กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี

ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันปัญหาทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งโรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 - 3 ปี โดยประกอบด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ทั้งโครงสร้างของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีผลต่อการดูแลรักษาฟันและการดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็กไม่ถูกวิธี จึงส่งผลให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็ก จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศปี 2561 พบว่ากลุ่มเด็กอายุ 3 ปีมีฟันน้ำนมผุร้อยละ 51.1 ในขณะที่ภาคใต้เขตสุขภาพที่ 12 พบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ เป็นร้อยละ 56.3 สำหรับจังหวัดพัทลุง แม้โรคฟันผุของเด็กเล็กจะมีความชุกต่ำสุดในเครือข่าย แต่ก็พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของประเทศ โดยจากการสำรวจสภาวะช่องปาก ตั้งแต่ปี 2559 - 2561 พบว่ามีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 60.73, 62.59 และ 52.54 ตามลำดับ โดยอำเภอที่มีความชุกสูงสุด ได้แก่ อำเภอศรีนครินทร์ และอำเภอปากพะยูน
จากการสำรวจเด็ก 3 – 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลฝาละมี จำนวน 8 ศูนย์พบว่า เด็กมีอัตราฟันผุร้อยละ 55.18 ซึ่งตามเกณฑ์ตัวชี้วัดจังหวัดร้อยละฟันผุต้องไม่เกิน 50 และจากผลการดำเนินงานในปี 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี พบว่ามีกิจกรรมที่ควรพัฒนา คือ การฝึกทักษะผู้ปกครองแปรงฟันให้ลูก พบว่ามีผู้ปกครองได้รับการฝึกทักษะเพียง ร้อยละ 25.58 และเด็กได้รับฟลูออไรด์วานิชเสริม ร้อยละ 44.42 เฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อปีสำหรับการทาฟลูออไรด์วานิชเพียง 1 ครั้งต่อปีนั้น อาจไม่ส่งผลต่อประสิทธิผลในเชิงป้องกันการเกิดฟันผุในเด็กเล็กได้ ซึ่งจากหลายการศึกษาพบว่าผลเชิงป้องกันของฟลูออไรด์วานิชต้องทาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี และประสิทธิผลสูงสุดเมื่อมีการประเมินความเสี่ยงของเด็กทุกครั้งก่อนทา การฝึกทักษะให้ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้ลูกได้ และการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกตามระดับความเสี่ยง และติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เห็นความสำคัญในการที่จะลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่ตำบลฝาละมี โดยการแปรงฟันที่มีคุณภาพ ร่วมกับกระบวนการให้บริการทันตกรรมป้องกันโดยการทาฟลูออไรด์วานิชที่มีคุณภาพ การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ส่งเสริมสนับสนุนในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่เด็กอายุ 3 – 5 ปี อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก 3 - 5 ปี เพื่อบูรณาการส่งเสริมป้องกันฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก

. ร้อยละของ 100 ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการบริการตรวจสุขภาพในช่องปาก

80.00 100.00
2 เพื่อลดการลุกลามของรอยโรคฟันผุในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน

ร้อยละ 100 ของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

80.00 100.00
3 เพื่อให้มีสื่อการเรียนการสอนเรื่องการแปรงฟันในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลฝาละมี

ร้อยละ 100 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบล                                                                                              ฝาละมีได้รับโมเดลสอนการแปรงฟัน

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็ก 3 - 5 ปี

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็ก 3 - 5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็ก 3 - 5  ปี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปาก เด็ก 3 - 5  ปี  จำนวน  200 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35400.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 3 - 5 ปี พร้อมกับทาฟลูออไรด์วานิชให้แก่เด็ก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 3 - 5 ปี พร้อมกับทาฟลูออไรด์วานิชให้แก่เด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 3 - 5 ปี พร้อมกับทาฟลูออไรด์วานิชให้แก่เด็ก และมอบโมเดลสอนการแปรงฟันให้แก่ครูพี่เลี้ยงเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตพื้นที่ตำบลฝาละมี จำนวน             8 ศูนย์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก 3 - 5 ปี จำนวน  200 คน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตพื้นที่ตำบลฝาละมี จำนวน             8 ศูนย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสภาวะทันตสุขภาพที่ดีขึ้น
2. เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลฝาละมีทั้งหมด มีสื่อสำหรับการเรียนการสอนเรื่องการแปรงฟัน


>