กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดตั้งและบริหารจัดการระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 โดยการแยกสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) ตำบลฝาละมี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งและบริหารจัดการระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 โดยการแยกสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) ตำบลฝาละมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลฝาละมี

1. นางบุญพาพรหมแก้ว
2. นายนิยมบุญเฟื่อง
3. นายประยูรเกษตรกาลาม์
4. นายสุทินจิตโตฤทธิ์
5. นางเพียรกวดขัน

ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-๑๙) ได้มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่หลายจังหวัด ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-๑๙) เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มของจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น เกินขึดความสามารถของโรงพยาบาลในการรับดูแลผู้ป่วย ประกอบกับตำบล ฝาละมี มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) จำนวน ๙ ราย และมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคมีคำสั่งให้กักตัวเป็นเวลา ๑๔ วัน จำนวน ๕๒ ราย และขณะนี้มีแนวโน้มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่อย่างรวดเร็ว
เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) ข้อ ๗ (๓) กำหนดให้โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการป้องกันและดูแลผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชน จัดหายา เวชภัณฑ์ เครื่องมือในการตรวจโรค เครื่องช่วยในการหายใจ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นให้เพียงพอตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือแนะนำ
ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-๑๙) ให้กับประชาชนในพื้นที่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลฝาละมี จึงกำหนดจัดทำโครงการจัดตั้งและบริหารจัดการระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (LQ) ตำบลฝาละมี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อให้ชุมชนมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ที่ได้รับคำสั่งให้กักตัวจากเจ้าพนักงานควบคุมโรค ได้รับการปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสม

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการกักตัวตามหลักการที่ถูกต้อง ได้รับการดูแลจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

52.00 52.00
2 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ในพื้นที่

จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงรายเดิมมีอัตราลดลง และไม่เกิดประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงรายใหม่ในพื้นที่

12.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 52
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน สร้างความเข้าใจ และรับฟังข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน สร้างความเข้าใจ และรับฟังข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน สร้างความเข้าใจ และรับฟังข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 10 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวน 11 หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เจ้าพนักงานควบคุมโรค ออกคำสั่งให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการกักตัวตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
เจ้าพนักงานควบคุมโรค ออกคำสั่งให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการกักตัวตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าพนักงานควบคุมโรค ออกคำสั่งให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้รับการกักตัวตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวน 11 หมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการบริหารจัดการระบบการกักตัวของประชาชนผู้มีกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการบริหารจัดการระบบการกักตัวของประชาชนผู้มีกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการบริหารจัดการระบบการกักตัวของประชาชนผู้มีกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ติดเชื้อและมีความเสี่ยง ที่ต้องกักตัว จำนวน 52 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99500.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

(1) สามารถลดอัตราการแพร่ระบาดโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ได้
(2) ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด


>