กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนร่วมใจ ห่วงใยผู้สูงวัย ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ตำบลประกอบ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจ ห่วงใยผู้สูงวัย ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ตำบลประกอบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่

นางสุวดี จันกระจ่าง

ตำบลประกอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง

 

22.41
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีโรคเบาหวาน

 

3.44
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

 

1.41
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีปัยหาโรคหลอดเลือดสมองทำให้มีปัญหาอัมพฤกษ์ อัมพาต

 

2.19

สภาพสังคมในปัจจุบันประเทศไทยกำลังมุ่งเข้าสู่สังคมแห่งผู้สูงวัย ทั้งนี้ผู้สูงอายุจำนวนมากขาดการดูแลเอาใจใส่ ถูกทอดทิ้งให้อยุ่ตามลำพัง หรืออยู่กับเด็กในวัยเรียนและก่อนวัยเรียน โดยบุตรหลานวัยทำงานต้องดิ้นรนออกไปทำงานนอกพื้นที่ เพราะสภาพเศรษฐกิจในปัขขุบันเกิดการชะลอตัวค่าครองชีพ เครื่องอุปดภค บริโภค มีราคาสูง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายให้บุตรหลาน ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ ผู้สูงอายุ บางรายปล่อยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพังด้วยเงินเบี้ยยังชีพเท่านั้น ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส หลายรายในสังคมโรคประจำตัวหรือต้องเป้นผู้ติดเตียง ไม่มีโอกาสได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มหรือชมรมต่างๆ บางรายอาจเกิดความน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ชนบท ตั้งอยู่ในเขตองคืการบริหารส่วนตำบลประกอบ มีประชากรทั้งสิ้น 6,615 คน (จากฐานข้อมูลในระบบ JHCIS ของ รพ.สต.บ้านใหม่ ) รับผิดชอบทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 638 คน คิดเป็นร้อยละ 9.64 ของประชากรทั้งหมด โรคเรื้อรังที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุตำบลประกอบ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 143 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.41 โรคเบาหวาน 22 ราย คิดเป็นเป็นร้อยละ 3.44 ทั้งโรคความดันและเบาหวานจำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.41 ผู้สูงอายุที่มีปัยหาโรคหลอดเลือดสมองทำให้มีปัยหาอัมพฤกษ์ อัมพาต 14 ราย (จากผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ทั้งหมด 16 ราย) คิดเป็นร้อยละ 2.19 นอกจากนั้นยังพบว่ามีผู้สูงอายุในชุมชนส่วนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้อยุ่ตามลำพัง ขาดผู้ดูแลทั้งที บางรายมีโรคประจำตัวและช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ซึ่งเป็นปัยหาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
จากสภาพปัญหาการเจ้บป่วยด้วยดรคเรื้อรังของผู้สูงอายุดังกล่าว ทำให้ผู้สูงองายุสูญเสียการมีสุขภาพที่ดี และความเสื่อมของร่างกายทำให้เกิดปัยหาการพึ่งพิงสูง บางรายมีภาวะแทรกซ้อนยจากการเจ็บป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ซึ่งเป็นภาวะการดูแลของคนในครอบครัว และชุมฃนในการดูแล จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งหมดของตำบลประกอบ ในปีงบประมาณ 2560 แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน พบว่าจากผู้สูงอายุทั้งหมด 638 คน เป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 1 ช่วยเหลือตัวเองได้ดี จำนวน 607 คน คิดเป็นร้อยละ 94.83 เป็นผู้สูงออายุประเภทที่2 ช่วยตัวเองได้บ้าง (ติดบ้าน) จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 3.76 และเป้นผู้สูงอายุประเภทที่ 3ต้องพึ่งพิงคนอื่น จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 1.41 และผู้ด้อยดอกาส จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 2.19 บางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป้นปัญหาเรื้อรังและพิการตามมา เป็นภาระของผู้ดูแล ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลกระทบต่อรับบเศรษฐกิจของครอบครัวเนื่องจากผู้ดูแลบางคนต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง และปัญหาระดับประเทศชาติ คือภาระค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเมื่อเกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ ตำบลประกอบ จึงเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนร่วม ห่วงใยผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ป่วยติดเตียง ขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยเรื้อรังและความพิการที่จะตามมา เสริมสร้าง พลัง กำลังใจแก่กลุ่มต่างๆ องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนตั้งแต่ตัวของผู้ป่วย ผู้ดูแล กลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และกลุ่มจิตอาสาอื่นๆให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางในการดูแล การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน อันจะส่งผลให้ผ฿้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยติดเตียงและญาติ ได้รับการดุแลที่ตรงตามปัญหาและความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชนอย่างต่อเนื่องและระยะยาว เพื่อให้มีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มจิตอาสา ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยติดเตียง ในชุมชน

การมีส่วนร่วมของชุมชน และกลุ่มจิตอาสาต่างๆ ในการร่วมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ป่วยติดเตียง

188.00 150.00
2 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยดอกาส และผู้ป่วยติดเตียง ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ และแก้ไขปัยหาสุขภาพออย่างครอบคลุม

ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ด้อยโอกาส ได้เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข

638.00 607.00
3 3 เพื่อส่งเสริมให้มีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่องในชุมชนตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ การเยี่ยมกันเองในกลุ่มป่วย และการดูแลซึ่งกันและกันระยะยาว และการดูแลระยะสุดท้ายในชุมชน

เกิดชมรมผุ้สูงอายุและมีกิจกรรมที่ยั่งยืนในชุมชน

1.00 1.00
4 4 เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ป่วยติดเตียง

ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยดอกาส และผู้ป่วยติดเตียง มีความพึงพอใจ ต่อการดำเนินกิจกรรม

100.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 638
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2018

กำหนดเสร็จ 28/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น อสม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวน 103 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจภาวะสุขภาพที่พึงประสงค์ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจภาวะสุขภาพที่พึงประสงค์ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สำรวจสุขภาวะที่พึงประสงคืผู้สูงอายุ
  • อบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขอนามัยของผู้สูงวัย ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และผู้ด้อยโอกาส แก่จิตอาสาในการร่วมดูแลกลุ่มเป้าหมาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2561 ถึง 28 กันยายน 2561
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุ 638 คน จิตอาสา 103 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,275.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 มีกลไกการขับเคลื่อนกิจกรรมการดุแลและเยี่ยมผุ้ป่วยที่มีสภาพติดบ้าน ติดเตียง และผู้ด้อยโอกาส จากทั้งภาครัฐและชุมชน รวมถึงภาคีเครือข่าย อสม. และจิตอาสา ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (คนประกอบไม่ทอดทิ้งกัน)
2 มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง มีการเชื่อมประสานกับเครือข่ายและหน่วยราชการที่มีส่วยเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ
3 ชุมชนมีความรู้และสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง เหมาะสม


>