กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านแม่เตยร่วมใจ ป้องกันภัยโควิด-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านแม่เตย หมู่ที่ 1

1.นางวรรณี คลิ้งบัวทอง
2.นางดรุณี มุสิกพันธ์
3.นางสาวมัลลิกา มาลากุล
4.นางสาวเมสินี ไชยกูล
5.นางสิริมนต์ จุลทอง

หมู่ที่1 บ้านแม่เตย ต.ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อสะสมจำนวน 84,692 ราย ผู้เสียชีวิต จำนวน 35 รายรักษาหาย จำนวน 42,492 ราย และมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง กระจายหลายจังหวัดทั่วประเทศ ในส่วนจังหวัดสงขลา มีผู้ติดเชื้อสะสม จำนวน 1,053 ราย ผู้เสียชีวิต จำนวน 5 ราย ปัจจุบันตำบลท่าข้าม มีผู้ติดเชื้อ จำนวน 4 ราย รักษาหาย จำนวน 4 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต (ข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2564) และมีกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศและจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านแม่เตย หมู่ที่ 1 จึงมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านแม่เตย หมู่ที่ 1 จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

1.สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม
2.กลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัว เฝ้าระวัง สังเกตอาการ Home Quaruntine และ Self Quaruntine ได้รับการติดตาม สังเกตอาการจาก อสม. จนครบ 14 วัน 3.ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

0.00

1.เพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รณรงค์ให้ความรู้ เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การป้องกันโรค สถานการณ์การแพร่ระบาด คำสั่ง ประกาศ มาตรการต่างๆที่ภาครัฐกำหนดและวัคซีนป้องกันโรค แบบเคาะประตูบ้าน ในครัวเรือนที่รับผิดชอบ 2.ค้นหาผู้ป่วย ผู้สัมผัสโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19) ในครัวเรือนที่รับผิดชอบ 3.ติดตาม เฝ้าระวัง สังเกตอาการ กลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศและจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19) ตลอดระยะเวลา 14 วัน 4.ให้บริการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19) ในกิจกรรม/งานต่างๆ ที่มีคนเข้าร่วมจำนวนมาก เช่น งานศพ งานบวช งานมงคล และตลาดในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 15คนๆละ 75 บาท เดือนละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 เดือน  เป็นเงิน 6,750บาท -เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายอินฟาเรดแบบขาตั้ง จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,200 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท -เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายอินฟาเรดแบบพกพา จำนวน  4 เครื่องๆละ 1,600 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท -ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล จำนวน 5 อันๆละ 220 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
-เจลแอลกอฮอล์ 70 % จำนวน  36 ขวดๆละ 170 บาท เป็นเงิน 6,120 บาท -ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง เบอร์ M จำนวน 5 กล่องๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท -Face shield จำนวน 15 ชิ้นๆละ 40 บาท เป็นเงิน 600 บาท -ค่าวัสดุเชื้อเพลิงให้แก่ อสม.ที่ให้บริการตรวจสุขภาพ รับ-ส่ง ยา ให้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตครัวเรือนที่รับผิดชอบ เดือนละ 2 ครั้งๆละ 50 บาท X15 คนX3 เดือน เป็นเงิน 4,500 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
2.สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม


>