กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชาวตำบลประกอบใส่ใจ อนามัยเจริญพันธุ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่

นางสาวคอรีเย๊าะ เลาะปนสา

หมู่ที่ 1,2และ3 ตำบลประกอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อนามัยเจริญพันธุ์เป็นภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ที่เป็นผลจากกระบวนการและการทำหน้าที่การเจริญพันธุืที่สมบูรณ์ทางเพศชายและหญิงทุกช่วงอายุ อันส่งผลให้มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อันส่งผลให้มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยองค์ประกอบ 10ประการ คือ การวางแผนครอบครัว อนามัยแม่และเด็ก ภาวะมีบุตรยาก การแท้งและภาวะแทรหซ้อน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ โรคเอดส์ มะเร็งระบบสืบพันธุ์ วัยรุ่นและภาวะหลังเจริญพันธุื ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีความเชื่อมโยงส่งผลซึ่งกันและกันที่จะนำไปสู่คุณภาพการเจริญพันธุ์ที่ดีของประชากรในแต่ละวัย
สถานการณ์ปัจจุบันที่สิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัย ยั่วยุให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นการมีเพศสัมพันธุืที่ไม่ปลอดภัย มีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงานมากขึ้น แนวโน้มการมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกเมื่ออายุน้อยลง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ โรคเอดส์ การแท้งและภาวะแทรกซ้อน หรือแม้แต่ปัญหาด้านสังคมอื่นๆที่ตามมาที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น สาเหตุสำคัยเกิดการที่วันรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการเจริญพันธุ์ ขาดความตระหนัก ขาดทักษะ ชีวิต ที่จำเป็นในการส่งเสริมอนามัยการเขริญพัธุ์ที่ดี อีกทั้งครอบครัว สังคมและชุมชนโดยรวมยังเข้าไม่ถึงปัยหา ไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันและการแก้ไขปัยหาดังกล่าว นอกจากนี้ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุืทั่วไปพบปัยหาเรื่องการดูแลสุขภาพระยะตั้งครรภ์ที่ไม่เหมาะสม การไม่ตระหนักถึงการฝากครรภ์ต่อเนื่อง รวมทั้งยังมีปัยหาเรื่องการเว้นช่วงการมีบุตรสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง และไม่ตระหนักถึงความสำคัยของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
สำหรับในพื้นที่ตำบลประกอบ มีประชากรกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15-49 ปี จำนวน 1,573 คน มีหญิงตั้งครรภ์ในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมาทั้งหมด 112 คน คิดเป็นร้อยละ 7.1 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด และเป็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง (อายุน้อยกว่า 20 ปี) จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 15.18 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้หมด ซึ่งส่วนใหญ่พบหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมากที่สุดในพื้นที่ หมู่ที่ 1,2และ 3 (จำนวน 5,5และ4 คน) ตามลำดับ และพบหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงจำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.18 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด นอกจากนี้แม้ว่าแนวโน้มของการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และอัตราการมาฝากท้องต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ครั้ง มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่กลับพบว่าพบอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดที่ยังคงไม่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 13.4 ซึ่งเมื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัยหา ส่วนใหญ่พบว่า กินยาไม่สมำ่เสมอ ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกินยา
จะเห็นได้ว่าปัยหาอนามัยเจริญพัมธุ์ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1,2 และ 3 ตำบลประกอบ ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งดำเนินงานสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติ ด้วยวิตามินแสนวิเศษ ตามนโยบายส่งเสริมเกิดและเจริญเติบดตอย่างมีคุณภาพ (มติ ครม. 18 ตุลาคม 2559) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ ดังนั้นการแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีการบูรณาการทั้งส่วนของภาครัฐ องค์กรชุมชน เครือข่ายทั้งดรงเรียนและครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ จึงสนใจที่จะทำโครงการนี้เพื่อเกิดการสร้างองค์ความรู้และสร้างความตระหนักแก่กลุ่มเป้าหมายอันได้แก่วัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ และหญิงวัยเจริญพันธุ์ทั่วไป และสร้างเครือข่ายการดูแลงานอนามัยเจริญพันธุ์ ที่มีการประสานการดูแลร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เยาวชนกลุ่มวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา พัฒนาการตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและมีทักาะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศได้เหมาะสม

ระดับความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องเพศศึกษาเพิ่มขึ้น ก่อน-หลัง การอบรมอย่างน้อย

80.00 80.00
2 2 เพื่อให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ มีความตระหนัก และมีการจัดการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม
  • ระดับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ก่อน-หลัง การอบรม
  • อัตราการตั้งครรภ์ไม่พร้อม หรือการตั้งครรภ์วัยรุ่นลดลง
80.00 10.00
3 3 เพื่อสร้างเครือข่ายอนามัยเจริญพันธุืในดรงเรียนหมู่บ้านและชุมชน

ชุมชนเข้มแข็ง (ครอบครัว ชุมชน) มีเครือข่ายในการดูแล ให้คำปรึกษา

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 266
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2018

กำหนดเสร็จ 28/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (กลุ่มวัยรุ่น 166 คน,สตรีวัยเจริญพันธุ์หญิงตั้งครรภ์ 100 คน)

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (กลุ่มวัยรุ่น 166 คน,สตรีวัยเจริญพันธุ์หญิงตั้งครรภ์ 100 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าวิทยากร บรรยาย 2 คนๆละ 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท จำนวน 2 วัน  เป็นเงิน 7,200 บาท 2 ค่าอาหารว่าง จำนวน 266 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 13,300 บาท 3 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 266 คนๆละ 50 จำนวน 2 มื้อ เป้นเงิน 26,600 บาท 4 ค่าวัสดุ 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 28 กันยายน 2561
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มวัยรุ่น 166 คน
  • สตรีวัยเจริยพันธุืและหญิงตั้งครรภ์ 100 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา สามารถจัดการปัยหาเรื่องเพศศึกษาได้ถูกต้อง
2 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีการดูแลการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากต่อเนื่อง
3 หญิงวัยเจริญพันธุ์เลือกการเว้นช่วงมีบุตรอย่างปลอดภัย รู้จักป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ เข้าร่วมคัดกรองมะเร็งปากมดลุก และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
4 เกิดเครือข่ายอนามัยเจริญพันธุ์ในโรงเรียน หมู่บ้าน ชุมชน ที่มีการทำงานเชิงรุกและมีการส่งต่อเมื่อเกิดปัยหาได้
5 ลดอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ก่อนอายุ 20 ปี) ในพื้นที่ตำบลประกอบ


>