กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนโดน ห่างไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนโดน

1.นางสุนิสา ปังหลีเส็น
2. นางสาววรรณี สามัญ
3. นางสาวรอกียะ บินหมาน
4. นางสาวซีตีฟาตีม๊ะ หมันเส็น
5. นางสาวมาเรียม ดีนายัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

1. ตามที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนโดน ได้รับอนุมัติโครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนโดน ประจำปี 2563 โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้มีการตรวจสุขภาพอนามัย และเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้เด็กได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีโดยบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง เพื่อเด็ก มีน้ำหนัก - ส่วนสูง ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย ได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และ เพื่อให้ครู พ่อ แม่ ผู้ปกครองทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กโดยได้กำหนดวิธีดำเนินการ จัดให้เด็กได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทุกคน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2561 และมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านควนโดน มาตรฐานด้านที่ 1 การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ ตัวบ่งชี่ย่อยที่ 1.4.1 มีการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก และดูแลการเจ็บป่วยเบื้องต้น ตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.4.2 มีแผนและดำเนินการตรวจสุขอนามัยประจำวัน ตรวจสุขภาพ ประจำปี และป้องกันควบคุมโรคติดต่อผลการดำเนินงาน เด็กจำนวน 60 คน ได้รับการตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ดังนี้ พบว่าร้อยละ 17 ของนักเรียนทั้งหมด มีฟันผุ ร้อยละ 12 ของนักเรียนทั้งหมด มีเล็บยาว ร้อยละ 16 ของนักเรียนทั้งหมด มีผืนคัด ด่างขาว เป็นหนอง มีขี้ไคล และเป็นหิดไฟที่ผิวหนัง ร้อยละ 5 ของนักเรียนทั้งหมด เป็นหวัด มีน้ำมูก ร้อยละ 5 ของนักเรียนทั้งหมด มีไข่เหาบริเวณผม/ศีรษะร้อยละ 45 ของนักเรียนทั้งหมด มีสุขภาพร่างกายที่สะอาด แข็งแรง และความสมบูรณ์ของร่างกายปกติ
2. อุบัติเหตุเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่พบบ่อยในเด็กเล็กทั่วโลก การเกิดอุบัติเหตุในเด็กจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ทั้งทางร่างกายและทรัพย์สิน โดยเฉพาะการเกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตของเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญ เมื่อเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ นอกจากทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายที่นับเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปีของประเทศชาติแล้ว ยังเป็นสาเหตุให้เกิดการตายของเด็กในปัจจุบัน ดังนั้นการเรียนรู้สาเหตุ และแนวทางป้องกันเพื่อให้คำแนะนำล่วงหน้าแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ ครู ผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางสุขภาพ รวมถึงการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมมือกันเพื่อไม่ให้เด็กต้องประสบปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ หรือการสูญเสียใดๆ อันเป็นผลมาจากการได้รับอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุในเด็ก พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุในเด็ก รวมทั้งการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพเด็ก เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ชีวิตประจำวันของเด็กๆ อาจจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินที่ทำให้เกิดอันตรายไม่จะว่าเกิดขึ้นกับร่างกายตัวเองหรือคนอื่น อุบัติเหตุที่พบบ่อยมีดังนี้1.อุบัติเหตุทางน้ำ 2.อุบัติเหตุทางถนน 3.อุบัติเหตุจากอัคคีไฟ 4.อุบัติเหตุจากของมีคม 5.อุบัติเหตุจากการล้ม 6.อุบัติเหตุจากการเล่น เป็นต้นแม้ว่าเราจะระวังมากแค่ไหน แต่อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เราไม่อยากให้เกิด โดยเฉพาะกับลูกน้อย ทั้งอาหารหรือของเล่นติดคอ ลูกจมน้ำ ลูกถูกไฟช็อต นอกจากตั้งสติแล้ว ต้องรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทั้งที่บ้าน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้งให้ความรู้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และคุณครูก็ต้องได้รับการอบรมให้ความรู้อย่างถูกต้องในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในยามที่เด็กวัย 2-4 ปี เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจาย และติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคหวัด อุจจาระร่วง มือ เท้า ปาก คางทูม อีสุกอีใส ตาแดงและหัด เนื่องจากเด็กเล็กเป็นช่วงอายุที่ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้เด็กเจ็บป่วย ได้ง่าย การเจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปี โดยบุคลากรทางการแพทย์ และส่งเสริมสุขภาพอนามัย ตลอดปีการศึกษา 2564

ร้อยละของเด็กได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปี โดยบุคลากรทางการแพทย์ และได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ตลอดปีการศึกษา 2564

52.00 80.00
2 เพื่อให้ครู พ่อ แม่ และผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุ โรคติดต่อ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ร้อยละของครู พ่อ แม่ และผู้ปกครองที่มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุ โรคติดต่อ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้

74.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 68
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/06/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปี โดยบุคลากรทางการแพทย์

ชื่อกิจกรรม
1. การตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปี โดยบุคลากรทางการแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าบัตรบันทึกการตรวจสุขภาพนักเรียน (ส.ศ.3) จำนวน 68 ใบๆละ 10 บาท = 680 บาท
  2. ค่าแฟ้ม จำนวน 68 แฟ้มๆละ 55 บาท = 3,740 บาท
  3. ค่าถ่ายเอกสารข้อมูลสุขภาพนักเรียนรายบุคคล จำนวน 68 คนลๆ 10 บาท = 680 บาท
  4. ค่าจัดทำ/เข้าเล่ม รายงานผลโครงการจำนวน 1 เล่มๆ ละ 500 บาท = 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพโดยบุคลากรทางการแพทย์ และได้รับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยโดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

กิจกรรมที่ 2 2.เพื่อให้ความรู้กับครู พ่อ แม่ และผู้ปกครองในการป้องกันอุบัติเหตุ ป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
2.เพื่อให้ความรู้กับครู พ่อ แม่ และผู้ปกครองในการป้องกันอุบัติเหตุ ป้องกันโรคติดต่อในเด็กปฐมวัย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครู พ่อ แม่ และผู้ปกครอง เรื่อง การป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำ /ทางถนน/รณรงคฺ์การสวมหมวกนิรภัย/การป้องกันอัคคีภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จำนวน 2 รุ่น
  2. ค่าวิทยากรจำนวน 2 คน ดังนี้ รอบเช้า จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท= 1800 บาท
    รอบบ่าย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท= 1800 บาท จำนวน 2 รุ่น รวม 12 ชั่วโมง ๆละ 600 = 7,200 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 1 มื้อ X 74 คน X 60 บาท= 4,440 บาท
  4. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 2 รุ่นๆละ จำนวน 80 ชุด ดังนี้ รุ่นที่ 1ผู้เข้าอบรม จำนวน 33 คน ครู 6 คน รวม 39 คน จำนวน 2 มื้อ รุ่นที่ 2ผู้เข้าอบรม จำนวน 35 คน ครู 6 คน รวม 41 คนจำนวน 2 มื้อ
    จำนวน 80 ชุด ๆ ละ 25 บาท X 2 รุ่น = 4000 บาท
  5. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 74 ชุด ๆ ละ 40 บาท =2,960 บาท
  6. ค่าบริการใช้สระว่ายน้ำเพื่อฝึกทักษะการป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำและการฝึกปฏิบัติ CPRจำนวน 2 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 ผู้เข้าอบรม จำนวน 33 คน ครู 6 คน และเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง 2 คน รวม 41 คน รุ่นที่ 2 ผู้เข้าอบรม จำนวน 35 คน ครู 6 คน และเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง 2 คน รวม 43 คน รวม 84 คน ๆละ 90 บาท = 7,560 บาท
  7. ค่าอุปกรณ์สาธิต หมวกนิรภัย จำนวน 3 ใบๆละ 500 บาท = 1,500 บาท
  8. ชุดอุปกรณ์กระเป๋าฉุกเฉิน จำนวน 1 ชุด * 2,500 บาท =2500 บาท
  9. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 * 2 เมตร * 150 = 450 บาท
  10. ค่าชุดเครื่องเสียงแบบเคลื่อนที่ พร้อมไมล์ลอย จำนวน 1 ชุดๆละ 7,500 บาท = 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู พ่อ แม่และผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการป้องกันอุบัติเหตุ การป้องกันโรคติดต่อ และสามารถปฐมพยาบาลเด็กปฐมวัยเบื้องต้นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38110.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,710.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กได้รับการตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางการแพทย์ครบทุกคน อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปีการศึกษา
2.ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำ ทางถนน และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
3.ผู้ปกครองให้เด็กสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย
4. ร้อยละ 70 ของเด็กมีสุขภาพดี


>