.สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กตามวัยเกี่ยวกับโรคโควิด 19

ชื่อกิจกรรม
2.สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กตามวัยเกี่ยวกับโรคโควิด 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าจัดทำและเข้าเล่มชุดหนังสือนิทานสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโควิด 19 จำนวน 5 ชุดๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
2.2 ค่าชุดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็ก กลุ่มย่อย หน่วยเรียนรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 15 ชุด ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
2.3 ค่าคู่มือครูสําหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 (Unicef Thailand ) จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
2.4.ค่าแบบบันทึกและประเมินการเรียนรู้สำหรับเด็ก จำนวน51เล่มๆละ5บาทเป็นเงิน255บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2564 ถึง 29 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กจำนวน 51 คน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโควิด 19 ที่เหมาะสมตามวัย และสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 (เช่น การล้างมืออย่างถูกวิธี การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างในการเรียน/เล่น ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน)ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3755.00

กิจกรรมที่ 3 3.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอในการดำเนินงานป้องกันโรคโควิด 19 ตามมาตรการและแนวทางที่กำหนด

ชื่อกิจกรรม
3.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอในการดำเนินงานป้องกันโรคโควิด 19 ตามมาตรการและแนวทางที่กำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1. จัดหาอุปกรณ์ ณ จุดคัดกรองก่อนเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - หน้ากากอนามัยเด็ก จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - หน้ากากอนามัยผู้ใหญ่ จำนวน10 กล่อง ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - จัดจ้างติดตั้งอ่างล้างมือพร้อมอุปกรณ์ติดตั้งและลาดพื้นบริเวณจุดติดตั้ง จำนวน 1 จุด ๆ ละ 3,470 บาท เป็นเงิน 3,470 บาท
- เครื่องสแกนอุณหภูมิพร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 1,300 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท - ที่กดเจลล้างมือแบบเซนเซอร์ ขนาด 700 cc จำนวน 1 ชุดๆละ 400 บาท - ค่าชุดปลั้กไฟสนามพร้อมสายไฟ (สาย20 เมตร) จำนวน1ชุดๆละ 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท - แอลกอฮอลชนิดเจล ขนาด 450 มล.จำนวน 20 ขวด ๆ ละ 180 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - แอลกอฮอล์ชนิดน้ำ ขนาด 5,000 มล. จำนวน 6 แกลลอนๆละ 430 บาท เป็นเงิน 2,580 บาท - โต๊ะพลาสติกเอนกประสงค์แบบขาพับ จำนวน 1 ตัว ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - เต็นท์สนามเพื่อเป็นจุดกรองหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน1ชุดๆละ1,500บาท เป็นเงิน1,500บาท
- สบู่เหลวล้างมือ 3M จำนวน 5แกลอน ๆละ180บาท เป็นเงิน900บาท

3.2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อทำความสะอาด ดังนี้
- ถุงมือยางแบบสีส้มจำนวน 1 โหล ๆ ละ 360 บาท เป็นเงิน 360 บาท - น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิวพร้อมฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 12 แกลลอนๆ ละ 270 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท - ชุดไม้ม๊อบพร้อมถังปั่น จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 1,800 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - น้ำยาฆ่าเชื้อเอนกประสงค์(เดทตอล) จำนวน 2แกลอน ๆ ละ 1,800 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - เทปตีเส้นสีแดง จำนวน 2 โหล ๆ ละ 540 บาท เป็นเงิน 1,080 บาท - น้ำยาล้างห้องน้ำ จำนวน 3 แกลอนๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอในการดำเนินงานป้องกันโรคโควิด 19 ตามมาตรการที่กำหนด ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32030.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,390.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และปฏิบัติตนตามมาตรการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำหนด
2.เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เหมาะสมตามวัย และปฏิบัติตนตามมาตรการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำหนด
3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอในการดำเนินงานป้องกันโรคโควิด 19 ตามมาตรการที่กำหนด


>