กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโภชนาการเด็ก ศดม.อะห์มาดีย๊ะปันจอร์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์

1.นางสาวเยาวรี โต๊ะแดง
2.นางสาวรูปา นายหนู
3.นางอาฉ๊ะ เกปัน
4.นางสาวมารียาโสะประจิน
5.นางสาวรุสณี แซะอามา

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนของเด็กเล็ก อายุ (2-4 ปี) ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์ เดือนมกราคม - มีนาคม 2564 ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ 10 คน จากจำนวนเด็กทั้งสิ้น 51 คน (ข้อมูลเด็กใหม่ประจำปี 2564)

19.60
2 ร้อยละของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

จำนวนเด็กในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์ ที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน สำรวจตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 - เดือนมีนาคม 2564 จำนวน 48 คน จากจำนวนเด็กทั้งสิ้น 66 คน (ข้อมูลเด็กประจำปี 2563)

72.70

1. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี ประจำปี 2564 จากการสำรวจในการสมัครเข้าเรียนในปีการศึกษา 2564ในเดือนมกราคม - มีนาคม 2564 ซึ่งในใบสมัครเด็กได้ระบุให้ผู้ปกครอง ใส่น้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก พบว่า ร้อยละของเด็กอายุ 2 - 4 ปี พบเด็กมีน้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 20 จากจำนวนเด็ก 51 คน ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเด็กขาดสารอาหารเรื้อรัง เนื่องจากผู้ปกครองมีฐานะยากจน หาเช้ากินค่ำ ในมื้อเช้าและมื้อเย็น เด็กจะได้ทานเฉพาะข้าวหรือการจัดหาอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เด็กได้ดื่มแต่นมแม่อย่างเดียว สะสมมาตั้งแต่ 1- 2 ปี จนเข้ามาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กได้ทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพเพียงแค่มื้อเดียว ส่วนมือเช้า เด็กจะทานเฉพาะนมและขนมที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งเป็นปัญหาสะสมเรื้อรัง เพราะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอและเหมาะสมตามวัย
2. ปัญหาเด็กเล็กไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียนจำนวน 48 คน จากเด็ก 66 คน คิดเป็นร้อยละ 73เนื่องจาก ผู้ปกครองไม่มีเวลาต้องไปทำงานในตอนเช้าและต้องรีบนำเด็กไปส่งเพื่อให้ทันในการไปทำงานของผู้ปกครอง ทำให้เด็กเล็กในกลุ่มนี้จะไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาเลย ผู้ปกครองจะให้เด็กซื้อขนมหรืออาหารที่ไม่มีประโยชน์ จะมีภาวะด้อยการเรียนรู้ ไม่มีสมาธิ การดำเนินงานแก้ไขปัญหาโดยให้อาหารมื้อกลางวันอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ และให้เด็กได้รับอาหารเช้าที่มีประโยชน์ เพื่อให้สารอาหารที่จำเป็น

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ศดม.อะห์มาดีย๊ะปันจอร์ ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม แก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน ให้ได้รับประทานอาหารเย็นที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยจัดหาอาหารกลางวัน จำนวน 10 ชุด / วัน จำนวน 20 วัน แล้วประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก และจัดอาหารเช้าให้เด็กกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า จำนวน 48 ชุด / วัน จำนวน 20 วัน แล้วประเมินภาวะโภชนาการในเด็กกลุ่มเสี่ยงจำนวน 10 คน ให้มีภาวะโภชนาการที่เพิ่มขึ้น และให้เด็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียนให้ได้รับอาหารเช้า จำนวน 20 วัน เพื่อเสริมสร้างภาวะการเจริญเติบโต และพร้อมในการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

จำนวนของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

10.00 5.00
2 เพื่อลดปัญหาเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

จำนวนของเด็กที่ได้รับประทานอาหารเช้ามาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

48.00 20.00
3 เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์

ร้อยละของผู้ปกครองมีความรู้ในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และประโยชน์ของอาหารเช้า

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เด็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียน 48
เด็กเล็ก (2-4ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.การเฝ้าระวังและติดตามเพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กกลุ่มเสี่ยง (N=10)

ชื่อกิจกรรม
1.การเฝ้าระวังและติดตามเพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กกลุ่มเสี่ยง (N=10)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน ดังนี้

1.จัดทำทะเบียนการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มเสี่ยง จำนวน 10 คน พร้อมบันทึกน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังและติดตามผ่าน Application KhunLook โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
-เอกสารประกอบการประเมินติดตามภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มเสี่ยง จำนวน 10 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 50 บาท
-เครื่องชั่งน้ำหนักและส่วนสูง จำนวน 1 ชุดๆ ละ 7,500 บาท เป็นเงิน7,500 บาท

2.กิจกรรมจัดหาอาหารเย็นเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในครบทุกมื้อในเด็กกลุ่มเสี่ยง ค่าใช้จ่ายดังนี้
-จัดหาอาหารมื้อเย็น จำนวน 10 ชุด ๆ ละ 25 บาท จำนวน 20 วัน (1 ก.ค. - 30 ก.ค. 64) เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการลดลงจาก 10 คน เหลือ 5 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12550.00

กิจกรรมที่ 2 2.ให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
2.ให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน ดังนี้

1.จัดทำทะเบียนการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของเด็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน จำนวน 48 คน พร้อมบันทึกน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังและติดตามผ่าน Application KhunLook โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
-เอกสารประกอบการประเมินติดตามภาวะโภชนาการของเด็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน (48-10(เด็กกลุ่มเสี่ยง)=38 คน) จำนวน 38 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน190บาท
-จัดหาอาหารมื้อเช้า จำนวน 48 ชุด ๆ ละ 25 บาท จำนวน 20 วัน (1 ก.ค. - 30 ก.ค. 64) เป็นเงิน 24,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการและส่งเสริมภาวะการเรียนรู้นำผลสู่พัฒนาการที่สมวัย และลดจำนวนเด็กที่ม่ได้รับประทานอาหารเช้าลง เหลือ 20 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24190.00

กิจกรรมที่ 3 3.ให้ผู้ปกครองมีความรู้ในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และประโยชน์ของอาหารเช้าสำหรับเด็ก

ชื่อกิจกรรม
3.ให้ผู้ปกครองมีความรู้ในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และประโยชน์ของอาหารเช้าสำหรับเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำป้ายไวนิลเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ
    -ค่าป้ายไวนิลโครงการการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการฯ ขนาด 1.5x2 ม. ตรม ละ 150   จำนวน  1  ป้าย                  เป็นเงิน  450  บาท
  2. จัดทำป้ายX-Stand เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญกับอาหารเช้าและจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้กับเด็กเพื่อการเจริญเติบโจสมวัยและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ขนาด 2x2 ม. ตรม ละ 150  บาท    จำนวน  1  ป้าย   เป็นเงิน  600  บาท
  3. จัดทำแบบสอบถามความรู้ และประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครอง จำนวน 51 คน   ค่าใช้จ่ายดังนี้
    -ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 1 เล่มๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน  350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองจำนวน 51 คน มีความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับอาหารเช้าและจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้กับเด็กเพื่อการเจริญเติบโจสมวัยและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนเด็กที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการลดลง จาก 10 คน เหลือ 5 คน
2.จำนวนเด็กที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน ลดลง จาก 48 คน เหลือ 20 คน
3.ผู้ปกครอง(N=51) ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับอาหารเช้าและจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้กับเด็กเพื่อการเจริญเติบโจสมวัยและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย


>