กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการชุมชนร่วมใจ ขจัดภัยวัณโรค ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

โครงการชุมชนร่วมใจ ขจัดภัยวัณโรคปี 2564

1 นางนภสรสุริวงศ์
2 นางพนิดาสุริวงศ์
3 นางเมธินีชาติดำ
4นางสาวหัสนิดาหมันหลี
5. นางสาวสาลินีอรุณศรี

ตำบลท่าข้าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในอดีตที่ผ่านมา วัณโรคดูเหมือนจะสงบหรือลดลงในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่ปัจจุบันวัณโรคได้กลับมาใหม่ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งนอกจากจะทำให้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยาหลายชนิดเพิ่มขึ้นด้วย
วัณโรคเป็นโรคติดต่อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียวัณโรค เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่ายกาย แต่โดยมากมักเป็นที่ปอด มักจะจับที่ปอดข้างหนึ่งก่อนแล้วลามไปอีกข้างหนึ่ง ผู้ป่วยวัณโรคในระยะแพร่เชื้อ 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 10-15 คนถ้าไม่ได้รับการรักษาภายในระยะเวลา 1-1 ½ ปี จะมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 30-50ภายในระยะเวลา 5 ปี ถ้าได้รับการรักษาถูกต้องจะหายจากโรค1ใน 3 ของประชากรโลกได้สัมผัสเชื้อวัณโรคในแต่ละปีมีประชากร 8 ล้านคนจะป่วยเป็นวัณโรค และ 2 ล้านคนเสียชีวิตอุบัติการณ์ของโรคในแต่ละปี อยู่ระหว่าง 41-356 คนต่อแสนประชากร สำหรับในเขตพื้นที่ของตำบลท่าข้ามจำนวนผู้ป่วย 5 ปีย้อนหลัง ( ปี2559 – ปี2563) ดังนี้ ปี 2559จำนวน 10 คน, ปี2560 จำนวน 7 คน ,ปี 2561 จำนวน 10 คนปี 2562 จำนวน8คน, ปี2563 จำนวน 7คนสำหรับปี 2564 มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 3 ราย ซึ่งทั้ง 3 รายกำลังอยู่ระหว่างการรักษา(งานระบาดวิทยา: รพ.สต.ท่าข้าม )
วิธีการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆกว่า 100 ประเทศนำไปปฏิบัติได้ผลดี คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อโดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาจนหายจากวัณโรค และไม่แพร่เชื้อต่อไปอีกวัณโรคเป็นเรื่องที่ชุมชนควรตระหนักและให้ความสำคัญ เพราะเชื้อวัณโรคสามารถติดต่อได้ในชุมชน ฉะนั้น องค์กรในชุมชนควรมีบทบาทร่วมในการเป็นพี่เลี้ยงกำกับดูแลการการกินยาต่อหน้า ซึ่งกระบวนการเป็นพี่เลี้ยงดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยองค์กรชุมชน เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของสมาชิกในชุมชน อันเป็นแนวทางหลักของการสาธารณสุขมูลฐาน และยังเป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพของชุมชนที่จะนำไปสู่การพึ่งตนเองที่ยั่งยืน ด้วยแรงบันดาลใจที่จะช่วยตนเองด้วยกำลังและความสามารถที่ชุมชนมีอยู่ ด้วยเหตุผลดังกล่าวเพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคในพื้นที่ตำบลท่าข้าม ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนร่วมใจขจัดภัยวัณโรค ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้สัมผัสร่วมบ้านและประชาชนทั่วไปมีความรู้และสามารถป้องกันตนเอง ข้อที่ 2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และเยี่ยมติดตามดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน

กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม ร้อยละ 80 มีความรู้เพิ่มขึ้น

-  ผู้มีอาการสงสัยได้รับการส่งต่อพบแพทย์ร้อยละ 100
- ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ ใหม่ทุกราย ได้รับการรักษาตามมาตรฐานจนครบกำหนดรักษาและหายขาด
- ผู้ป่วยทุกรายได้รับการติดตามเยี่ยมดูแลแบบมีพี่เลี้ยงโดยอสม.จนครบตามเกณฑ์มาตรฐานการรักษา

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ป้องกันโรควัณโรค

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันโรควัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 พัฒนาศักยภาพแก่กลุ่มต่างๆในพื้นที่ 1.1 กิจกรรมย่อย อบรมแกนนำในการกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง
1.2 กิจกรรมย่อย อบรมผู้สัมผัสร่วมบ้าน จำนวน 2 รุ่นๆละ 20 คน 1.3 กิจกรรมย่อย อบรมอสม.และประชาชนทั่วไปในการค้นหาผู้ป่วย จำนวน 2 รุ่นๆละ 25 คน 2.กิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยและติดตามดูแลผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
2.1 กิจกรรมย่อย การส่งต่อกลุ่มเสี่ยงไปเอกซเรย์ที่โรงพยาบาล

2.2 กิจกรรมย่อยการคัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงและติดตามเยี่ยมผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คน × 25 บาท × 2 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 20 คน × 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชม. × 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน × 25 บาท  × 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 40 คน × 70 บาท เป็นเงิน  2,800  บาท
  • ค่าเอกสารในการอบรม 40 ชุด × 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชม. × 600 บาท x 2 รุ่น   เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน × 25 บาท  × 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 คน × 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชม. × 600 บาท x 2 รุ่น   เป็นเงิน 6,000 บาท

-  ค่าจ้างเหมารถรับ – ส่งผู้สัมผัสร่วมบ้านและกลุ่มเสี่ยง  x-rayที่โรงพยาบาล  700บาท × 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,400  บาท - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน × 70บาท x 6 ครั้ง   เป็นเงิน 4,200 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคร่วมบ้านทุกรายได้รับการx-ray ได้รับการวินิจฉัยการรักษาและได้รับการรักษาตามมาตรฐานจนหายขาดทุกราย
2. ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าในเรื่องวัณโรค และสามารถดูแลป้องกันตนเอง และครอบครัว ให้ห่างไกลจากวัณโรคได้
3. จำนวนผู้ป่วยวัณโรคลดลง


>