กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพตำบลประกอบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่

นางสาวณัฐนิชา เจ๊ะเล๊าะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของอำเภอนาทวี ปี 2560 พบว่า มีฟันผุ คิดเป็นร้อยละ 63.57 เป้นปัยหาฟันผุสูงมาก ทั้งที่มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มาโดยตลอด และจากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ประกอบ ปี 2560 จำนวน 37 คน พบว่ามีฟันผุ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 70.27 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดในฟันน้ำนม เฉลี่ย คนละ 5.5 ซี่/คน ซึ่งสาเหตุของการเกิดฟันผุเนื่องจากเด็กชอบรับประทานอาหารรสหวาน อยู่เสมอ รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กขาดการเอาใจใส่ดูแลช่องปากและฟันของเด็กจึงทำให้เกิดปัญหาฟันน้ำนมผุตามมา
การเกิดฟันผุในน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หลือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกัน ล้มเอียงเข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิดซ้อนกัน หรือมีขนาดไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป้นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการติดตามประเมินผล ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัยหาดังกล่าวจึงได้จัดโครงการ เฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย?พัฒฯาเด็กเล็ก อบต.ประกอบ นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน

อัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน

60.00 60.00
2 2 เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็ก

ผู้ปกครองมีความรู้ และพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก แก่เด็ก

80.00 80.00
3 3 เพื่อให้คุณครูหรือครูพี่เลี้ยงเด็กมีความรู้ ที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็กใน ศพด.

ครูทุกคนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กใน ศพด. ได้อย่างถูกต้อง

4.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 37
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2018

กำหนดเสร็จ 28/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้ทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 28 กันยายน 2561
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

74

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,680.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาวะทันตสุขภาพที่ดีขึ้น ลดปัยหาการเกิดโรคในช่องปากและฟันของเด็ก
2 ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ และทัศนคติที่ดีในการดุลความสะอาดช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียน
3 คุณครูหรือครูพี่เลี้ยงเด็กมีความรู้ที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด้กก่อนวัยเรียน
4 เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
5 เด็กได้รับการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาความสะอาดช่องปากและฟัน
6 เด็กก่อนวัยเรียนมีอนามัยช่องปากที่ดีไม่เป็นปัญหา
7 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และการบริการทันตกรรมทุกปีการศึกษา


>