กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ในพื้นที่ อบต.นาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ถูกต้อง

 

70.00
2 วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีเพียงพอ

 

80.00

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 30มิถุนายน พ.ศ.2564ซึ่งจํานวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศได้เพิ่มจํานวนขึ้น อย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่ค่อนข้างรวดเร็วสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกที่ 3 ในจังหวัดสงขลา ในเดือนมิถุนายน 2564 มียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2564 จำนวน ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน2,671 รายอาการรุนแรงจำนวน 1,209 รายเสียชีวิตจำนวน 1,236 ราย และผู้ป่วยยืนยันกลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศและกักกันในพื้นที่ที่รัฐกำหนดจำนวน 4,164 รายผู้ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 83 ราย เสียชีวิตจำนวน 3รายและผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง จำนวนผู้ป่วยสะสมรวมทั้งสิ้น 2,056,702ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 10,522รายและจากกรณีมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 บ้านประจ่าเหนือ ตำบลนาหว้าซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน ๒๕๖๔ มีผู้ติดเชื้อ ๑6 คน แยกเป็นในตำบลนาหว้า 13 คน (หมู่ที่ 5 บ้านประจ่า 12 คน และหมู่ที่ 2 บ้านเกาะทากเหนือ 1 คน) ตำบลน้ำขาว 2 คน และตำบลแค 1 คน พักรักษาตัวอยู่ รพ.สงขลา 1 คน, รพ.มอ.1 คน และรพ.จะนะ 14 คน ซึ่งการเผชิญการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการ DMHTT คือแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ในการชะลอการระบาดของ โควิด-19 ดังนี้ D - Distancing : อยู่ห่างไว้ M - Mask wearing : ใส่แมสก์กัน H - Hand wash : หมั่นล้างมือ T - Testing : ตรวจวัดอุณหภูมิ และ T - Thai Cha na : ใช้แอปฯ ไทยชนะ
องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ได้ตระหนักและห่วงใยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ตำบลนาหว้าที่ต้องเผชิญกับภาวะการระบาดอย่างหนักของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วอีกทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมและ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 มาตรา 67 (3) การพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การป้องกันและระงับโรคติดต่อและตามระเบียบกระทรวงหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. พ.ศ.2560 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 ข้อ 13 ประกอบกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ร้อยละของประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เพิ่มขึ้น

70.00 100.00
2 เพื่อให้มีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่นเจล แอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย น้ำยาฆ่าเชื้อ ฯลฯ

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 800
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 900
กลุ่มวัยทำงาน 2,100
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 90
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 250
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2564 ถึง 14 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมรณรงค์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจและได้รับรู้ข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชุดป้องกันตนเอง PPE จำนวน 50 ชุดๆ ละ 290บาท เป็นเงิน 14,500 บาท
  2. หน้ากาก N95 ขนาด 50 ชิ้น/กล่อง จำนวน 5 กล่องๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  3. หน้ากากอนามัย (Surgicalmask) ขนาด50 ชิ้น/กล่อง จำนวน 2,200 กล่องๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 264,000 บาท
  4. เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ขนาด 500 ซีซี/ขวดๆละ 150 บาท จำนวน 350 ขวด เป็นเงิน 52,500 บาท
  5. ถุงคลุมเท้า จำนวน 50 คู่ๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  6. น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ขนาด 5 ลิตร ขวดละ 1,500 บาท จำนวน 2 ขวด เป็นเงิน 3,000 บาท
  7. ถุงมือทางการแพทย์ จำนวน 5 กล่องๆ ละ 280 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
  8. หมวกคลุมผม จำนวน 1 กล่อง (100ใบ) ราคา 260 บาท เป็นเงิน 260 บาท
  9. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบฝ่ามือ จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 2,200 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2564 ถึง 18 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพียงพอต่อการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
348810.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 348,810.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2. ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารตำบลนาหว้า ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>