กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยโรงพยาบาลรัษฎา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

โรงพยาบาลรัษฎา

โรงพยาบาลรัษฎา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่บริการวัคซีนโควิด-19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ (Covid-19)

 

100.00
2 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด-19 ตามเป้าหมาย

 

70.00
3 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความสำคัญในการป้องกันตนเอง

 

90.00

องค์การอนามัยโลก (WHO)ได้ยกระดับการเตือนภัยความเสี่ยงการระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ให้อยู่ในระดับ “สูงมาก” ซึ่งเป็นระดับสูงสุด โดยให้เหตุผลว่ายอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและการลุกลามไปในประเทศต่างๆอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 3 เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการทรัพยากรสนับสนุนการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ผู้ป่วยผู้ติดเชื้อบางรายจำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยที่อาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว เสียชีวิดได้
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่ามีการระบาดไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อรวม 169,623,481 ราย มีผู้เสียชีวิต 3,525,023 ราย (ข้อมูล ณ 28 พฤษภาคม 2564) อีกทั้งในหลายๆประเทศ ยังมีการระบาด และยังมียอดผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 มียอดติดเชื้อสะสม 144,976 ราย เสียชีวิต 954 ราย หาย กำลังรักษาอยู่ 46,150 ราย อาการหนัก 1,226 ราย (ใส่เครื่องช่วยหายใจ 405 ราย) ในขณะที่จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยสะสม 344รายเสียชีวิต 1 ราย กำลังรักษา 64 ราย รักษาหายแล้ว 279 ราย แนวทางลดการระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประการหนึ่งคือ เร่งการฉีดวัคซีนแก่ กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เพื่อสร้าง "ภูมิคุ้มกันหมู่" โดยรัฐบาล ได้ประกาศให้เป็น "วาระแห่งชาติ" พร้อมกำหนดให้วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นจุดเริ่มต้น ในการฉีดวัคซีน ซึ่งในจังหวัดตรัง กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 จำนวน ทั้งสิ้น 158,350. คน อำเภอรัษฎา จำนวน 17,923 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีน ในตำบลควนเมาจำนวน4,778 คน
เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐ และการประสานความร่วมมือในการลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยอาศัยประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓ ตาม ข้อ ๑๐/๑ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๐ ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ ๑๒ มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อให้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบามต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบโดยทางโรงพยาบาลรัษฎา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรังมีความจำเป็นในการรณรงค์และเร่งรัดให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอรัษฎา ได้รับการฉีดวิคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชากรตามกลุ่มเป้าหมาย อันจะส่งผลในการลดการแพร่ระบาดของโรคต่อไป ทางโรงพยาบาลรัษฎา จึงของบสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วน ตำบลควนเมา เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีนโควิด – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19 และประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนตามเป้าหมาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีน ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19(Covid-19)
ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด – 19 ตามเป้าหมาย
ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,778
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด - 19 ครบตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด - 19 ครบตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดสถานที่สำหรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2021 ถึง 30 ธันวาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18198.00

กิจกรรมที่ 2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง

ชื่อกิจกรรม
2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2021 ถึง 30 ธันวาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,998.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สถานบริการสาธารณสุขมีสถานที่ให้บริการวัคซีนโควิด – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการวัคซีนโควิต – 19 ถูกต้องตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ
3. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง


>