กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน (Local Quarantine) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน ปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน (Local Quarantine) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

องค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน

ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงและเข้ากักตัวในระบบ LQ อบต.ไพรวัน

 

27.00

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก“Coronavirus disease 2019” ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) อันเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข จากข้อมูลกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 19 เมษายน 2564 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวน 141,124,378 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 120,531,685 ราย เสียชีวิต จำนวน 3,017,555 ราย และสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย พบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 1,390 ราย ผู้ป่วยสะสม จำนวน 43,742 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 28,787 ราย และเสียชีวิตสะสม จำนวน 104 ราย (สถานการณ์ในประเทศไทยวันที่ 19 เมษายน 2564)
สำหรับจังหวัดนราธิวาส มีรายงานการพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ ทั้งในเรือนจำนราธิวาสและในชุมชนเป็นจำนวนมาก ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน เป็นพื้นที่ติดต่อกับชายแดนรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีการลักลอบหนีกลับเข้าประเทศไทยของแรงงาน ซึ่งมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อในวงกว้าง จึงมีการเร่งปฏิบัติการเชิงรุกลงพื้นที่สร้างความตระหนักรู้แก่ชุมชนในพื้นที่ เฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่กระจายของโรค COVID-19 พร้อมแนะนำประชาชน "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง เช่น ประเทศมาเลเซีย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นต้น
การจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน Local Quarantine) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน ปีงบประมาณ 2564 โดยพิจารณาดำเนินการตามหนังสือสั่งการ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563
3. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว 1842 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563 เรื่อง แนวทางในการดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อและการรักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019)
4. หนังสือจังหวัดนราธิวาส ด่วนที่สุด ที่ นธ 0023.3/ว 3740 ลงวันที่ 3 เมษายน 2563 เรื่อง แนวทางการจัดหาอาหารในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019)
5. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
6. หนังสือจังหวัดนราธิวาส ด่วนที่สุด ที่นธ 0023.3/ว 1980 ลงวันที่ 20 เมษายน 2564 เรื่อง การจัดเตรียมสถานที่กักกัน (Local Quarantine) ให้พร้อมรับสถานการณ์
7. หนังสือจังหวัดนราธิวาส ด่วนที่สุด ที่ นธ 0023.10/ว 1642 ลงวันที่ 29 เมษายน 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรณีการตั้งโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่
8. คำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน ที่ 153/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานประจำศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) องค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน
9. คำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน ที่ 154/2564 เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ประจำศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) องค์การบริหารส่วนตำบลไพรวันในวันหยุดราชการ
10. หนังสือจังหวัดนราธิวาส ที่ นธ 0618/ว1948 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การปรับเปลี่ยนสถานที่กักกัน
และตามที่สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน ได้รับงบเงินอุดหนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน เพื่อใช้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ดังนี้ (1) วัสดุที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เช่น ถุงมือยางหรือหนัง ผ้าปิดจมูก รองเท้ายางหุ้มส้นสูงใต้เข่า (รองเท้าบู๊ต) หรือเสื้อกันฝน (2) เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม และประหยัดโดยพิจารณาดำเนินการตามคู่มือปฏิบัติงาน ประกาศ และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ดังนี้
1. คู่มือปฏืบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ. 2561) ข้อ 10 (5) วรรค 3
2. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) ข้อ 10/1
3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2561 หมวด 4 การเบิกเงิน ข้อ 52
ดังนั้น เพื่อลดอัตราการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลไพรวัน และควบคุม ดูแล ป้องกันโรค จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคและเตรียมสถานที่กักกันควบคุมเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วยสำหรับผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้มีความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยที่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน จึงได้จัดทำการจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน Local Quarantine) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน (Local Quarantine) อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวันมีสถานที่กักกัน

100.00
2 เพื่อหยุดการแพร่เชื้อในชุมชน สร้างความตระหนัก และเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019

ร้อยละของประชาชนสามารถหยุดการแพร่เชื้อในชุมชน สร้างความตระหนัก และเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019

100.00
3 เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แก่ผู้ถูกควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ จังหวัดที่มีการระบาด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส และสำหรับผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์

ร้อยละของผู้ถูกกักกันมีอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ในชีวิตประจำวัน

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 27
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน (Local Quarantine)

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน (Local Quarantine)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. พัดลมตั้งพื้น จำนวน 20 ตัว ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
  2. ที่นอน จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 650 บาท เป็นเงิน 19,500 บาท
  3. หมอน จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 159 บาท เป็นเงิน 3,180 บาท
  4. มุ้ง จำนวน 30 หลัง ๆ ละ 299 บาท เป็นเงิน 8,970 บาท
  5. ผ้าห่ม จำนวน 30 ผืน ๆ ละ 139 บาท เป็นเงิน 4,170 บาท
  6. กะละมัง จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  7. ถังขยะ จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  8. ถังน้ำสีดำ จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  9. รองเท้าฟองน้ำ จำนวน 30 คู่ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  10. ที่หนีบผ้า จำนวน 20 แผง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  11. ตะกร้า จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 99 บาท เป็นเงิน 1,980 บาท
  12. จาน จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  13. ชาม จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  14. ช้อน จำนวน 20 คัน ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  15. เจลแอลกอฮอล์ ชนิดขวด จำนวน 20 ขวด ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  16. เจลแอลกอฮอล์ ชนิดเติม จำนวน 20 แกลลอน ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  17. แปรงสีฟัน จำนวน 20 อัน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  18. ยาสีฟัน จำนวน 40 หลอด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  19. สบู่ จำนวน 40 กล่อง ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  20. ผงซักฟอก จำนวน 40 ถุง ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  21. ผ้าขนหนู จำนวน 40 ผืน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  22. แป้ง จำนวน 40 กระป๋อง ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  23. ถุงขยะ จำนวน 30 ห่อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  24. ไฮเตอร์ ชนิดขวด จำนวน 20 ขวด ๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  25. ไฮเตอร์ ชนิดเติม จำนวน 6 ถุง ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 720 บาท
  26. กระดาษทิชชู จำนวน 40 แพ็ค ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  27. น้ำยาล้างจาน จำนวน 40 ขวด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  28. แก้วน้ำพลาสติก จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  29. ปลั๊กไฟ จำนวน 10 อัน ๆ ละ 179 บาท เป็นเงิน 1,790 บาท
  30. ชุดผ้าปูที่นอน จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 299 บาท เป็นเงิน 8,970 บาท
  31. หน้ากากอนามัย จำนวน 90 กล่อง ๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 11,250 บาท
  32. แชมพู จำนวน 40 ขวด ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
  33. น้ำยาถูพื้น จำนวน 2 แกลลอน ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  34. ถุงมือยางสีส้ม จำนวน 1 โหล ๆ ละ 212 บาท เป็นเงิน 212 บาท
  35. รองเท้าบู๊ท จำนวน 5 คู่ ๆ ละ 180 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  36. ไม้กวาดดอกหญ้า จำนวน 12 อัน ๆ ละ 49 บาท เป็นเงิน 588 บาท
  37. ถุงมือแพทย์ จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  38. ที่โกยขยะ จำนวน 5 อัน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  39. เสื้อฝนชนิดกางเกง จำนวน 10 ชุด ๆ ละ 299 บาท เป็นเงิน 2,990 บาท
  40. เสื้อฝนชนิดบาง จำนวน 22 ตัว ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 550 บาท
  41. สก็อตไบร์ท จำนวน 20 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  42. ไม้ถูพื้น จำนวน 10 อัน ๆ ละ 179 บาท เป็นเงิน 1,790 บาท
  43. พรมเช็ดเท้า จำนวน 5 ผืน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  44. หวี จำนวน 20 อัน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  45. ถุงขยะสีแดง ขนาด 15 x 30 นิ้ว จำนวน 10 แพ็ค ๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 550 บาท
  46. ถุงดำขนาดใหญ่ จำนวน 10 แพ็ค ๆ ละ 79 บาท เป็นเงิน 790 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน (Local Quarantine) อำเภอตากใบ
  2. หยุดการแพร่เชื้อในชุมชน สร้างความตระหนัก และเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส
  3. มีอุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์
  4. มีอุปกรณ์ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แก่ผู้ถูกควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางกลับจาก ต่างประเทศ จังหวัดที่มีการระบาด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีศูนย์สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงองค์การบริหารส่วนตำบลไพรวัน (Local Quarantine) อำเภอตากใบ
2. หยุดการแพร่เชื้อในชุมชน สร้างความตระหนัก และเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส
3. มีอุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานประจำศูนย์
4. มีอุปกรณ์ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน แก่ผู้ถูกควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางกลับจาก ต่างประเทศ จังหวัดที่มีการระบาด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส


>