กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาแกนนำเยาวชนรวมพลคนรู้ทัน พิษภัยบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

โรงเรียนควนโดนวิทยา

1.นายนํฐดนัย อาดำ
2.นายสุไลมาน เด่นดารา
3.นายอับดุลการีมสามัญ
4.นางสาวขวัญตา ส่าเหร็ม

โรงเรียนควนโดนวิทยา อำเถอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ80ของนักเรียนและกลุ่มเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสียงไม่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันพิษภัยจากบุหรี่มือสอง

 

80.00
2 ร้อยละ15ของนักเรียนและกลุ่มเยาวชนที่สูบบุหรี่ในโรงเรียน

 

15.00
3 ร้อยละ80 ของนักเรียนและกลุ่มเยาวชนที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในที่สาธารณะ

 

80.00

ปัจจุบันปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของเยาวชนและประชาชนทั้งทางตรงคือผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่มือสอง หรือที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบคือบุหรี่มือสองทั้งที่ประเทศไทยมีการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2517 แต่ในปี พ.ศ. 2551บุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า5ล้านคนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรคโรคเอดส์และไข้มาลาเรียรวมกันและคาดว่าในปีพ.ศ. 2573จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น8ล้านคนต่อปีโดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่ได้แก่มะเร็งปอดที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทยอีกทั้ง
การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงานของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจการสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกและหัวใจวายโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง จากสิ่งแวดล้อมจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสูงกว่าคนที่ไม่เคยได้รับ 1.3 เท่า และจะมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้มากขึ้นประมาณ 1.8 เท่าโดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็กหากมารดาตั้งครรภ์สูบบุหรี่หรือได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงเช่นทารกน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนดเด็กหากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไหลตายปอดอักเสบติดเชื้อโรคภูมิแพ้โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปี 2557พบว่าจำนวนประชากรมีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป54.8 ล้านคนเป็นผู้สูบบุหรี่ 11.4 ล้านคน (ร้อยละ 20.7 )เป็นผู้สูบบุหรี่ประจำ 10 ล้านคน (ร้อยละ 18.2 )สูบนาน ๆ ครั้ง 1.4 ล้านคน (ร้อยละ 2.5 )ในกลุ่มวัยทำงาน (25 – 59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ 23.5 ) รองลงมากลุ่มผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน(15 – 24 ปี) (ร้อยละ 16.6 และ 14.7 ตามลำดับ) ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง 18.4 เท่า (ร้อยละ40.5 และ 22 ตามลำดับ)เมื่อเปรียบเทียบกับปี2556พบว่าเพศชายและหญิงมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มสูงขึ้นและทุกกลุ่มมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่น้อยลงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 15-24 ปี เริ่มสูบบุหรี่อายุน้อยลงค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่นคือจากปี 2550 เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 16.8 ปีในปี 2557 ลดลงเป็นอายุ 15.6 ปีชี้ให้เห็นว่า อายุของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มีอายุน้อยลง จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น และในประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่คิดเป็น 12 % ของการตายทั้งหมดรัฐบาลสูญเสียทางเศรษฐกิจกับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่ถึง 43.6 พันล้านบาท คิดเป็น 0.5% ของ GDP ถ้ายังไม่มีมาตรการใด ๆ ในการป้องกันและเฝ้าระวังนักสูบบุหรี่หน้าใหม่อีกทั้งบุหรี่เป็นเพียงสินค้าชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย แต่เป็นอันตรายต่อทุกคนทั้งที่เป็นผู้สูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสอง
โรงเรียนควนโดนวิทยาจึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและเยาวชนให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ในโรงเรียน โดยยึดหลักการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสูบบุหรี่ อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งการดูแลสร้างเสริมสุขภาพการแนะนำให้มาบำบัดจัดระบบเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพซ้ำโดยการสร้างแรงจูงใจ การตระหนักในปัญหา ร่วมกันให้คำปรึกษา ติดตาม ดูแล และส่งเสริมการทำกิจกรรมเวลาว่างเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้เวลาว่างเพื่อการสูบบุหรี่
การให้ความรู้แก่เยาวชนที่ได้รับพิษภัยจากบุหรี่มือสอง และช่วยรณรงค์ให้ความรู้ถึงพิษภัยบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำจริง การดูแลตัวเองจากสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะการป้องกันที่ดี การรู้ทันพิษภัยในบุหรี่ โดยการสร้างการตระหนัก จูงใจเยาวชนลด ละ เลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากควันบุหรี่มือสองได้
โรงเรียนควนโดนวิทยาได้เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ในนักเรียนและเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อควันบุหรี่มือสอง ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากพอสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไขจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแกนนำเยาวชน รู้ทันพิษภัยบุหรี่ ขึ้นเนื่องจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อให้นักเรียนและกลุ่มเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวการป้องกันพิษภัยจากควันบุหรี่มือสอง

ร้อยละ95นักเรียนและกลุ่มเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวการป้องกันพิษภัยจากควันบุหรี่มือสอง

80.00 95.00
2 เพื่อให้นักเรียนและกลุ่มเยาวชนลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ในโรงเรียน

ร้อยละ25ของนักเรียนและกลุ่มเยาวชนลดสูบบุหรี่ในโรงเรียน

15.00 25.00
3 เพื่อให้นักเรียนและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน

ร้อยละ90นักเรียนและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ สู้พิษภัยจากบุหรี่และบุหรี่มือสอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ สู้พิษภัยจากบุหรี่และบุหรี่มือสอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมวางแผนทีมงานและแกนนำเยาวชน
2. สำรวจและรวมพลอาสาสมัครและนักเรียนที่มีปัญหาหรือนักเรียนที่กำลังสูบบุหรี่ หรือเป็นบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงจากบุหรี่มือสอง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมรวมพลแกนนำรู้ทันพิษภัยบุหรี่ โดยคณะกรรมการจัดกิจกรรม จัดตั้งแกนนำและมีห้องเพื่อนใจวัยรุ่น เพื่อให้เพื่อนๆนักเรียนนำปัญหาปรึกษา และนักเรียนที่อยากมีกิจกรรมเพื่อลดการสูบบุหรี่ หรือ นักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากบุหรี่มือสอง เก็บข้อมูล เพื่อการช่วยเหลือ
3. มีการคัดกรองนักเรียนและเยาวชน จัดแบ่งกลุ่มออกเป็นประเภท ดังนี้ คือ กลุ่มที่ติดบุหรี่ กลุ่มเสี่ยงติดบุหรี่กลุ่มเสี่ยงบุหรี่มือสองและกลุ่มแกนนำเพื่อพัฒนาสังคม
4.จัดกิจกรรมอบรม จากวิทยากรผู้มีความรู้ความชำนาญ โดยการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่ และการปฏิบัตนอย่างไรให้รอดพ้นจากพิษภัยบุหรี่มือสองจำนวน 120 คน จำนวน2 วัน วันละ50-60คนอาจมีการเปลี่ยนแปลงจัดแค่ 1 วัน
5. จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้นักเรียนและกลุ่มเสี่ยงรู้จักคุณค่าของตนเอง โดยแบ่งกลุ่มความสามรถและความถนัดตามความสนใจ

งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (มื้อละ 25 บาท) จำนวน 2 มื้อ อาหารกลางวัน ( มื้อละ 60 บาท) จำนวน 1 มื้อ วันที่อบรมเชิงปฎิบัติการ แกนนำและวิทยากร 120 คน คนละ 110 บาท รวมเป็นเงิน 13,200 บาท
2.ค่าวัสดุอุปกรณ์การจัดกิจกรรมอบรมค่ายเชิงปฏิบัติการ เป็นเงิน 1000 บาทเช่น ค่ากระดาษ ปากกาสี ถุงดำ รูปภาพสื่อ
3. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม กลุ่มละ2 คน คนละ3 ชม.ชมละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3600 บาท
4.ค่าป้ายไวนิลป้ายโครงการป้ายกิจกรรมขนาด 3 เมตร *3 เมตรราคา 450 บาท

รวมเป็นเงินทั้งหมด 18,250 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันสองร้อยห้าสิบบาท)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต= ร้อยละ95ของนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และการป้องกันภิษภัยจากบุหรีและบุหรีมือสองได้ถูกต้อง นักเรียนที่สูบบุหรีลดลง และสามารภป้องกันตนเองได้
ผลลัพธ์= ร้อยละ95นักเรียนมีความรู้และเข้าใจและวิธีการป้องกันและลดปัญหาการบุหรีและป้องกันพิษภัยบุหรีมือสอง ตลอดจนสร้างคุณค่าให้กับนักเรียนที่มีกลุ่มเสี่ยง และนำความรู้ความสามารถด้านต่างไปใช้ในชีวิตประวันได้อย่งมีความสุข สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ครอบครัว และชุมชนสร้างความสุขให้กับชุมนนได้อย่างยังยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18250.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แบ่งกลุ่มนักเรียนและกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมมาแล้วออกเป็น 4 กลุ่มตามความสนใจดังนี้ 1.กลุ่มการทำปุ่ยหมัก 2. กลุ่มการแสดงและการละคร 3.กลุ่มการทำอาหารพื้นบ้าน 4. จัดสวนสมุนไพร
  2. จัดครูที่ปรึกษาจัดกิจกรรมอบรมแนะนำความรู้เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเวลาว่างให้กับกลุ่มนักเรียนและเยาวชนตามความสนใจ เพื่อลดพฤติกรรมในการสูบบุหรี่เสี่ยงอย่างน้อยสัปดาห์ละ1-2 ครั้ง ในคาบว่างหรือช่วงพักกลางวัน
  3. ส่งเสริมนักเรียนทำกิจกรรมกลุ่มเพื่่อสนับสนุนกิจกรรมความสนใจตามความถนัด เป็นเวลา 1-2 เดือน พร้อมประเมิน สังเกตุพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
  4. จัดเวทีให้นักเรียนแสดงความสามารถต่อสาธารณะตามความเหมาะสม เพื่อให้นักเรียนได้เห็นคุณค่าในตัวเองสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง
  5. ประเมินและสังเกตุพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงและ ความรู้ความเข้าใจการปฎิบัติตนให้ปลอดภัยจากบุหรี่มือสองได้ถูกต้อง

    งบประมาณ
  6. ค่าสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แบ่งออกตามความสามารถและความสนใจออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ1500 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท -กลุ่มการทำปุ่ยหมัก เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ หัวเชื้อถุงใส่ปุ๋ย
    -กลุ่มการแสดงและการละคร เช่น ผ้านุ่งจูงกะเบนวีดีโอสื่อการสอนการแสดงนาฎศิลป 4 ภาคเครื่องสำอาง
    -กลุ่มการทำอาหาร(ขนมพื้นบ้าน) เช่น วัตถุดิบในการประกอบอาหาร แต่ละชนิด แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียวน้ำตาลทรายและอื่นๆ
    -กลุ่มจัดสวนสมุนไพร เช่น เม็ดพันธ์สมุนไพร วัสดุต่างๆ กระถางต้นไม้ ดินผสมปลูกต้นไม้ ป้ายชื่อต้นไม้
  7. ค่าน้ำดื่มนักเรียนและเยาวชนขณะร่วมกิจกรรมกลุ่มสัปดาห์ละ300 บาท เป็นเวลา 2 เดือน เดือนละ1200 บาท รวมเป็นเงิน 2400บาท
  8. ค่าป้ายกลุ่มการแสดงความสามามารถขนาด1.5*1.5 ราคา 300 บาท จำนวน4ป้าย รวมเป็นเงิน 1200 บาท

รวมเป็น 9600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) ร้อยละ90ของนักเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน
ผลลัพธ์ (Outcome) ร้อยละ90ของนักเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เพื่อลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน และลดการสูบบุหรี่มากขึ้น และรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถนำความรุ้ความสามารถไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับพื้นที่ในโรงเรียน เพื่อกำจัดจุดเสี่ยงในการสูบบุหรี่ในพื้นที่โรงเรียนและ รณรงค์บ้านปลอดบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
ปรับพื้นที่ในโรงเรียน เพื่อกำจัดจุดเสี่ยงในการสูบบุหรี่ในพื้นที่โรงเรียนและ รณรงค์บ้านปลอดบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขออนุเคราะห์ สติ๊กเกอร์รณรงค์การไม่สูบบุุหรี่จากมูลนิธิเพื่อการไม่สูบบุหรี่ นำมาติดที่ โรงเรียนและบ้านของนักเรียน
2.แกนนำ 50 คน ครู 10 คน ปรับปรุงภูมิทัศน์ในโรงเรียน ติดป้ายรณรงค์ กำจัดจุดเสี่ยงในการสูบบุหรี่และทำความสะอาดห้องศูนย์เพื่อนใจ ใช้เวลา 1 วัน 3. จัดประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ดีเจวัยใส นำเสนอเรื่องพิษภัยบุหรี่และบุหรี่มือสอง ก่อนเข้าแถว 20นาที สัปดาห์ละ 2วัน
4. จัดทีมงานแกนนำรณรงค์เรื่องพิษภัยจากบุหรี่และบุหรี่มือสอง หน้าเสาธง สัปดาละ 1ครั้ง

งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(มื้อละ 25 บาท) 2มื้อ จำนวน 50 บาท จำนวน 60 คน รวมเงิน 3000 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน( มื้อละ 60 บาท)ที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ในโรงเรียน ติดป้ายรณรงค์ กำจัดจุดเสี่ยงในการสูบบุหรี่ จำนวนนักเรียนเยาวชน 50 คน และครู10 คน คนละ60 บาท เป็นเงิน 3600 บาท 3.ค่าจัดทำป้ายรณรงค์จุดเสี่ยงจำนวน 5 จุด ป้ายขนาด1.5*1.5 ป้าย300 บาทจำนวน5ป้าย รวมเป็นเงิน 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) ร้อยละ95ของนักเรียนและกลุ่มเยาวชนมีความรู้พิษภัยจากการสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่โรงเรียนและบ้านของนักเรียนจะปลอดพิษภัยจากบุหรี่มือสอง
ผลลัพธ์ (Outcome) ร้อยละ95ของนักเรียนและกลุ่มเยาวชนมีความรู้พิษภัยจากการสูบบุหรี่ ลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่โรงเรียน และบ้านของนักเรียนจะปลอดพิษภัยจากบุหรี่มือสอง นักเรียนช่วยกันเป็นสื่อในการรณรงค์ การไม่สูบบุหรี่มากขึ้น บ้านของนักเรียนจะเป็นพื้นที่ปลอดควันบุหรี่และบุหรี่มือสองเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,950.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและกลุ่มเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวการป้องกันพิษภัยจากควันบุหรี่มือสอง
2.นักเรียนและกลุ่มเยาวชนลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ในโรงเรียน
3.นักเรียนและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน
4. นักเรียนรุ้จักคุณค่าในตนเอง และมีความภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น
5. นักเรียนและเยาวชนพ้นภัยจากพิษบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม


>