กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเหาหายสบายหัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

โรงเรียนวัดหินเกลี้ยง

1.นางสาวสุภา เทพมณี
2.นางสาวกิตติมาบัวนาค
3.นางสาวณัฐรดา มหารงค์
4.นางเนตรชนกผดุงศักดิ์
5.นางสาวฉัตรประภาทวีทรัพย์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เหา หรือที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pediculus humanus เป็นแมลงในกลุ่มปรสิต อาศัยอยู่บนร่างกายคนและดำรงชีวิตด้วยการกินขี้ไคลบนหนังศีรษะของคนเรา เหามีมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งบางส่วนเป็นปรสิตที่อยู่ในสัตว์ แต่ที่เป็นชนิดที่อยู่ในคนนั้นมีเพียงแค่ 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนศีรษะเหาที่เกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเหาที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือ โลน โดยเหาแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิเช่น บนศีรษะ บนร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศ เหาสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการอยู่ใกล้ชิดและคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเหา จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเหานั้นก็มักจะถูกสังคมรังเกียจ ซึ่งอาการที่มักจะพบได้จากคนที่เป็นเหาก็คืออาการคันและเป็นแผลติดเชื้อบนหนังศีรษะ อันเนื่องมาจากการระคายเคือง นอกจากนี้เหายังชอบวางไข่เอาไว้ตามเส้นผมของเราจนทำให้เห็นเป็นจุดขาว ๆ ตามเส้นผม แถมยังเกาะแน่นอีกด้วย โดยจะไม่หลุดไปถึงแม้ว่าจะหายเป็นเหาแล้วก็ตาม
โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากใน กลุ่ม นักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90 % ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดย ใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซึ่งยามีทั้งในรูปครีมเจล หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน
ดังนั้น โรงเรียนวัดหินเกลี้ยงได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหาในวัยเรียนโดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะที่ช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่กระจายต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1เพื่อกำจัดเหาให้แก่นักเรียนหญิงโรงเรียนวัดหินเกลี้ยง จำนวน ๗๖ คน

ข้อที่ 2เพื่อให้นักเรียนสามารถดูแลรักษาและปฏิบัติตนเมื่อเป็นเหาได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 76
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 15/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กำจัดเหาในเด็กนักเรียนหญิง

ชื่อกิจกรรม
กำจัดเหาในเด็กนักเรียนหญิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นตอนการเตรียมงาน/การวางแผนการจัดกิจกรรม -จัดประชุมคณะกรรมการจัดโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  เพื่อเป็นแนวทางในการจัดโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ 2.ขั้นตอนการดำเนินโครงการ -ทำหนังสือแจ้งการเป็นเหาของนักเรียนให้ผู้ปกครองรับทราบ   และทำหนังสือขออนุญาตผู้ปกครองเพื่อกำจัดเหาให้กับนักเรียน -ครูผู้รับผิดชอบให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับโรคเหา  การดูแลรักษาและปฏิบัติตนเมื่อเป็นเหา
-คัดเลือกนักเรียนเป็นนักเรียนแกนนำกำจัดเหา  จำนวน  10  คน เพื่อเป็นผู้ช่วยครูและเพื่อดูแลเพื่อนๆและกำจัดเหาให้กับนักเรียนคนอื่นๆ -จัดกิจกรรมกำจัดเหาด้วยแชมพูสระเหาให้แก่นักเรียนหญิงโรงเรียนวัดหินเกลี้ยง จำนวน ๗๖ คน -ติดตามการกำจัดเหาเป็นระยะจากนักเรียน  และผู้ปกครอง 3.ผู้รับผิดชอบประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ 4.ขั้นตอนการประเมินโครงการ -สังเกตจากความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ -ประเมินจากการตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (นักเรียนผู้หญิง ๗๖  คน x ๒5 บาท)
= ๑,๙๐๐ บาท
-ค่าไวนิล 1  แผ่น ขนาด 2.40×1.20 เมตร = 500 บาท -ค่าแชมพูสระเหา (๒๒๘  ซอง x 20 บาท)
= ๔,๕๖๐  บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6960.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนโรงเรียนวัดหินเกลี้ยงได้ปลอดภัยจากโรคเหาทุกคน
2. นักเรียนที่เป็นเหาได้รับการดูแลรักษาอย่างปลอดภัยและถูกวิธี


>