กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บ้านทุ่งโพธิ์ "หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งโพธิ์

1. นางสมจิต คงสีแก้ว
2. นางชูศรี เพชรช่วย
3. นางจิราภรณ์ สกุลหนู
4. นางภิญโญ วงศ์นคร
5. นางพยอมบกเขาแดง

ม.5 บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

7.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

10.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

10.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

0.00

จากสภาพปัจจุบันชุมชน บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและประชาชนเพิ่มขึ้นจะมีปัญหาในเรื่องขยะที่นับวัน ปริมาณขยะจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำให้ชุมชนไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดูไม่เป็นระเบียบไม่สะอาดและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น โรคระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำและอาหารเป็นสื่อ หรือสารพิษจากขยะที่เป็นสารเคมี เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะ ให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นาไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการทำลายที่ปลอดภัย ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่าขยะรีไซเคิล มีชนิดใดบ้างก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเภทนั้น ๆ
ดังนั้น หากมีการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยมีการสร้างแกนนำให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ จึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจการลด คัดแยก นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับแกนนำ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 มีครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดมีการคัดแยกขยะเป็นประจำ

7.00 20.00
2 มีครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดมีการใช้ประโยชน์จากขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

10.00 20.00
3 มีครัวเรือนมีการนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดมีการนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

10.00 20.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

เกิดกลุ่มในการจัดการขยะในชุมชน

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ3Rs การใช้ประโยชน์จากขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ3Rs การใช้ประโยชน์จากขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมผู้นำหรือตัวแทนประชาชนในแต่ละเขต ทั้ง 7 เขต เขตละ10 คน ให้ความรู้เรื่องต่างๆดังนี้ 1.1 การลดขยะด้วยแนวคิด 3Rs รักษ์โลก หรือหลัก 3ช 1.2 การคัดแยกขยะแต่ละประเภท 1.3 การทำน้ำหมักชีวภาพอย่างง่ายในครัวเรือน

- ค่าอาหารว่าง จำนวน 70 คน คนละ 25 บาทเป็นเงิน 1,750 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าเอกสารความรู้เรื่อง การจัดการขยะ 100 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด สูง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร ราคาตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2566 ถึง 26 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่สามารถคัดแยกขยะได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4100.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนดังนี้ 1. การลดขยะด้วยแนวคิด 3Rs รักษ์โลก 2. การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ
3. ป้ายรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง:การลดขยะด้วยแนวคิด 3Rs รักษ์โลก ขนาดสูง 2 เมตร ยาว 2.50 เมตร จำนวน 14 ป้าย (ให้เขตละหนึ่งป้าย จำนวน 7 ป้าย ให้โรงเรียน 1 ป้าย และบริเวณข้างถนน 4 ป้ายเก็บไว้ใน ศสมช. 2 ป้าย) ราคาป้ายละ 750 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท 4. ป้าย:ห้ามทิ้งขยะบริเวณนี้ ฝ่าฝืนปรับ 2,000 บาทขนาดสูง 2 เมตร ยาว 2.50 เมตร จำนวน 4 ป้าย ป้ายละ 750 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 5. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะทุกประเภทอย่างถูกวิธี ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสายในชุมชนทุกวันศุกร์ ประชุมประจำเดือนชาวบ้านกลุ่มไลน์หมู่บ้าน หรืออื่นๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 3 ธนาคารขยะ

ชื่อกิจกรรม
ธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. บริการรับฝากขยะแปลงเป็นเงิน

- ค่าป้ายไวนิวจุดรับฝากธนาคารขยะ ขยาดสูง 1.5 เมตร สูง 2 เมตร คิดเป็น 3 ตารางเมตร ราคาตารางเมตรละ 150 บาท คิดเป็นเงิน 450 บาท - ค่าตาชั่งขนาดรับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัม ราคา 3,000 บาท - ค่าเครื่องคิดเลข(หน้าจอใหญ่) จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 700 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
- สมุดประจำตัวสมาชิก ราคาเล่มละ 5 บาท จำนวน 50 เล่ม เป็นเงิน 250 บาท - สมุดเบอร์2 (สำหรับทำทะเบียนลูกค้า บัญชีรายรับรายจ่าย และอื่นๆ) จำนวน 5 เล่มเล่มละ 85 บาท เป็นเงิน 425 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนมีรายได้จากกาฝากขยะกับธนาคาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5525.00

กิจกรรมที่ 4 บ้านต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
บ้านต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แต่ละเขตคัดเลือกบ้่านเข้ารับการประเมินบ้านต้นแบบในการจัดการขยะ อย่างน้อยเขตละ 1 หลัง โดยจะมีกรรมการลงประเมินคัดเลือก ซึ่งครธกรรมการประกอบด้วย 5 ท่านได้แก่ 1. นายกเทศมนตรี2. ตัวแทนจากสาธารณสุข3. ปลัดประจำตำบล 4.ผอ.โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์และ 5.ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 บ้านทุ่งโพธิ์

- ค่าเบี้ยเลี้ยงคณะกรรการในวันที่ประเมิน คนละ 120 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 600 บาท - ค่าธงบ้านต้นแบบ จำนวน 7 ผืน (มอบให้ตัวแทนที่เข้ารับการประเมิน)ราคาผืนละ 25 บาท เป็นเงิน 175 บาท
- ค่าเกียรติบัตรมอบให้ผู้ที่มีคะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-3ใบละ 15 บาท เป็นเงิน 45 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2566 ถึง 20 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีบ้านต้นแบบการจัดการขยะ อย่างน้อย 7 หลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
820.00

กิจกรรมที่ 5 ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ โดยตั้งที่ศสมช.บ้านทุ่งโพธิ์หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งโพธิ์

- ค่าถังขยะ 4 สี่ ขนาด 60 ลิตร ใบละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ป้ายโฟมบอดสำหรับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ขนาด สูง 1 เมตร ยาว 2 เมตร คิดเป็น 2 ตารางเมตรละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500บาท - ตู้โชว์บานกระจก สำหรับโชว์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากขยะ 1 ใบ ราคา 4,000 บาท - โต๊ะสำหรับทำงานและเก็บเอกสาร จำนวน 2 ตัว ตัวละ4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท 2. จัดอบรมขยะเพิ่มอาชีพสร้างเงิน
จัดอบรมการสร้างอาชีพจากขยะ 2 รุ่น โดยผู้ที่สนใจรุ่นละ 10 คน รุ่นละ 3 ชั่วโมง - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะ 1 ศุนย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,445.00 บาท

หมายเหตุ :
รายจ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำเพิ่มขึ้น
2. ครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
4. ครัวเรือนมีการนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า
4. เกิดหมู่บ้านต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในการจัดการขยะ


>