กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง(โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง(โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลประกอบ

- นางอุษณีย์ สุวรรณชาตรี
- นายเต๊าะฝา หมัดละ
- นายอับดุลเล๊าะ มะลี
- นางสาวอานิตา ไพโรจน์
- นางสาวสุภาวรรณ หนูหวาน

ตำบลประกอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วมกัน

 

164.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร้ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน การบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีดอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วมกับ รพ.สต.บ้านใหม่ ในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในตำบลประกอบ ปี 2560 จำนวน 2,273 ราย พบว่า มีผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน(ค่าระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่า 110) 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.50 และคัดกรองความดันโลหิต จำนวน 1,955 ราย พบว่า เสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจ การสูญเสีย ทั้งตัวบุคคล ครอบครัวและชุมชนหากประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงทุกกลุ่มวัย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

ประชาชนมีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

164.00 150.00
2 2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ทุกกลุ่มวัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

กลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลให้อยุ่ในเกณฑ์ปกติได้

165.00 165.00
3 เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชน ชุมชนเห็นความสำคัญและตระหนักถึงการป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของโรค

ชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีมาตรการทางสังคมในการจัดสุขภาพของคนในชุมชนได้

7.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 28/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสมแก่กลุ่มเสี่ยง โดยเน้นหลัก 3 อ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2561 ถึง 28 กันยายน 2561
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

164

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 กลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ และผู้สูงอายุมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
2 กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดได้ในระดับปกติ และมีสุขภาพดี
3 อัตราการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ลดลง


>