กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคในชุมชนปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขเป็นสาเหตุของการป่วยและการตายในหลายๆ ประเทศทั่วโลก สาเหตุที่ทำให้วัณโรคกลับมามีปัญหาใหม่ทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดของเอดส์ ความยากจน และการอพยพย้ายถิ่น และแรงงานเคลื่อนย้าย ส่งผลให้การแพร่ระบาดของวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๓๖ องค์การอนามัยโลกก็ได้ประกาศให้วัณโรคอยู่ในภาวะฉุกเฉินสากล และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สถานการณ์วัณโรคของโลกในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกรายงานว่า ๑ ใน ๓ ของ ประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรคแล้ว ความชุก(prevalence) ของผู้ป่วยวัณโรคมีประมาณ ๑๔.๔ ล้านคน (๒๑๙ ต่อแสนประชากร) ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มที่กำ ลังแพร่เชื้อ (highly infectious) และแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ (incidence) ประมาณ ๙.๑๕ ล้านคน (๑๓๙ ต่อแสนประชากร) โดยร้อยละ ๙๕ อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละประมาณ ๑.๖๕ ล้านคน (๒๕ ต่อแสนประชากร) (ร้อยละ ๙๘ อยู่ในประเทศที่ยากจน) จากรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ ในกลุ่ม ๒๒ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรค มีจำนวนผู้ป่วยรวมกันประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยทั่วโลก และได้มีการจัดอันดับประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยมากตามลำดับ พบว่า ๓ ประเทศแรกที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุดในโลกอยู่ในทวีปเอเชีย ซึ่งได้แก่ ประเทศอินเดีย จีน และอินโดนีเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นจัดอยู่ในอันดับที่ ๑๘ ซึ่งจากการคำนวณทางระบาดวิทยา ในรายงานขององค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า ประเทศไทยน่าจะมีความชุก (prevalence) ของวัณโรค ซึ่งหมายถึง มีผู้ป่วยวัณโรคทั้งสิ้น ประมาณ ๑๒๕,๐๐๐ ราย (๑๙๗ ต่อแสนประชากร) โดยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ทุกประเภท ปีละ ๙๐,๐๐๐ ราย (๑๔๒ ต่อแสนประชากร) และประมาณ ๔๐,๐๐๐ ราย เป็นผู้ป่วยที่เสมหะบวก (๖๒ ต่อแสนประชากร) เสียชีวิตปีละ ๑๓,๐๐๐ ราย (๒๐ ต่อแสนประชากร)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ตำบลละงู จังหวัดสตูล พบผู้ป่วยที่ได้ขึ้นทะเบียนรักษา
ปี๒๕๖๓ จำนวน ๖ ราย รักษาหาย ๒ รายและพบรายใหม่ ๑ ราย ซึ่งรายใหม่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุจากสถานการณ์ดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลได้ออกมาตรการให้มีการคัดกรองวัณโรค อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในประชาชน ๔ ประเภท ได้แก่ ผู้ร่วมสัมผัสผู้ป่วยร่วมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว และผู้ต้องขังในเรือนจำ ตามมาตรฐานการดำเนินงานวัณโรค

จากสถานการณ์และความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิดการค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และพัฒนาระบบบริการ การดำเนินอย่างมีส่วนร่วมของเครือข่ายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ตำบลละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านการเฝ้าระวังและคัดกรองวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ขึ้นและมุ่งหวังให้เกิดกลไกในระดับชุมชน ในการเฝ้าระวังโรค สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่และส่งต่อเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที ลดอัตราอุบัติการณ์ของโรค สู่ชุมชนสุขภาวะต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อให้มีแนวทาง/กิจกรรมในการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่

-มีแนวทาง/กิจกรรมในการควบคุมป้องกันโรค -เครือข่ายทุกภาคส่วนมีความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรค

0.00
2 ข้อที่ ๒.เพื่อให้เครือข่ายในชุมชนฝึกและคัดกรองค้นหาวัณโรคตามแนวทางการคัดกรอง

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดกรอง การเฝ้าระวัง และมีทักษะการคัดกรองวัณโรคร้อยละ๘๐ และคัดกรองค้นหาวัณโรคในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๙๕

0.00
3 ข้อที่ ๓.เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

ประชาชนผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังวัณโรค สามารถค้นพบผู้ป่วยสงสัยในชุมชนได้ และสามารถส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาได้ทันโดยค้นพบผู้ป่วยรายใหม่มากกว่าร้อยละ ๑ ของกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 350
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมชี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาวัณโรคในระดับพื้นที่แก่คณะกรรมการหมู่บ้านในการป้องกันโรค หมู่บ้านละ ๒๐คนจำนวน ๖หมู่บ้าน (อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา)

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมชี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาวัณโรคในระดับพื้นที่แก่คณะกรรมการหมู่บ้านในการป้องกันโรค หมู่บ้านละ ๒๐คนจำนวน ๖หมู่บ้าน (อสม. ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-คืนข้อมูลสถานการณ์โรควัณโรค           -วิเคราะห์ข้อมูล  หาแนวทาง/กิจกรรมในการแก้ไขปัญหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 ๒.อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทักษะการคัดกรองวัณโรคในชุมชนแก่(อสม.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา)

ชื่อกิจกรรม
๒.อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทักษะการคัดกรองวัณโรคในชุมชนแก่(อสม.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการรักษาป้องกัน -แนวทางการดำเนินงานคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง -แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติคัดกรองจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดกรอง การเฝ้าระวัง และมีทักษะการคัดกรองวัณโรคร้อยละ๘๐ และคัดกรองค้นหาวัณโรคในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๙๕

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 3 ๓. คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง(กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ) และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๖ หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
๓. คัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง(กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ) และให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๖ หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้/คำแนะนำ/คัดกรองวัณโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดกรอง การเฝ้าระวัง และมีทักษะการคัดกรองวัณโรคร้อยละ๘๐ และคัดกรองค้นหาวัณโรคในกลุ่มเป้าหมายร้อยละ ๙๕

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 ๔. ส่งต่อ/ติดตามผลการรักษา

ชื่อกิจกรรม
๔. ส่งต่อ/ติดตามผลการรักษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งต่อ/ติดตามผลการรักษา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดกรอง การเฝ้าระวัง และมีทักษะการคัดกรองวัณโรค
2. ประชาชนผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังวัณโรค สามารถค้นพบผู้ป่วยสงสัยในชุมชนได้ และสามารถส่งต่อเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาได้ทัน


>