กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.ตำบลกาบัง เฝ้าระวังโรคโควิด-19 ระลอก 3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาบัง

โรงเรียนบ้านบันนังดามาหมู่ที่ 1ตำบลกาบังอำเภอกาบังจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

70.00
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

70.00
3 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

70.00
4 ร้อยละของครัวเรือนในชุมชนที่สามารถเข้าถึงอาหารในช่วงโควิด-19

 

60.00
5 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

10.00

ประเทศไทยกำลังเผชิญการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 กระจายออกไปครบทุกจังหวัดอย่างหนักหน่วงกว่าที่เคยเจอมา โดยผู้ติดเชื้อครอบคลุมทุกเพศทุกวัยสูงขึ้นทวีคูณ
สาเหตุเป็นเช่นนี้เชื่อว่า เป็นการระบาดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ สามารถกระจายได้เร็วมากยิ่งกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม ทั้งประชาชนเขตเมือง ก็เคลื่อนย้ายออกจากบ้านท่องเที่ยว พบปะสังสรรค์ไปมาหาสู่ทำธุระเสมือนปกติอยู่มากมายอันเกิดจากมาตรการผ่อนปรนให้ประชาชนใช้ชีวิตสะดวกยิ่งขึ้น แต่ไม่อาจกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ทั้งควบคุมผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงไม่ได้ จนเข้าปะปนสัมผัสกลุ่มเสี่ยงต่ำ กว่าจะรู้ตัวติดเชื้อก็ลุกลามออกไป
เป็นวงกว้างมากแล้ว กลายเป็นการติดเชื้อจากการใช้ชีวิตประจำวัน นำเชื้อโรคเข้าสู่คนในครอบครัว ทำให้มีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงหลักพันคนต่อวัน
ด้วยสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการหลายประเภทต้องปิดกิจการ ประชาชนตกงานจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง โดยที่อาจจะไม่ทราบว่าตนติดเชื้อโรค
โควิด-19 ทำให้ครอบครัว ผู้สัมผัสใกล้ชิด ได้รับเชื้อไปด้วย
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาบัง จึงจัดทำโครงการ อสม.ตำบลกาบัง เฝ้าระวังโรคโควิด-19ระลอก 3 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสถานที่เพื่อสังเกตอาการให้ผู้ที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ ได้กักตัวก่อนกลับสู่ครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ โดยการร่วมมือกันของหน่วยงานรัฐ ผู้นำชุมชน ประชาชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

70.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

70.00 60.00
3 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

70.00 80.00
4 เพื่อให้ครัวเรือนในชุมชนที่สามารถเข้าถึงอาหารในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น

ร้อยละของครัวเรือนในชุมชนที่เข้าถึงอาหารในช่วงโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้น

60.00 70.00
5 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคคลกลุ่มเสี่ยง 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรอง และกักตัวผู้ที่มาจากนอกพื้นที่เพื่อสังเกตอาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรอง และกักตัวผู้ที่มาจากนอกพื้นที่เพื่อสังเกตอาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การตรวจคัดกรอง และกักตัวผู้ที่มาจากนอกพื้นที่เพื่อสังเกตอาการ     - ที่วัดไข้แบบสแกนฝ่ามือ จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 2,900 บาท        เป็นเงิน    2,900 บาท     - ที่วัดไข้แบบสแกนหน้าผาก จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 3,000 บาท      เป็นเงิน    3,000 บาท     - ค่าจ้างแม่บ้านทำความสะอาด จำนวน  21 วัน วันละ 300 บาท        เป็นเงิน    6,300 บาท     - ค่าวัสดุอุปกรณ์                                              เป็นเงิน  70,000 บาท รวมเป็นเงิน 82,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เพื่อให้บุคคลที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ ได้รับการกักตัวเพื่อสังเกตอาการ ผลลัพธ์ บุคคลที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ ได้รับการกักตัวเพื่อสังเกตอาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
82200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covid 19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covid 19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้เรื่องโควิด-19 ขนาด 12 เมตร จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน    1,200 บาท ค่าแผ่นพับการป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 200 แผ่น แผ่นละ 5 บาท    เป็นเงิน   1,000 บาท
รวมเป็นเงิน  2,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต สร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (covid 19) ผลลัพธ์ ประชาชนมีความรู้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(covid 19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

บุคคลที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ ได้รับการกักตัวเพื่อสังเกตอาการ
สามารถป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(covid 19) ในพื้นที่ตำบลกาบังได้
ประชาชนมีความรู้ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(covid 19)


>