กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกัน พิษภัยบุหรี่ แก่เยาวชน โรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดาจารูนอก จังหวัดยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกัน พิษภัยบุหรี่ แก่เยาวชน โรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดาจารูนอก จังหวัดยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

โรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดาจารูนอก
1.นางรอสเมาะห์ บาเหะ
2.น.ส.รอกีเยาะ เจ๊ะแว
3.นายอาลี กามา
4.นายอนันต์ สาเมาะ
5.น.ส.รอยฮาน บือโต

พื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

“บุหรี่”ปัจจัยเสี่ยงที่มีสำคัญลำดับต้นๆของปัญหาสุขภาพของในปัจจุบันรวมถึงประเทศไทยโดยเฉพาะ4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล ปัตตานียะลา และนราธิวาส) จะมีจำนวนคนสูบบุหรี่มากกว่าหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย จังหวัดยะลามี 8 อำเภอ 58 ตำบล 380 หมู่บ้าน มีประชากร จำนวน 448,326 คน เป็นเพศชาย 219,165 คนเพศหญิง 229,161 คน นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 79.60 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 20.13 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.27(ข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ ณ 31 ธันวาคม 2559) สถานการณ์การสูบบุหรี่ในเขตสุขภาพที่ 12 จากการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทยในปี พ.ศ. 2560 พบว่า มีอัตราของผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ที่ ร้อยละ 23.90 ซึ่งเป็นอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศที่ร้อยละ 19.10 โดยพบว่าจังหวัดสตูล สงขลา พัทลุง และตรัง มีอัตราการสูบบุหรี่ที่ร้อยละ 26.90, 25.30, 24.30 และ 24.20 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับเขตสุขภาพ และจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีอัตราการสูบบุหรี่อยู่ที่ ร้อยละ 23.40, 23.00, และ 20.30 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับเขตสุขภาพ การศึกษาการสูบบุหรี่กับเชื้อโควิด 19 พบว่าการสูบบุหรี่ไม่สามารถป้องกันเชื้อโควิด 19 ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่สูบบุหรี่กลับมีความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดอาการรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เมื่อติดเชื้อโควิด 19 เนื่องด้วยสมรรถภาพปอดของผู้ที่สูบบุหรี่นั้นจะด้อยกว่าปอดของคนปกติที่ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากปอดของผู้ที่สูบบุหรี่มีสารพิษต่างๆ ที่ตกค้างจากการที่สูบบุหรี่อยู่ และผู้ที่สูบบุหรี่มาเป็นเวลานานอาจมีโรคหรือพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่ปอด เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด เป็นต้น จึงทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่เมื่อได้รับเชื้อโควิด 19 เข้าไป อาจจะมีอาการรุนแรงและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติที่ไม่สูบบุหรี่สูงถึง 14 เท่าอีกทั้ง ผลกระทบจากควันบุหรี่ ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ที่สูบบุหรี่เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบและ มีผลเสียต่อสุขภาพของบุคคลรอบข้าง ที่อาจจะได้รับสารพิษจากควันบุหรี่เข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจหรือที่เรียกว่า “ควันบุหรี่มือสอง”(กรมควบคุมโรค,2563)
เพื่อเป็นการป้องกันเยาวชนไม่ให้สูบบุหรี่ และเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ยาเสพติดชนิดอื่นๆตาดีกานูรูลฮูดา จารูนอกได้เล็งเห็นผลต่อสุขภาพที่จะตามมา ประกอบกับค่านิยมที่ไม่ถูกต้องว่า การสูบบุหรี่เป็นสิ่งโก้เก๋ ดูเท่ และคิดว่าอันตรายน้อยกว่ายาเสพติดตัวอื่นๆจึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเยาวชนและป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ที่จะเกิดขึ้น สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่คนรอบข้างได้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องโทษและอันตรายจากยาสูบ
  1. เป้าหมายของเยาวชนผู้เข้าอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
  2. ร้อยละ 80 ของเยาวชนผู้เข้าอบรมมีความรู้และตระหนักโทษของพิษภัยของบุหรี่
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกัน พิษภัยบุหรี่ แก่เยาวชนโรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดา จารูนอก จังหวัดยะลา จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน รวม 55 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกัน พิษภัยบุหรี่ แก่เยาวชนโรงเรียนตาดีกานูรูลฮูดา จารูนอก จังหวัดยะลา จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน รวม 55 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 เยาวชนผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องโทษ อันตรายจากยาสูบ
2. เยาวชนผู้เข้าอบรมไม่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่


>