กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พร่อน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดและภัยพิบัติ ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พร่อน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกกูแวหมู่ที่ 5 บ้านโคกยาง ตำบลพร่อนอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัจจุบันได้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นโรคตระกูลเดียวกับโรคซาร์สที่ระบาดเมื่อปี 2545 ซึ่งทำให้ทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด ซึ่งแหล่งกำเนิดมาจากประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและพบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธ์ใหม่ในชื่อ ไวรัสโคโรน่า ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบและเป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และโรคเมอร์ส (MERS)จากสถานการณ์ดังกล่าว มีประชาชนและเยาวชนในเขตพื้นที่จำนวนมากที่ทำงานและกำลังศึกษาอยู่ต่างจังหวัด ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินจัดเตรียมที่เพื่อเป็นสถานที่กักกันคุมไว้สังเกตอาการแก่ผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และกลุ่มเสี่ยงผู้ที่สัมผัสเกี่ยวกับโรค Covid-19 เป็นระยะเวลา14 วัน เพื่อการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)ในวงกว้างได้
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 (3) ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคระบาดและภัยพิบัติ ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่กักกันคุมไว้สังเกตอาการแก่ผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และผู้ที่สัมผัสเกี่ยวกับโรคCovid-19เป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อการป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นสถานที่กักกันคุมไว้สังเกตอาการแก่ผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระยะเวลา 14 วัน

ไม่มีผู้ป่วยโรคเชื้อติดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

0.00
2 เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้มีประสิทธิภาพ

ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเตรียมเป็นค่าอาหารสำหรับผู้ถูกกักกันและเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานในสถานที่กักกัน

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมเป็นค่าอาหารสำหรับผู้ถูกกักกันและเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานในสถานที่กักกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารสำหรับผู้ถูกกักกัน   จำนวน  14 คน X 3 มื้อๆละ 50 บาท X 14 วัน   เป็นเงิน  29,400 บาท
  • ค่าอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานในสถานที่กักกัน   จำนวน   2 คน X 3 มื้อๆละ 50 บาท X  14 วัน   เป็นเงิน    4,200  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2564 ถึง 12 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีประสิทธิภาพในวงกว้าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>